วันอังคารที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2562

การเขียนแผนจัดการเรียนรู้ (Basic Lesson Plans)



การเขียนแผนจัดการเรียนรู้ (Basic Lesson Plans)
       
            โครงสร้าง แผนการจัดการเรียนการสอน
รายวิชา การจัดการเรียนรู้และการจัดการในชั้นเรียน  สาขาวิชาหลักสูตรและนวัตกรรมการจักการ  เรียนรู้
คณะครุศาสตร์                                                                     มหาวิทยาลัยนครพนม
เรื่อง ………………………………….      เวลา  4  ชั่วโมง

สาระสำคัญ
          การจัดการเรียนการสอนตามรูป The STDUIES Model

วัตถุประสงค์
          เพื่อให้นักศึกษามีความรู้และทักษะในประเด็นต่อไปนี้
1)        กำหนดจุดหมายการเรียนรู้
2)        วิเคราะห์ภาระงาน
3)        การออกแบบการเรียนรู้ที่เป็นสากล
4)        การเรียนรู้จากสื่อดิจิทัล
5)        การบูรณาการความรู้
6)        การประเมินการเรียนรู้ของตนเอง
7)        การประเมินคุณภาพการเรียนรู้อิงมาตรฐาน

เนื้อหา
          สาระความรู้ ในแต่ละบทเรียน (บทที่ 1-8)

กิจกรรมการเรียนการสอน
          ขั้นการนำเข้าสู่บทเรียน (15-30 นาที)
1.       ผู้สอนใช้คำถาม เพื่อร่วมกันทำความเข้าใจในการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบ The STUDIES Model เริ่มจากทบทวนประสบการณ์เดิมเกี่ยวกับเรื่องที่จะเรียน การเรียนการสอนแบบปกติ และการเรียนการสอนแบบสร้างความรู้
กิจกรรมดังกล่าวนี้สามารถใช้กระบวนการกลุ่มร่วมกันเรียนรู้ ให้สมาชิกในกลุ่ม กำหนดบทบาทหน้าที่เป็นประธาน เลขานุการ  และสมาชิก

ขั้นสอน (45-60 นาที)
2. นักศึกษากับคู่และร่วมกันวางแผนจัดการเรียนรู้ โดยนำสาระ   มาตรฐานและตัวชี้เพื่อ
        2. 1 กำหนดจุดหมายการเรียนรู้ (S : Setting learning goals) และ
        2. 2 วิเคราะห์ภาระงาน (T: Task analysis )
นักศึกษาจะต้องระบุจุดมุ่งหมายและกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อตอบคำถามเกี่ยวกับความที่ได้เรียนรู้ในส่วนที่เป็นสาระความรู้ Declarative knowledge หรือ What student will understand และส่วนที่เป็นทักษะ Procedural knowledge หรือ What student will be able to do
3. นักศึกษาจับคู่ร่วมกันจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ในประเด็นเกี่ยวกับ
       3. 1 กกแบบการเรียนรู้ที่เป็นสากล (U: Universal design for instruction) กำหนดผลิตภัณฑ์ (เอกสารหนังสือหรือสื่อการเรียนรู้อื่น ๆ ที่เป็นสาระการเรียนรู้และเสนอแนะ / การจัดสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้
        3. 2 จัดเตรียมบทเรียนที่ใช้ในการเรียนรู้จากสื่อดิจิทัล (D Digital learning) ที่เรียนรู้ได้จาก Mobile learning
         3. 3 จัดกิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อการบูรณาการความรู้
 (I : Integrated knowledge)
4. นักศึกษาร่วมกันตรวจสอบความเข้าใจในมโนทัศน์การจัดการเรียนรู้ในประเด็น
         4. 1 การประเมินการเรียนรู้ของตนเอง (L: Evaluations to improve teaching) และ
         4. 2 การประเมินคุณภาพการเรียนรู้อิงมาตรฐาน (S: Standard batted Assessment)

ขั้นสรุป 15-30 นาที)
5. นักศึกษาร่วมกันแสดงความคิดเห็นและร่วมกันตอบคำถาม (ผู้สอนกำหนดประเด็นคำถาม) นักศึกษาแต่ละกลุ่มนำเสนอคำตอบอาจารย์และนักศึกษาแลกเปลี่ยนการเรียนรู้การร่วมกันสรุปประเด็นที่ได้จากการศึกษา

สื่อการเรียนการสอน
1. เอกสารประกอบการนำเสนอ (PowerPoint Presentation)
2. เอกสารประกอบการสอนวิชาการจัดการเรียนรู้และการจัดการชั้นเรียน: The STUDIES Model

การวัดและประเมินผลการเรียนรู้
1. สังเกตพฤติกรรมการมีส่วนร่วมของนักศึกษา
2. ตรวจคำตอบตามประเด็นคำถาม


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ชั้นบรรยากาศ

  บรรยากาศ  (atmosphere)  หมายถึง  อากาศในที่ต่าง ๆ ทั้งหมดซึ่งเป็นส่วนที่ห่อหุ้มโลกอยู่โดยรอบ  จะอยู่สูงจากผิวโลกขึ้นไปประมาณ 800-1,000 กิโ...