แบบการเรียนรู้ (Learning Styles)
คําว่า Learning Styles ในคําภาษาไทยใช้คําว่า ลีลาการเรียนรู้ หรือแบบการเรียนรู้
หรือวิธีการเรียก " ที่เป็นการปฏิบัติของผู้เรียนในการจัดการเกี่ยวกับการเรียน
เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ของ หลักสูตร ซึ่งแตกต่างกันไปตามสติปัญญา
ลักษณะเฉพาะของผู้เรียน และสภาพแวดล้อมทางการเรียน
แบบการเรียนรู้ (Learning Style) เป็นความคงที่ในการตอบสนองและการใช้สิ่งเร้าในบริบทของ
การเรียนรู้
อาจกล่าวได้ว่าผู้เรียนแต่ละคนเรียนรู้ได้ดีที่สุดด้วยกลวิธีหรือวิธีการที่สนองตอบกับความต้องการ
ของผู้เรียน โดยผู้เรียนแต่ละคนมีแบบการเรียนรู้ของตนเอง ไรซ์แมนและกราส์ซา
และเดวิด เอ คอล์บ ได้นําเสนอแบบการเรียนรู้ สรุปได้ดังนี้
Anthony F. Grasha and Sheryl
Reichman (1980 cited in Nova Southeastern University, 2004:31) จัดผู้เรียนตามแบบการเรียนรู้ได้ 6 แบบ
คือ
1. แบบอิสระ (Independent
Style) ผู้เรียนมีแบบการเรียนรู้เฉพาะตนเอง แสวงหาความรู้และ
ประสบการณ์ด้วยตนเอง จะเรียนรู้เนื้อหาวิชาเฉพาะที่ตนเห็นว่ามีความสําคัญ
เชื่อมั่นในความสามารถการ เรียนรู้ของตนเอง แต่ก็รับฟังความเห็นของผู้อื่น
2. แบบหลีกเลี่ยง
(Avoidance Style) ผู้เรียนมีแบบการเรียนรู้ที่ไม่มีส่วนร่วมในกิจกรรมการ
เรียนการสอน ผู้เรียนไม่สนใจเนื้อหาวิชาที่จัดให้
ไม่สนใจสิ่งที่เกิดขึ้นในชั้นเรียน
3. แบบร่วมมือ (Collaboration
Style) ผู้เรียนมีแบบการเรียนรู้ชอบที่จะทํางานร่วมกันกับผู้อื่น
เรียนรู้ได้ดีด้วยการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน
ถือห้องเรียนเป็นแหล่งปฏิสัมพันธ์ทางสังคมและการเรียนรู้ | เนื้อหาวิชาตลอดจนกิจกรรมนอกหลักสูตร
4. แบบพึ่งพา (Dependent
Style) ) ผู้เรียนมีแบบการเรียนรู้ที่ต้องการคําบอกเล่าว่าต้องทําอะไร
อย่างไรและเมื่อไร ผู้เรียนกลุ่มนี้ต้องการรับคําสั่ง หรืองานที่มอบหมาย
อาจารย์และเพื่อนจะเป็นแหล่งความรู้
มีความต้องการเรียนรู้เฉพาะจากสิ่งที่กําหนดให้เรียนเท่านั้น
5. แบบแข่งขัน (Competitive
Style) ผู้เรียนมีแบบการเรียนรู้ที่จะพยายามทําให้ดีกว่าคนอื่น
ผู้เรียน ค้นหาความรู้โดยใช้หลักในการเรียนรู้ที่ผู้เรียนพยายามที่จะทําสิ่งต่างๆ
ให้ได้ดีกว่าคนอื่น ใช้หลักในการเรียนรู้
เรียนเพื่อให้มีผลการเรียนดีกว่าเพื่อนในชั้นเรียน ต้องการรางวัลในชั้นเรียน เช่น
คําชม หรือสิ่งของหรือ ชื่อ คะแนน มีลักษณะการแข่งขันแบบแพ้ชนะ
6. แบบมีส่วนร่วม
(Participant Style) ผู้เรียนมีแบบการเรียนรู้ที่ต้องการมีส่วนร่วมมากที่สุด
ในกิจกรรมในชั้นเรียน
ผู้เรียนต้องการเรียนรู้เนื้อหาวิชาในห้องเรียนและชอบที่จะเข้าชั้นเรียน แต่ไม่ต้องการที่
จะร่วมกิจกรรมที่ไม่อยู่ในรายวิชาที่เรียน
David A. Kolb (1995 อ้างในคณะอนุกรรมการปฏิรูปการเรียนรู้ กระทรวงศึกษาธิการ, 2543 :
19-20) จัดกลุ่มผู้เรียนตามแบบการเรียนเป็น 4 กลุ่ม ดังนี้
1. แบบนักปฏิบัติ
(active experimentation) ผู้เรียนกลุ่มนี้จะเรียนรู้ได้ดี
เมื่อได้ลงมือปฏิบัติ การเรียนรู้เกิดจากการกระทําควบคู่ไปกับการคิด
2. แบบนักสังเกต
(reflective observation) ผู้เรียนกลุ่มนี้จะเรียนรู้จากการสังเกตปรากฏการณ์
ต่าง ๆ แล้วนํามาจัดระบบระเบียบเป็นความรู้
3. แบบนักคิดสร้างมโนทัศน์
(abstract conceptualization) ผู้เรียนกลุ่มนี้จะเรียนรู้โดยวิเคราะห์
และสังเคราะห์ การรับรู้ที่ได้เป็นองค์ความรู้
4. แบบนักประมวลประสบการณ์
(concrete experience) ผู้เรียนกลุ่มนี้จะเรียนรู้โดยการ
วิเคราะห์ และประเมินด้วยหลักเหตุผล
McCarthy (อ้างในศักดิ์ชัย
นิรัญทวีและไพเราะ พุ่มมั่น, 2542 : 7-11) ได้ขยายแนวคิดของคอล์บ
โดยเสนอแบบการเรียนรู้ 4 แบบ ดังนี้
แบบที่ 1 เป็นผู้เรียนที่ถนัดจินตนาการ
(imaginative learners) ผู้เรียนจะรับรู้ผ่านประสาทสัมผัส
และประมวลกระบวนการเรียนรู้จากการสังเกต นําไปสะท้อนความคิดเชิงเหตุผล
ผู้เรียนกลุ่มนี้มักถามถึง เหตุผลว่า ทําไม (why) ผู้เรียนมักถามว่า
ทําไมต้องเรียนสิ่งนั้นสิ่งนี้ จะต้องหาเหตุผลที่จะต้องเรียนรู้ก่อน สิ่งอื่น ๆ
แล้วจะเกี่ยวข้องกับตัวเขาหรือสิ่งที่เขาสนใจอย่างไร โดยเฉพาะเรื่อง ความเชื่อ
ค่านิยม ความรู้สึก ชอบขบคิดปัญหาต่าง ๆ ค้นหาเหตุผลและสร้างความหมายเฉพาะของตนเอง
ผู้เรียนกลุ่มนี้จะเรียนรู้ได้ดีเมื่อ อภิปราย โต้วาที ใช้กิจกรรมกลุ่ม
การเรียนรู้แบบร่วมมือกัน ครูต้องให้เหตุผลก่อนเรียน หรือระหว่างเรียน
แบบที่ 2 เป็นผู้เรียนที่ถนัดการวิเคราะห์
(analytic learners) ผู้เรียนจะรับรู้ผ่านการประมวล
ข้อมูล โดยนําสิ่งที่รับรู้มาประมวลกับประสบการณ์เป็นการเรียนรู้ใหม่ ๆ
ผู้เรียนกลุ่มนี้จะถามเกี่ยวกับ ข้อเท็จจริง คําถามที่สําคัญคือ อะไร (what) ผู้เรียนกลุ่มนี้ต้องการข้อมูลที่เป็นข้อเท็จจริงที่ถูกต้อง เหมาะสม
เพื่อนําไปพัฒนาเป็นความคิดรวบยอด (concept) หรือจัดระบบระเบียบของความคิด
ผู้เรียนกลุ่มนี้มุ่งเน้น รายละเอียดข้อเท็จจริงที่ถูกต้อง
จะยอมรับผู้รู้จริงหรือผู้เชี่ยวชาญ หรือผู้ที่มีอํานาจสั่งการเท่านั้น ผู้เรียน
กลุ่มนี้จะเรียนก็ต่อเมื่อรู้ว่า จะต้องเรียนอะไร อะไรที่เรียนได้
สามารถเรียนได้ดีจากการบรรยาย การ ทดลอง การทํารายงาน การวิเคราะห์ข้อมูลการวิจัย
แบบที่ 3 เป็นผู้เรียนที่ถนัดใช้สามัญสํานึก
(common sense learners) ผู้เรียนจะรับรู้โดยผ่าน
กระบวนการคิดจากสิ่งที่เป็นนามธรรม
กระบวนการเรียนรู้ได้จากการทดลองหรือปฏิบัติจริง มีการมองหา
กลยุทธ์ในการปรับเปลี่ยนความรู้เพื่อนําไปใช้ คําถามที่สําคัญคือ อย่างไร (how) ผู้เรียนกลุ่มนี้สนใจทดสอบ ทฤษฎีหรือปฏิบัติจริง
โดยวางแผนนําความรู้ในภาคทฤษฎีที่เป็นนามธรรมไปสู่การปฏิบัติที่เป็นรูปธรรมใน
ชีวิตจริง ผู้เรียนกลุ่มนี้ต้องการเป็นผู้ปฏิบัติ ใฝ่หาสิ่งที่มองเห็นว่าเป็นประโยชน์และตรวจสอบว่าข้อมูลที่
ได้มานั้นสามารถใช้ได้ในชีวิตจริงหรือไม่
สนใจที่จะนําความรู้ไปสู่การปฏิบัติจริง อยากรู้ว่าจะทําได้ อย่างไร
รูปแบบการเรียนการสอนที่ควรเป็นก็คือ การทดลอง การให้ปฏิบัติจริง
ทําจริงหรือสถานการณ์ จําลองก็ได้
แบบที่ 4 เป็นผู้เรียนที่ถนัดการปรับเปลี่ยน
(dynamic learners) ผู้เรียนจะรับรู้ผ่านสิ่งที่เป็น
รูปธรรมและผ่านการกระทํา คําถามที่สําคัญคือ ถ้าอย่างนั้น ถ้าอย่างนี้ (1) ผู้เรียนจะเรียนรู้โดยลงมือทํา ในสิ่งที่ตนเองสนใจ
และค้นพบความรู้ด้วยตนเอง ชอบรับฟังความคิดเห็นหรือคําแนะนํา แล้วนําข้อมูลมา
ประมวลเป็นความรู้ใหม่ ผู้เรียนกลุ่มนี้จะมองเห็นความซับซ้อนของสิ่งที่เรียนรู้
สามารถสร้างผังความคิด แสดงความสัมพันธ์ของสิ่งต่าง ๆ
แล้วนําเสนอเป็นรูปแบบที่แปลกใหม่ การสอนผู้เรียนกลุ่มนี้ใช้วิธีการสอน
แบบค้นพบด้วยตนเอง (self discovery method)
แบบการเรียนรู้ (learning styles) เป็นเพียงการจัดกลุ่มที่มีลักษณะโดยรวมเท่านั้น ไม่อาจจําแนก
ได้เฉพาะเจาะจงว่าผู้เรียนคนใดคนหนึ่งจะจัดอยู่ในกลุ่มของแบบการเรียนแบบใดแบบหนึ่ง
ดังที่การ์ดเนอร์ (howard gardner) ที่ได้เสนอทฤษฎีพหุปัญญา
(multiple intelligence theory) 8 ด้าน คือ ด้านภาษา
ด้านตรรกะและ คณิตศาสตร์ ค้านคนตรี ด้านมิติสัมพันธ์ ด้านร่างกายและการเคลื่อนไหว
ด้านการรู้จักตนเอง ด้านความสัมพันธ์ ระหว่างบุคคล
และด้านความเข้าใจธรรมชาติสิ่งแวดล้อม
ผู้สอนสามารถใช้แบบการเรียนรู้ที่มาจากสติปัญญา หนึ่งค้านหรือสองด้านเพื่อให้เกิดการเรียนการสอนมีประสิทธิผลสูงสุด
โดยปกติผู้สอน ทดสอบ และการ ได้รับข้อมูลป้อนกลับประกอบด้วยสติปัญญาสองด้าน คือ
ภาษา (verballinguistic) และเหตุผล (logica/mathematical) การนําแนวคิดพหุปัญญามาใช้ควรจะเป็นการใช้คุณลักษณะเด่นของสติปัญญา
เพื่อให้ผู้เรียนเรียนรู้ได้เป็นอย่างดี
ประการสําคัญผู้สอนต้องคํานึงอยู่เสมอว่าในชั้นเรียนหนึ่ง ๆ มี
ผู้เรียนทุกแบบการเรียนรู้ ดังนั้นผู้สอนจําเป็นต้องใช้แบบการสอน (teaching
style) ที่หลากหลายเพื่อ
ตอบสนองแบบการเรียนรู้ของผู้เรียนให้ครอบคลุม
ผู้เรียนมีโอกาสได้พัฒนาความสามารถของตนเองเต็มตาม ศักยภาพ
พหุปัญญา(Multiple Intelligences)
Howard Gardner (2011) Gardner,
Howard. Frames of Mind: The Theory of Multiple Intelligences. New York: Basic
Books,2011.
ได้พัฒนาทฤษฎีพหุปัญญาโดยทฤษฎีโต้แย้งความคิดเกี่ยวกับความเก่งและ ปัญญาของมนุษย์
โดยเฉพาะอย่างยิ่งตามที่เคยระบุความหมายไว้แต่เดิมซึ่งเรียก “ไอคิว” (IQ) นั้นไม่เพียง
พอที่จะนําไปสู่การแสดงความสามารถของมนุษย์ที่มีมากมายหลากหลาย
ที่แนวคิดเดิมเน้นปัญญาของ มนุษย์เพียงสองด้าน คือ ด้านภาษาและด้านคณิตศาสตร์
การ์ดเนอร์ได้เสนอแนวคิดว่าปัญญาที่หลากหลาย หรือพหุปัญญาจะพบในทุกวิถีชีวิต
การเรียนรู้ที่ดีที่สุดอาจเกิดจากตัวป้อนที่ให้ผ่านวิธีการที่ต่างกัน ผู้เรียน
อาจจะทําได้ดีในเรื่องที่ไม่ใช่คณิตศาสตร์
หรืออาจจะมีกระบวนการเรียนรู้ที่ลึกซึ้งกว่า ที่เหนือชั้นกว่า คนที่
แค่จําหลักคิดได้เท่านั้น การ์ดเนอร์เสนอว่าปัญญามีอยู่ 3 ด้าน ดังต่อไปนี้
1. ปัญญาด้านภาษา
(Linguistic intelligence) เป็นปัญญาความสามารถในการใช้ถ้อยคํา
(“word
smart")
2. ปัญญาด้านตรรกะ - คณิตศาสตร์ (Logical-mathematical
intelligence) เป็นปัญญา
ความสามารถทางด้านจํานวนตัวเลขและเหตุผล (“number/reasoning smart”)
3. ปัญญาด้านมิติ
(Spatial intelligence) เป็นปัญญาความสามารถด้านการคิดเป็นรูปภาพ
สามารถมองเห็นโลกในรูปของภาพ และสามารถจําลองสร้างภาพนั้น ๆ ได้ (“picture
smart”)
4. ปัญญาทางด้านคนตรี Musical
intelligence เป็นปัญญาที่มีความสามารถสูงทางด้านดนตรี คือ
ความสามารถและชื่นชมในเสียง ทํานองจังหวะ และสามารถผลิตสียง ทํานอง จังหวะได้ดี(“music
smart”)
5. ปัญญาด้านร่างกาย
การเคลื่อนไหว(Bodily-Kinesthetic intelligence) เป็นปัญญา
ความสามารถพิเศษในการควบคุมการเคลื่อนไหวร่างกาย และในการใช้มือเพื่อจัดกระทํากับสิ่งของ “body
smart")
6 ปัญญาด้านมนุษยสัมพันธ์
(Interpersonal intelligence) เป็นปัญญาความสามารถพิเศษ
ในการทํางานร่วมกับผู้อื่น มีความเข้าใจผู้อื่นสามารถที่จะสังเกตรับรู้อารมณ์
ความคิดความปราถนาของ ผู้อื่น (people smart”)
7.ปัญญาค้านค้านปฏิสัมพันธ์ต่อตนเอง
(Intrapersonal intelligence) เป็นปัญญาความสามารถ
เข้าใจอารมณ์ของตนเองได้ดี (“self smart)
8. ปัญญาด้านการเข้าใจเรื่องธรรมชาติ
(Naturalist intelligence) เป็นปัญญาความสามารถสังเกต
เชื่อมโยงข้อมูลกับสิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติ (nature smart)
สาระสําคัญเกี่ยวกับทฤษฎีพหุปัญญา
คือ ทุกคนมีปัญญาทั้ง 8 ค้านนี้ในตน และปัญญาแต่ละด้าน สามารถพัฒนาให้อยู่ในระดับใช้การได้
การ์ดเนอร์กล่าวสรุปไว้ว่า ปัญญาทั้ง 2 ด้านจะสัมพันธ์เชื่อมโยงกัน
กิจกรรมต่าง ๆ ในชีวิตจะไม่มีกิจกรรมใดที่ใช้เฉพาะปัญญาด้านใดด้านเดียว
คําแนะนําที่ดีก็คือ ไม่ทุ่มเทไปที่ ปัญญาด้านหนึ่งเพียงด้านเดียว
แต่ควรจะสัมพันธ์ปัญญาหลายๆ ด้านในการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ขึ้นมา
เพิ่มเติม
เพิ่มเติม
ลีลาการเรียนรู้ (Learning Style)
ผู้เรียนแต่ละคนมีลีลาการเรียนรู้ที่แตกต่างกัน
Ferrari, Wesley, และคณะ (1996) ได้ศึกษาลักษณะการเรียนรู้ของนักศึกษา
โดยใช้แบบวัดลีลาการเรียนชื่อ Grasha-Riechmann Student Learning Style
(Riechmann & Grasha,1974) ที่แบ่งแบบการเรียนของนักศึกษาออกเป็น
6 แบบ ได้แก่ แบบอิสระ (Independent) แบบหลีกเลี่ยง
(Avoidant) แบบร่วมมือ (Cooperative) แบบพึ่งพา
(Dependent) แบบแข่งขัน (Competitive) และแบบมีส่วนร่วม
(Participative) ลีลาการเรียนรู้แต่ละแบบมีพฤติกรรมการเรียนดังต่อไปนี้
1. แบบอิสระ (Independent)
ผู้ที่มีลีลาการเรียนรู้แบบอิสระชอบทาอะไรด้วยตนเอง
ชอบคิดเอง ชอบทางานคนเดียวเชื่อมั่นความสามารถในการเรียนรู้
และชอบศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง
2. แบบหลีกเลี่ยง (Avoidant)
ผู้ที่มีลีลาการเรียนรู้แบบหลีกเลี่ยงจะไม่สนใจกิจกรรมใดๆ
ในชั้นเรียน จึงไม่ชอบทำกิจกรรมใดๆ รวมถึงการแสวงหาความรู้เพิ่มเติม
3. แบบร่วมมือ (Cooperative)
ผู้ที่มีลีลาการเรียนรู้แบบร่วมมือจะมีความสุขเมื่อได้ทำงานร่วมกับผู้อื่น
และชอบปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนในชั้นเรียน
4. แบบพึ่งพา (Dependent)
ผู้ที่มีลีลาการเรียนรู้แบบพึ่งพาจะรอคอยฟังคาสั่งจากครู
ไม่กระตือรือร้นในการเรียนและไม่มีความคิดริเริ่มทาสิ่งใดด้วยตนเอง
5. แบบแข่งขัน (Competitive)
ผู้ที่มีลีลาการเรียนรู้แบบแข่งขันจะชอบทำกิจกรรมหรืองานใด
ๆ ให้เด่นที่สุดในห้อง ชอบสถานการณ์ที่ต้องมีการแข่งขัน
6. แบบมีส่วนร่วม (Participative)
ผู้ที่มีลีลาการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมจะเห็นความสำคัญของกิจกรรมทุกกิจกรรมในห้องเรียน
ให้ความร่วมมือ และมีความรับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมาย
ทฤษฎีพหุปัญญา (Multiple Intelligences)
เป็นทฤษฎีที่ศึกษาค้นพบโดยการ์ดเนอร์
(Gardner,1982,2000) ซึ่งได้กล่าวถึงความสามารถพิเศษของมนุษย์ไว้ว่ามีทั้งหมด
8 ด้าน และผู้สอนนิยมนำมาประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอนทุกระดับ
คือ
1. ความสามารถพิเศษด้านวาจา/ภาษา (Verbal/Linguistic
Intelligence)
ความสามารถพิเศษด้านนี้จะเกี่ยวข้องกับการใช้ภาษา
บุคคลผู้มีความสามารถพิเศษนี้จะอ่อนไหวมากกับความหมายของคา และมีทักษะความสามารถในการใช้และเล่นคา
ผู้มีความสามารถพิเศษด้านภาษาในขั้นสูง จะสามารถสื่อสารด้วยการฟัง พูด อ่าน เขียน
และเชื่อมโยงได้อย่างมีประสิทธิภาพ
นอกจากนี้ยังตระหนักถึงหน้าที่อันหลากหลายของภาษาโดยรู้ถึงอำนาจในการกระตุ้นอารมณ์ความรู้สึกด้วย
เหล่ากวี นักเขียน นักข่าว นักพูด ทนายความ พิธีกร
และนักการเมืองจะมีความสามารถพิเศษด้านนี้
2. ความสามารถพิเศษด้านตรรกะ/คณิตศาสตร์
(Logical/Mathematical Intelligence)
ความสามารถพิเศษด้านตรรกะ/คณิตศาสตร์จะรวมถึงความสามารถทั้งด้านคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์
นักคณิตศาสตร์ วิศวกร นักฟิสิกส์ นักดาราศาสตร์ คอมพิวเตอร์โปรแกรมเมอร์
และนักวิจัยล้วนเป็นผู้มีทักษะด้านตรรกะ/คณิตศาสตร์ในระดับสูง
ผู้มีความสามารถพิเศษด้านคณิตศาสตร์นั้นรักที่จะค้นคว้าและทางานกับสิ่งที่เป็นนามธรรม
สนุกกับการแก้ปัญหาที่ต้องสรรหาเหตุผลประกอบ
ส่วนผู้มีความสามารถพิเศษด้านวิทยาศาสตร์จะต้องการที่จะอธิบายทุกสิ่งให้เป็นรูปธรรม
3. ความสามารถพิเศษด้านทัศนสัมพันธ์/มิติสัมพันธ์
(Visual/Spatial Intelligence)
ความสามารถพิเศษด้านทัศนสัมพันธ์
คือ ความสามารถที่จะเข้าใจโลกซึ่งเรามองเห็นอยู่ได้อย่างถูกต้อง
ผู้มีความสามารถพิเศษด้านนี้จะนาเสนอข้อมูลทางด้านมิติให้ออกมาเป็นภาพได้และมีพรสวรรค์อันเฉียบคมในการดึงภาพจากความคิดฝันมาทาให้ปรากฏ
ศิลปินและนักออกแบบจะมีทักษะนี้ เพราะสามารถที่จะสนองตอบต่อโลกแห่งภาพและมิติ
สามารถนาสิ่งเหล่านั้นมาสร้างเป็นชิ้นงานศิลปะบุคคลในกลุ่มนี้รวมถึง กะลาสี วิศวกร
ศัลยแพทย์ ประติมากร นักวาดแผนที่ และสถาปนิกด้วย
4. ความสามารถพิเศษด้านร่างกาย/การเคลื่อนไหว
(Bodily/Kinesthetic Intelligence)
ความสามารถพิเศษด้านนี้จะขึ้นอยู่กับพรสวรรค์ของบุคคลในการควบคุมการเคลื่อนไหวทางร่างกายและความสามารถในการพลิกแพลงหยิบจับวัตถุต่างๆ
ด้วยความแคล่วคล่อง สองสิ่งนี้อาจอยู่แยกกัน แต่คนส่วนใหญ่จะมีทั้งคู่นักประดิษฐ์
และนักแสดงมักจะมีความสามารถพิเศษด้านร่างกาย/การเคลื่อนไหวในระดับสูง
เพราะร่างกายมีบทบาทสำคัญยิ่งต่ออาชีพ บุคคลอื่นๆ ในกลุ่มนี้ ได้แก่ นักเต้นรา
นักกีฬา และนักเล่นกายกรรม
5. ความสามารถพิเศษด้านดนตรี/จังหวะ
(Musical/Rhythmic Intelligence)
ความสามารถพิเศษด้านนี้จะมีความเชี่ยวชาญในการคิดทานองดนตรีใหม่ๆ
รวมไปจนถึงนักฟังเพลงไร้ประสบการณ์ที่พยายามจะฟังเพลงกล่อมเด็กให้เข้าใจ
และเชื่อว่าคนเราทุกคนล้วนมีความสามารถทางดนตรีในระดับหนึ่ง
ข้อแตกต่างคือบางคนมีทักษะนี้มากกว่าผู้อื่น หากไม่คำนึงถึงความสามารถขั้นสูงแล้ว
ทุกคนมีความสามารถพอเพียงที่จะสนุกไปกับเสียงดนตรี อันประกอบไปด้วยระดับเสียง
จังหวะ และลักษณะของเสียงดนตรีที่ผิดแผกกันเพราะมีเสียงคู่แปดมาปน
บุคคลผู้มีความสามารถพิเศษด้านดนตรีสูง ได้แก่ นักร้อง นักแต่งเพลง นักดนตรี
วาทยกร และผู้ที่เข้าใจซึ้งและชื่นชอบในเสียงดนตรี
6. ความสามารถพิเศษด้านความสัมพันธ์กับผู้อื่น
(Interpersonal Intelligence)
ความสามารถพิเศษนี้ต่างจากด้านการรู้จักตนเองซึ่งต้องมองลึกเข้าสู่ภายใน
ในการรู้จักผู้อื่นเราจะต้องมองไปที่บุคคลที่อยู่ในสภาพแวดล้อมภายนอก
ความสามารถพื้นฐานของคนกลุ่มนี้คือความสามารถพิเศษในการเข้าใจผู้อื่น
มีพรสวรรค์ในการสังเกตและเห็นความแตกต่างในหมู่คน สามารถเข้าใจล่วงรู้ถึงอารมณ์
ความรู้สึก แรงจูงใจและความตั้งใจของคนเหล่านั้น ตัวอย่างเช่น ในระดับธรรมดาๆ
เด็กเล็กจะรู้จักสังเกตและไวต่ออารมณ์ความรู้สึกของผู้ใหญ่รอบข้าง
ถ้าเป็นระดับสูงซับซ้อนขึ้นมา ผู้ใหญ่ที่มีทักษะนี้จะสามารถอ่านใจผู้อื่นได้ว่าที่จริงแล้วต้องการอะไรแม้ผู้นั้นจะพยายามปกปิดก็ตาม
บุคคลในกลุ่มนี้ ได้แก่ ผู้นาทางศาสนาและการเมือง พ่อแม่ ครู นักบาบัด
และเจ้าหน้าที่แนะแนว
7. ความสามารถพิเศษด้านการรู้จักตนเอง
(Intrapersonal Intelligence)
ความสามารถพิเศษประเภทนี้คือการเข้าใจความรู้สึกของตนเอง
คนเหล่านี้จะเข้าใจระดับอารมณ์ของตนได้โดยสัญชาตญาณ
โดยสามารถระบุอารมณ์นั้นได้และใช้เป็นเครื่องมือควบคุมพฤติกรรมของตน
ความสามารถพิเศษชนิดนี้เป็นความสามารถที่นอกจากจะแยกแยะความรู้สึกสบายออกจากความรู้สึกเจ็บปวดได้แล้ว
ยังสามารถตัดสินใจต่อได้ว่าควรเข้าไปยุ่งเกี่ยว
หรือควรถอนตัวออกจากสถานการณ์นั้นดี ตัวอย่างของบุคคลในกลุ่มนี้ ได้แก่
นักเขียนนวนิยายช่างคิด ผู้เฒ่าผู้แก่ผู้ทรงภูมิปัญญา นักจิตวิทยา หรือนักบำบัด
บุคคลเหล่านี้ล้วนแล้วแต่เป็นผู้เข้าใจความรู้สึกของตนเองได้อย่างลุ่มลึก
8. ความสามารถพิเศษด้านธรรมชาติ (Naturalist
Intelligence)
การปรับตัวเพื่อความอยู่รอดในสภาพแวดล้อมคือกุญแจสาคัญของความสามารถพิเศษด้านนี้
ผู้มีความสามารถพิเศษด้านธรรมชาติจะรู้จักและจาแนกชนิดของสัตว์และพืชรวมไปถึงการแยกแยะความแตกต่าง
และจัดหมวดหมู่สิ่งต่าง ๆ ในธรรมชาติได้ดี บุคคลในกลุ่มนี้ ได้แก่
นักเดินเท้าท่องเที่ยว นักพฤกษศาสตร์ นักวิทยาศาสตร์ นักสมุทรศาสตร์ สัตวแพทย์
คนสวน และเจ้าหน้าที่พิทักษ์อุทยานแห่งชาติเมื่อผู้สอนได้ทราบลีลาการเรียนรู้ของผู้เรียน
และเข้าใจความแตกต่างในความสามารถทางสติปัญญาของผู้เรียนแล้ว จึงควรต้องนำข้อมูลนี้ไปวางแผนการจัดการศึกษาให้สอดคล้องกับผู้เรียนแต่ละคน
ตามหลักการของ Universal Design
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น