การออกแบบการเรียนรู้ที่เป็นสากล (UDL : Universal
Design for Learning)
แนวคิด Universal Design เป็นแนวคิดเกี่ยวกับการออกแบบสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้เพื่อให้ผู้เรียนทุกร์
คนสามารถใช้ประโยชน์จากสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ได้อย่างเต็มที่
การออกแบบมุ่งที่การใช้งานให้คุ้มค่าง ครอบคลุมสําหรับผู้เรียนทุกคน
โดยคํานึงถึงโอกาสในการใช้งานอย่างเท่าเทียมกัน ดังนั้นการนําแนวคิดการ
ออกแบบการเรียนรู้สากล (Universal Design for Learning) มาใช้ในจึงสามารถช่วยลดอุปสรรคต่อการเรียนรู้ ของผู้เรียนได้
และสร้างความยืดหยุ่นในการจัดการศึกษา
เพื่อสนองต่อผู้เรียนที่มีความแตกต่างกันสามารถ เรียนรู้ได้อย่างเท่าเทียมกัน
แนวคิดการออกแบบการเรียนรู้ที่เป็นสากล(Universal design for learning : UDL) เกี่ยวข้องกับการ
จัดสภาพแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้ ในยุคการศึกษา 4.0 จึงมีการประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการ
สนองตอบต่อความต้องการของผู้เรียนที่มีความต้องการหลากหลายและแตกต่างกัน
ประกอบไปด้วยหลักการ ที่สําคัญ 3 ประการ (Strangeman,
Hitchcock, Hall, Meo, & et al :2006) ได้แก่
1. การสนับสนุนการเรียนรู้เพื่อจดจํา
โดยการจัดหาวิธีการนําเสนอที่ยืดหยุ่นและหลากหลาย
2. เพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ยุทธศาสตร์
โดยจัดหาวิธีการอธิบายหรือการแสดง ออกด้วยคําพูดที่ ยืดหยุ่นและหลากหลายและการเรียนรู้จากผู้ที่มีประสบการณ์มากกว่า
3. เพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิผล
โดยการจัดหาทางเลือกที่มีความยืดหยุ่นให้นักเรียน
มีส่วนร่วมในการเรียนรู้ตามหลักสูตร
เพิ่มเติม
เพิ่มเติม
Universal
design for learning คืออะไร
หลักการ UDL มีรากฐานมาจากศาสตร์ทางด้านสถาปัตยกรรมและประสาทวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับการรับรู้
(cognitive neuroscience) ในวงการการศึกษาพิเศษได้มีนาแนวคิด UDL มาใช้โดยเป็นการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อการตอบสนองต่อความต้องการของผู้เรียนที่มีความต้องหลากหลาย
โดยมีหลักการว่า UDL นั้นต้องอยู่บนพื้นฐานของความเข้าใจว่า
ผู้เรียนแต่ละคนมีลักษณะเฉพาะตัวที่แตกต่างกัน และมีความต้องการที่แตกต่างกันด้วย
ซึ่งการนา UDL ไปใช้ในการศึกษาพิเศษก็เพื่อสร้างสรรค์สภาพแวดล้อมทางการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับความต้องการของผู้เรียนในแต่ละคน
และส่งเสริมให้ผู้เรียนได้พัฒนาความสามารถของตนเองได้เต็มที่ตามศักยภาพ (Eagleton, 2008) UDL เป็นสื่อการสอนและวิธีการสอนที่พร้อมใช้สาหรับครูผู้สอนที่สามารถนาไปใช้กับนักเรียนได้เลย
การประยุกต์ใช้ UDL ในการจัดการเรียนรู้
การประยุกต์ใช้ UDL ในการเรียนรู้แบ่งเป็น 3 ระดับ ได้แก่
ระดับที่ 1 การนาเสนอ
การจัดการเรียนรู้ตามหลักการของ UDL ควรใช้รูปแบบการนาเสนอที่หลากหลายวิธี ได้แก่
· การใช้รูปแบบของข้อมูลหลากหลายรูปแบบ
เช่น ข้อมูลภาพ ข้อมูลเสียง หรือข้อมูลที่สัมผัสได้
· การใช้ภาษาและสัญลักษณ์ที่หลากหลาย
· การสร้างโอกาสให้ผู้เรียนได้ทบทวนความรู้
ความเข้าใจจากการเรียน
ระดับที่ 2 การสื่อสาร
การให้โอกาสในการแสดงออกได้หลากหลายวิธีการ
ได้แก่
· การใช้ร่างกาย
· การพูด
· การใช้การทางานของสมองระดับสูง
(Executive Function)
ระดับที่ 3 การมีส่วนร่วม
เป็นการเสริมสร้างแรงจูงใจ ได้แก่
· การพยายามชักจูงความสนใจ
โดยให้อิสระในการเลือก
· สนับสนุนให้ใช้ความพยายามในการทางาน
· เสริมสร้างทักษะการกากับตนเอง
(Self-regulation)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น