วันอังคารที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562

การตรวจสอบและทบทวน


ตรวจสอบและทบทวน
ในการเขียนแผนจัดการเรียนรู้ขั้น การกำหนดจุดหมายการเรียนรู้ ปฏิบัติการเขียนแผนจัดการเรียนรู้ด้วยการระบุสาระ มาตรฐานและตัวชี้วัด จากหลักสูตรที่ตรงกับสาขาวิชาเอกหรือกลุ่มสาระที่สนใจแล้วเขียนข้อความที่แสดงว่าผู้เรียนจะเรียนรู้อะไร และสามารถทำอะไรได้ ข้อความที่เป็นความรู้ โดยการระบุความรู้ในรูปของสารสนเทศ (declarative knowledge) ( เช่น ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจ เรื่อง...) และข้อความที่เป็นการปฏิบัติ โดยการระบุทักษะ การปฏิบัติ หรือกระบวนการ (procedural knowledge) ( เช่น ผู้เรียนสามารถที่จะปฏิบัติหรือกระทำเรื่อง
ตัวอย่าง

กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
การวิเคราะห์ตัวชี้วัด   ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑
สาระที่  ๑   สิ่งมีชีวิตกับกระบวนการดำรงชีวิต
มาตรฐาน ว  ๑. ๑     เข้าใจหน่วยพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต ความสัมพันธ์ของโครงสร้าง และหน้าที่ของระบบต่างๆ ของสิ่งมีชีวิตที่ทำงานสัมพันธ์กัน มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้  สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ในการดำรงชีวิตของตนเองและดูแลสิ่งมีชีวิต
ตัวชี้วัด
ผู้เรียนรู้อะไร
ผู้เรียนทำอะไรได้
 ๑. เปรียบเทียบความ
แตกต่างระหว่างสิ่งมีชีวิต
กับสิ่งไม่มีชีวิต
    สิ่งมีชีวิตมีลักษณะแตกต่างจากสิ่งไม่มีชีวิต  โดยสิ่งมีชีวิตจะมีการเคลื่อนที่ 
กินอาหาร  ขับถ่าย หายใจ  เจริญเติบโต  สืบพันธุ์และตอบสนองต่อ   สิ่งเร้าแต่สิ่งไม่มีชีวิตจะไม่มีลักษณะดังกล่าว
   ตั้งคำถาม วางแผน สังเกตและสำรวจ รวบรวม  บันทึกผล วิเคราะห์ สรุปและ เขียนแผนภาพเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างสิ่งมีชีวิตกับสิ่งไม่มีชีวิต และนำเสนอด้วยวาจา
 ๒สังเกตและอธิบาย
ลักษณะและหน้าที่ของ
โครงสร้างภายนอกของพืช
และสัตว์ 
1.  โครงสร้างภายนอกของพืช ได้แก่ 
ราก  ลำต้น ใบ และผล แต่ละส่วนทำหน้า
ที่แตกต่างกัน
2โครงสร้างภายนอกของสัตว์ ได้แก่
ตา  หู จมูก ปาก เท้า และขา แต่ละส่วน
ทำหน้าที่แตกต่างกัน
      ตั้งคำถาม วางแผนสังเกตและ สำรวจ รวบรวมข้อมูล บันทึกผลการสังเกต  สรุป
และอธิบายลักษณะและหน้าที่ของโครงสร้างภายนอกของพืชและสัตว์ และนำเสนอด้วยวาจา
 ๓. สังเกตและอธิบาย
ลักษณะ หน้าที่และ
ความสำคัญของอวัยวะ
ภายนอกของมนุษย์
ตลอดจนการดูแลรักษา
สุขภาพ
อวัยวะภายนอกของมนุษย์มีลักษณะและหน้าที่แตกต่างกัน  อวัยวะเหล่านี้มีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตจึงต้องดูแลรักษาและป้องกันไม่ให้อวัยวะเหล่านั้นได้รับอันตราย
  ตั้งคำถาม วางแผนการสังเกต สังเกต รวบรวม บันทึกการสังเกต อภิปรายสรุปผล
การสังเกต และอธิบายลักษณะ หน้าที่ความสำคัญของอวัยวะภายนอกของมนุษย์
และกำหนดแนวทางในการป้องกันดูแลรักษาสุขภาพของตนเอง และนำเสนอด้วยวาจา




สาระที่  ๑   สิ่งมีชีวิตกับกระบวนการดำรงชีวิต
มาตรฐาน ว  ๑.๒      เข้าใจกระบวนการและความสำคัญของการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม วิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต ความหลากหลายทางชีวภาพ การใช้เทคโนโลยีชีวภาพที่มีผลกระทบต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อม  มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์ สื่อสาร สิ่งที่เรียนรู้ และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
ตัวชี้วัด
ผู้เรียนรู้อะไร
ผู้เรียนทำอะไรได้
1. ระบุลักษณะของ
สิ่งมีชีวิตในท้องถิ่นและ
นำมาจัดจำแนกโดยใช้
ลักษณะภายนอกเป็นเกณฑ์
     สิ่งมีชีวิตในท้องถิ่นจะมีทั้งลักษณะ
ที่เหมือนกันและแตกต่างกัน  ซึ่งสามารถ
นำมาจำแนกโดยใช้ลักษณะภายนอกเป็นเกณฑ์
    สังเกต ตั้งคำถาม วางแผนการสำรวจ  สำรวจ รวบรวมข้อมูล บันทึก วิเคราะห์ สรุปผลการสำรวจเพื่อระบุลักษณะของสิ่งมีชีวิตในท้องถิ่นและนำมาจัดจำแนก
โดยใช้ลักษณะภายนอก  เป็นเกณฑ์ และนำเสนอด้วยวาจา

สาระที่ ๓   สารและสมบัติของสาร
มาตรฐาน ว   ๓. ๑   เข้าใจสมบัติของสาร  ความสัมพันธ์ระหว่างสมบัติของสารกับโครงสร้างและแรงยึดเหนี่ยวระหว่างอนุภาค  มีกระบวนการสืบเสาะ หาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้ นำความรู้ไปใช้ประโยชน์
ตัวชี้วัด
ผู้เรียนรู้อะไร
ผู้เรียนทำอะไรได้
1. สังเกตและระบุลักษณะที่ปรากฏหรือสมบัติของวัสดุที่ใช้ทำของเล่นของใช้ในชีวิตประจำวัน
วัสดุที่ใช้ทำของเล่นในชีวิตประจำวันอาจมีรูปร่าง สี ขนาด พื้นผิว ความแข็งเหมือนกันหรือแตกต่างกันพื้นผิว
ตั้งคำถาม วางแผนและสังเกต รวบรวมข้อมูล บันทึก วิเคราะห์ สรุปผลการสังเกตและระบุลักษณะที่ปรากฏหรือสมบัติของวัสดุที่ใช้ทำของเล่น ของใช้ในชีวิตประจำวัน และนำเสนอด้วยวาจา
6. จำแนกวัสดุที่ใช้ทำ
ของgล่น ของใช้ใน
ชีวิตประจำวัน รวมทั้ง
ระบุเกณฑ์ที่ใช้จำแนก
ลักษณะหรือสมบัติต่าง ๆ ของวัสดุ สามารถนำมาใช้เป็นเกณฑ์ในการจำแนกวัสดุที่ใช้ทำของเล่น ของใช้ในชีวิตประจำวัน
ตั้งคำถาม วางแผนและสังเกต รวบรวมข้อมูล บันทึก วิเคราะห์ สรุปผลการสังเกต  จำแนกวัสดุที่ใช้ทำของเล่น ของใช้ในชีวิตประจำวัน รวมทั้งระบุเกณฑ์ที่ใช้จำแนก และนำเสนอด้วยวาจา

สาระที่ ๔   แรงและการเคลื่อนที่
มาตรฐาน ว ๔. ๑      เข้าใจธรรมชาติของแรงแม่เหล็กไฟฟ้า แรงโน้มถ่วง และแรงนิวเคลียร์  มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์อย่างถูกต้องและมีคุณธรรม  
ตัวชี้วัด
ผู้เรียนรู้อะไร
ผู้เรียนทำอะไรได้
1. ทดลองและอธิบาย
การดึงหรือการผลักวัตถุ  
การออกแรงกระทำต่อวัตถุอาจทำให้วัตถุเคลื่อนที่หรือไม่เคลื่อนที่และ เปลี่ยนแปลง
รูปร่างหรืออาจไม่เปลี่ยนแปลงรูปร่าง
สังเกต  ตั้งคำถาม ตั้งสมมติฐาน  ทดลอง บันทึกผลการทดลอง อภิปราย  สรุปผล
การทดลองและนำเสนออธิบายผลของ
การออกแรงดึงหรือผลักวัตถุ

สาระที่ ๖    กระบวนการเปลี่ยนแปลงของโลก
มาตรฐาน ว ๖. ๑      เข้าใจกระบวนการต่าง ๆ   ที่เกิดขึ้นบนผิวโลกและภายในโลก ความสัมพันธ์ของกระบวนการต่าง ๆ ที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ภูมิประเทศ และสัณฐานของโลก มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
ตัวชี้วัด
ผู้เรียนรู้อะไร
ผู้เรียนทำอะไรได้
1. สำรวจ ทดลอง
และอธิบายองค์ประกอบ   
และสมบัติทางกายภาพ
ของดินในท้องถิ่น 
1.  ดินประกอบด้วย เศษหิน ซากพืช    ซากสัตว์
โดยมีน้ำและอากาศแทรกอยู่ในช่องว่าง          ของ
เม็ดดิน
2.  ดินในแต่ละท้องถิ่นมีสมบัติทางกายภาพแตกต่างกันในด้านของบสี เนื้อดิน  การอุ้มน้ำ การจับตัวของดิน
      สังเกต ตั้งคำถาม วางแผนการสำรวจและทดลอง   สำรวจ ทดลอง  รวบรวมข้อมูล บันทึก  สรุปผลการสำรวจและทดลอง เขียน mind map อธิบายองค์ประกอบและสมบัติทางกายภาพของดินในท้องถิ่น และนำเสนอผลด้วยวาจา






สาระที่ ๗   ดาราศาสตร์และอวกาศ
มาตรฐาน ว ๗. ๑      เข้าใจวิวัฒนาการของระบบสุริยะ กาแล็กซีและเอกภพการปฏิสัมพันธ์ภายในระบบสุริยะและผลต่อสิ่งมีชีวิตบนโลก มีกระบวนการสืบเสาะ หาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์  การสื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
ตัวชี้วัด
ผู้เรียนรู้อะไร
ผู้เรียนทำอะไรได้
1. ระบุว่าในท้องฟ้า
มีดวงอาทิตย์    ดวงจันทร์
และดวงดาว 
ในท้องฟ้ามีดวงอาทิตย์  ดวงจันทร์ และดวงดาว โดยจะมองเห็นท้องฟ้ามีลักษณะเป็นครึ่งวงกลมครอบแผ่นดินไว้
สังเกต   ตั้งคำถาม วางแผนสังเกต สังเกต  รวบรวมข้อมูล  บันทึกข้อมูล สรุปผลการสังเกต  และระบุได้ว่าในท้องฟ้า มีดวงอาทิตย์  ดวงจันทร์และดวงดาว  นำเสนอผลโดยการวาดภาพระบายสีลักษณะของท้องฟ้าและจัดแสดงผลงาน

สาระที่ ๘    ธรรมชาติของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
มาตรฐาน ว ๘. ๑      ใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์และจิตวิทยาศาสตร์ในการสืบเสาะหาความรู้ การแก้ปัญหา รู้ว่าปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่มีรูปแบบที่แน่นอน สามารถอธิบายและตรวจสอบได้ ภายใต้ข้อมูลและเครื่องมือที่มีอยู่ในช่วงเวลานั้นๆ เข้าใจว่า วิทยาศาสตร์  เทคโนโลยี สังคม และสิ่งแวดล้อม  มีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน
ตัวชี้วัด
ผู้เรียนรู้อะไร/ทำอะไรได้
 ๑. ตั้งคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่จะศึกษาตามที่กำหนดให้หรือตาม ความสนใจ
วางแผนการสังเกต สำรวจตรวจสอบ  ศึกษาค้นคว้า โดยใช้ความคิดของตนเองและของครู
. ใช้วัสดุอุปกรณ์ในการสำรวจตรวจสอบ และบันทึกผลด้วยวิธีง่ายๆ
จัดกลุ่มข้อมูลที่ได้จากการสำรวจตรวจสอบและนำเสนอผล
แสดงความคิดเห็นในการสำรวจ  ตรวจสอบ
บันทึกและอธิบายผลการสังเกต สำรวจตรวจสอบ โดยเขียนภาพหรือข้อความสั้นๆ
นำเสนอผลงานด้วยวาจาให้ผู้อื่นเข้าใจ

จะนำไปแทรกในสาระที่ ๑  ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการคิด



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ชั้นบรรยากาศ

  บรรยากาศ  (atmosphere)  หมายถึง  อากาศในที่ต่าง ๆ ทั้งหมดซึ่งเป็นส่วนที่ห่อหุ้มโลกอยู่โดยรอบ  จะอยู่สูงจากผิวโลกขึ้นไปประมาณ 800-1,000 กิโ...