วันพฤหัสบดีที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562

การวางแผนจัดการเรียนการสอนและการเรียนรู้


การวางแผนจัดการเรียนการสอนและการเรียนรู้
Joyce and We'll, (1996 :334) อ้างว่า มีงานวิจัยจำนวนไม่น้อยที่ชี้ให้เห็นว่า การสอนมุ่งเน้นการให้ความรู้สึกที่ลึกซึ้ง จะช่วยให้ผู้เรียนรู้สึกว่ามีบทบาทในการเรียน ทำให้ผู้เรียนมีความตั้งใจในการเรียนรู้และช่วยให้ผู้เรียนประสบความสำเร็จในการเรียน การเรียนการสอน โดยจะสาระและวิธี การให้ผู้เรียนอย่างดีทั้งทางด้านเนื้อหา ความรู้ และการให้ผู้เรียนใช้เวลาเรียนอย่างมีประสิทธิภาพ (academic learning) เป็นประโยชน์ต่อการเรียนรู้ของผู้เรียนมากที่สุด ผู้เรียนมีจิตใจจดจ่อกับสิ่งที่เรียนและช่วยให้ผู้เรียนถึง 80% ประสบความสำเร็จในการเรียน นอกจากนั้นยังพบว่า บรรยากาศการเรียนที่ไม่ปลอดภัยสำหรับผู้เรียนสามารถสกัดกั้นความสำเร็จของผู้เรียนได้ ดังนั้น ผู้สอนจึงจำเป็นต้องระมัดระวัง ไม่ทำให้ผู้เรียนเกิดความรู้สึกในทางลบ เช่น การดุด่าว่ากล่าว แสดงความไม่พอใจ หรือวิพากษ์วิจารณ์ผู้เรียน

การเรียนการสอนโดยตรง
การเรียนการสอนโดยตรง ประกอบด้วยขั้นตอนสำคัญสำคัญ 5 ขั้นตอน ดังนี้
ขั้นที่ 1 ขั้นนำ
    1.1 ผู้สอนแจ้งวัตถุประสงค์ของบทเรียน และระดับการเรียนรู้หรือพฤติกรรมการเรียนรู้ที่คาดหวังแก่ผู้เรียน
    1.2 ผู้สอนชี้แจงสาระของบทเรียน และความสัมพันธ์กับความรู้และประสบการณ์เดิมของผู้เรียนอย่างคร่าวๆ
    1.3 ผู้สอนชี้แจงกระบวนการเรียนรู้ และหน้าที่รับผิดชอบของผู้เรียนในการเรียนแต่ละขั้นตอน
ขั้นที่ 2 ขั้นนำเสนอบทเรียน
    2.1 หากเป็นการนำเสนอเนื้อหาสาระ ข้อความรู้ หรือมโนทัศน์ ผู้สอนควรกลั่นกรองและสกัดคุณสมบัติเฉพาะของมโนทัศน์เหล่านั้น และนำเสนออย่างชัดเจน พร้อมทั้งอธิบายและยกตัวอย่างประกอบให้ผู้เรียนเข้าใจ ต่อไปจึงสรุปคำนิยามของมโนทัศน์เหล่านั้น
    2.2 ตรวจสอบว่าผู้เรียนมีความเข้าใจตรงตามวัตถุประสงค์ ก่อนให้ผู้เรียนลงมือฝึกปฏิบัติ หากผู้เรียนยังไม่เข้าใจ ต้องสอนซ่อมเสริมให้เข้าใจก่อน
ขั้นที่ 3 ขั้นปฏิบัติตามแบบ (structured practice)
    ผู้สอนปฏิบัติให้ผู้เรียนดูเป็นตัวอย่าง ผู้เรียนปฏิบัติตาม ผู้สอนให้เข้ามูลป้อนกลับ ให้การเสริมแรงหรือแก้ไขข้อผิดพลาดของผู้เรียน
ขั้นที่ 4 ขั้นฝึกปฏิบัติภายใต้การกำกับของผู้ชี้แนะ (guided practice)
    ผู้เรียนลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง ผู้โดยผู้สอนคอยดูแลอยู่ห่างๆ ผู้สอนจะสามารถประเมินการเรียนรู้และความสามารถของผู้เรียนได้จากความสำเร็จและความผิดพลาดของการปฏิบัติของผู้เรียนและช่วยเหลือผู้เรียน โดยให้ข้อมูลป้อนกลับเพื่อให้ผู้เรียนแก้ไขข้อผิดพลาดต่างๆ
ขั้นที่ 5 การฝึกปฏิบัติอย่างอิสระ (independent practice)
    หลังจากที่ผู้เรียนสามารถปฏิบัติตามขั้นที่ 4 ได้ถูกต้องประมาณ 85-90 % แล้ว ผู้สอนควรปล่อยให้ผู้เรียนปฏิบัติต่อไปอย่างอิสระ เพื่อช่วยให้เกิดความชำนาญ และการเรียนรู้อยู่คงทน ผู้สอนไม่จำเป็นต้องให้ข้อมูลป้อนกลับในทันที สามารถให้ภายหลังได้ การฝึกในขั้นนี้ไม่ควรทำติดต่อกันในครั้งเดียว ควรมีการฝึกเป็นระยะระยะ เพื่อช่วยให้การเรียนรู้อยู่คงทนนานขึ้น
    ผลที่ผู้เรียนจะได้รับจากการเรียนตามรูปแบบการเรียนการสอนทางตรง
    การเรียนการสอนแบบนี้ เป็นไปตามลำดับขั้นตอน ตรงไปตรงมา ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ทั้งทางด้านพุทธิพิสัย และทักษะพิสัยได้เร็วและได้มากในเวลาจำกัด ไม่สับสน ผู้เรียนได้ฝึกปฏิบัติตามความสามารถของตนจนสามารถบรรลุวัตถุประสงค์ ทำให้ผู้เรียนมีแรงจูงใจในการเรียน และมีความรู้สึกที่ดีต่อตนเอง
สรุป การสอนโดยตรงโดยทั่วไปมี 3 ขั้นตอน ได้แก่
1 . การสร้างแรงจูงใจให้แก่ผู้เรียน
2 . การนำเสนอข้อมูลใหม่
3 . การเสนอแนะแนวทางปฏิบัติ ให้ข้อมูลย้อนกลับ และการประยุกต์ใช้
 



ขั้นที่ 1 การสร้างแรงจูงใจให้แก่ผู้เรียน 
    สร้างแรงจูงใจผู้เรียน ให้มีแรงจูงใจเพียงพอที่จะมีความปรารถนาที่จะเรียนรู้ มี
ส่วนร่วมในการเรียนรู้ และมีความตั้งใจที่จะปฏิบัติภาระงานที่ได้รับมอบหมายจนกระทั่งงานเสร็จสิ้น
        ขั้นที่ 2 การนำเสนอข้อมูลใหม่ให้กับผู้เรียน 
            การอธิบาย พยายามใช้การปฏิสัมพันธ์และการป้อนคำถามถามทีละขั้นตอน 
            การสาธิต การเรียนการสอนที่ซับซ้อน ปฏิบัติตามขั้นตอนที่กำหนด ด้วยมีเครื่องมือจำกัดและคำนึงถึงความปลอดภัยของผู้เรียน
            ตำรา ใช้เป็นแหล่งเรียนรู้ที่มีคุณค่า 
            แบบฝึกหัดสําหรับผู้เรียน การฝึกเขียนการจัดระบบระเบียบและการจัดเก็บข้อมูลสารสนเทศ 
            โสตทัศนูปกรณ์ สร้างความน่าสนใจและแม่นยำในการนำเสนอข้อมูลใหม่ให้กับผู้เรียน
         ขั้นที่ 3 การเสนอแนะแนวทางปฏิบัติให้ข้อมูลย้อนกลับ และการประยุกต์ใช้
             สาระเบื้องต้นคือ การยืนยันความถูกต้องเพื่อความแน่ใจ และการให้แนวคิดหรือข้อเสนอแนะ
             ผู้เรียนมีแนวโน้มที่จะต้องทำงานเป็นรายบุคคลแม้ว่าการทำงานเป็นกลุ่มจะเป็นที่ยอมรับก็ตาม
             โอกาสที่ผู้เรียนจะได้รับได้แก่: การตอบคำถาม การแก้ปัญหาการสร้างโครงสร้าง ต้นแบบ วาดแผนภูมิ สาธิตทักษะ เป็นต้น
 การเรียนการสอนตามแนวคิดการสร้างความรู้ด้วยตนเอง

การเรียนรู้แบบสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง (Constructivist Methods : CLM) มีพื้นฐานแนวคิดที่ว่า ผู้เรียนแต่ละคนจะเรียนรู้ได้ดีที่สุด ก็ต่อเมื่อได้สร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง การเรียนรู้แบบสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง จะให้โอกาสผู้เรียนในการสร้างองค์ความรู้จากความรู้ที่มาก่อน เพื่อนำไปสู่การสร้างองค์ความรู้ใหม่และความเข้าใจจากประสบการณ์จริง การเรียนรู้จากวิธีการนี้ ผู้เรียนจะได้รับการส่งเสริมให้สำรวจถึงความเป็นไปได้ คิดวิธีแก้ปัญหา ทดสอบแนวคิดใหม่ๆ การร่วมมือกับผู้อื่น การคิดทบทวนปัญหา และท้ายที่สุดคือเสนอวิธีการแก้ปัญหาที่ดีที่สุดที่ตนเองคิดค้นขึ้น การเรียนรู้แบบสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง เชื่อว่าความรู้นั้นเป็นเรื่องเฉพาะของแต่ละคนและสิ่งแวดล้อม
การเรียนรู้แบบสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองเป็นการเรียนรู้ตามแนวคอนสตรัคติวิสท์ (constructivism) ที่เปลี่ยนแนวคิดในการจัดการศึกษาตามทฤษฎีพฤติกรรมนิยม (Behaviorism)ซึ่งระบุจุดประสงค์ (Domains of objective) ระดับความรู้ (Level of Knowledge) และการให้แรงเสริม (Reinforcement) เป็นแนวคิดในการจัดการศึกษาที่เน้นทฤษฎีความรู้ความคิด (Cognitive theory) ที่ว่าผู้เรียนสามารถสร้างความรู้ของตนเอง (Construct their own knowledge) จากการมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม (Gammon& Collage 2001:1) ที่เป็นผลมาจากประสบการณ์และระเบียบแบบแผนทางความคิดของผู้เรียนแต่ละคน การเรียนรู้ตามแนวคอนสตรัคติวิสต์ มุ่งเตรียมผู้เรียนให้สามารถแก้ไขปัญหาในสถานการณ์ที่คลุมเครือ ทฤษฎีการเรียนรู้แบบคอนสตรัคติวิสต์สนใจศึกษากระบวนการเรียนรู้ด้วยการกระทำของตนเอง เมื่อเกิดปัญหาหรือความขัดแย้งทางปัญญาขึ้นบุคคลจะใช้โครงสร้างทางปัญญา (cognitive structure) ที่มีอยู่เดิมทำปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม หรือเพื่อนๆที่อยู่รอบข้าง ความขัดแย้งทางปัญญาจะเป็นแรงจูงใจให้เกิดการต่อไตร่ตรอง (reflection) อันเป็นกิจกรรมของการตรวจสอบ และปรับเปลี่ยนสมมติฐานทางความคิดด้วยเหตุและผล ซึ่งนำไปสู่การสร้างโครงสร้างใหม่ทางปัญญาต่อไป
การจัดการเรียนรู้แบบสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง
การเรียนรู้แบบสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง (Constructivist Methods : CLM) เชื่อว่า ความรู้นั้นเป็นเรื่องเฉพาะของแต่ละคนและสิ่งแวดล้อม ผู้เรียนแต่ละคนจะเรียนรู้ได้ดีที่สุด เมื่อได้สร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง จะให้โอกาสผู้เรียนในการสร้างองค์ความรู้จากความรู้ที่มาก่อน เพื่อนำไปสู่การสร้างองค์ความรู้ใหม่และความเข้าใจจากประสบการณ์จริง ในการเรียนรู้ผู้เรียนจะได้รับการส่งเสริมให้สำรวจถึงความเป็นไปได้วิธีคิดแก้ปัญหา ทดสอบแนวคิดใหม่ๆ การร่วมมือกับผู้อื่น การคิดทบทวนปัญหา และท้ายที่สุดคือเสนอวิธีแก้ปัญหาที่ดีที่สุดที่ตนเองคิดค้นขึ้น
ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้จากการสร้างความต่อเนื่องระหว่างข้อมูลสารสนเทศใหม่กับความรู้เดิม การเรียนรู้เป็นผลของการผลิตหรือสร้างสรรค์ทางปัญญา มนุษย์จะเรียนรู้ได้อย่างดีที่สุด ถ้าหากได้ลงมือสร้างความหมายหรือความเข้าใจของตนด้วยตนเอง การเรียนรู้เกิดขึ้น เมื่อผู้เรียนสร้างโครงสร้างความรู้หรือความเข้าใจอย่างแข็งขันและมีเจตนามุ่งมั่นชัดเจน โดยผู้เรียนจะสลายความขัดแย้ง (Conflict Resolution) หรือความไม่เข้ากันของแนวคิดหรือข้อมูลต่างๆโดยการพินิจพิเคราะห์คำอธิบายหรือเหตุผลเชิงทฤษฎี มนุษย์สร้างโลกทัศน์ของตนเองขึ้นจากประสบการณ์จริงในเวลานั้น และโครงสร้างความรู้เดิมที่อยู่ในรูป Schema มนุษย์ใช้ schema ในการตีความหรือสร้างความหมายให้กับประสบการณ์หรือข้อมูลใหม่ เมื่อมีการเรียนรู้เกิดขึ้น จะมีการปรับ Schema ให้มีความครอบคลุม และมีประสิทธิภาพในการตีความที่สูงขึ้น
ในเรื่องกระบวนการเรียนการสอนผู้เรียนมีความสำคัญในฐานะผู้ที่จะต้องมีปฏิสัมพันธ์กับวัตถุหรือปรากฏการณ์ โดยการสังเกตการวัดหรือประมาณการ การตีความ หรือการกระทำ เพื่อให้เกิดความเข้าใจสร้างความคิดรวบยอดต่อสิ่งเหล่านั้น ผู้เรียนเป็นผู้สร้างแนวทางแก้ปัญหาของตนเอง ดังนั้น กลุ่ม จึงเห็นคุณค่าของความคิดริเริ่ม ความเป็นอิสระในความคิดของผู้เรียน และให้ความสำคัญและอิทธิพลของบริบทการการเรียนรู้และภูมิหลังเกี่ยวกับความเชื่อและเจตคติของผู้เรียนที่มีต่อการเรียนรู้
      Murphy (1997: Online; citing Glasersfield 1999) อธิบายสรุปได้ว่า บุคคลสร้างความรู้โดยอาศัยการรับรู้ผ่านประสาทสัมผัสและการสื่อสารในขณะที่ตนเองมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม ทำให้มีการปรับเปลี่ยนหรือจัดระบบประสบการณ์เดิมของตนเองใหม่ ดังนั้นความรู้จึงไม่สามารถถ่ายทอดจากบุคคลหนึ่งไปสู่อีกบุคคลหนึ่งได้ อธิบายการเรียนรู้ว่าไม่เกี่ยวกับสิ่งเร้าและการตอบสนอง แต่การเรียนรู้เกิดจากการกำกับตนเอง (self - regulation) และการสร้างมโนทัศน์จากการสะท้อนความคิดซึ่งกันและกัน

เมอร์ฟี (Murphy 1997 : Online) รวบรวมแนวคิดของนักการศึกษาต่างๆ ในการจัดการเรียนการสอนตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสท์สรุปได้ดังนี้
1. กระตุ้นให้ผู้เรียนใช้มุมมองที่หลากหลายในการนำเสนอความหมายของมโนทัศน์
2. ผู้เรียนเป็นผู้กำหนดเป้าหมายและจุดมุ่งหมายการเรียนของตนเองหรือจุดมุ่งหมายของการเรียนการสอนเกิดเกิดเกิดจากการเจรจาต่อรองระหว่างผู้เรียนกับผู้สอน
3. ครูผู้สอนแสดงบทบาทเป็นผู้ชี้แนะ ผู้กำกับ ผู้ฝึกฝน ผู้อำนวยความสะดวกในการเรียนของผู้เรียน
4. จัดบริบทของการเรียน เช่น กิจกรรม โอกาส เครื่องมือ สภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมวิธีการคิดและการกำกัดและรับรู้เกี่ยวกับตนเอง
5. ผู้เรียนมีบทบาทสำคัญ ในการสร้างความรู้และกำกับการเรียนรู้ของตนเอง
6. จัดสถานการณ์การเรียน สภาพแวดล้อม ทักษะ เนื้อหาและงานที่เกี่ยวข้องกับนักเรียนตามสภาพที่เป็นจริง
7. ใช้ข้อมูลจากแหล่งข้อมูลปฐมภูมิเพื่อยืนยันสภาพณการณ์ที่เป็นจริง
8. ส่งเสริมการสร้างความรู้ด้วยตนเอง ด้วยการเจรจาต่อรองทางสังคมและการเรียนรู้ร่วมกัน
9. พิจารณาความรู้เดิม ความเชื่อและทัศนคติของนักเรียนประกอบการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
10. ส่งเสริมการแก้ปัญหา ทักษะการคิดระดับสูงและความเข้าใจเรื่องที่เรียนอย่างลึกซึ้ง
11. นำความผิดพลาดความเชื่อที่ไม่ถูกต้องของนักเรียนมาใช้ให้เป็นประโยชน์ต่อการเรียนรู้
12. ส่งเสริมให้นักเรียนค้นหาความรู้อย่างอิสระ วางแผนและการดำเนินงานเพื่อให้บรรลุเป้าหมายการเรียนรู้ของตนเอง
13. ให้นักเรียนได้เรียนรู้งานที่ซับซ้อน ทักษะและความรู้ที่จำเป็นจากการลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง
14. ส่งเสริมให้นักเรียนสร้างความสัมพันธ์ระหว่างมโนทัศน์ของเรื่องที่เรียน 15. อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ของนักเรียนโดยให้คำแนะนำหรือให้ทำงานร่วมกับผู้อื่นเป็นต้น
16. วัดผลการเรียนรู้ของนักเรียนตามสภาพที่เป็นจริงขณะดำเนินกิจกรรมการเรียนการสอนจากแนวคิดของนักการศึกษาดังกล่าว
Gammon & Collateral (2001:2) ได้เสนอแนวคิดในการออกแบบการเรียนรู้ตามทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ (Constructivist learning design) ว่าประกอบด้วย 6 ส่วนที่สำคัญได้แก่ สถานการณ์ (Situation) การจัดกลุ่ม (Grouping) การเชื่อมโยง (Bridge) การซักถาม (Question)การจัดแสดงผลงาน (Exhibit) และการสะท้อนความรู้สึกในการปฏิบัติงาน (Reflection) โดยในการออกแบบครั้งนี้ เพื่อกระตุ้นให้ครูผู้สอนวางแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้และสะท้อนกระบวนการเรียนรู้ของนักเรียน (Reflection about the process of student learning) กล่าวคือ ครูจะจัดสถานการณ์เพื่อให้นักเรียนอธิบายเรื่องกระบวนการในการจัดกลุ่ม (Grouping) นักเรียนหรือสื่ออุปกรณ์ สำหรับใช้ในการอธิบายสถานการณ์พยายามสร้างความเชื่อมโยง (Bridge)ระหว่างสิ่งที่เป็นความรู้เดิมของนักเรียนกับสิ่งที่นักเรียนต้องการจะเรียนรู้
สรุปคุณลักษณะของทฤษฎีคอนสตรัคติวิสท์ มีดังนี้
1. ผู้เรียนสร้างความรู้ ความเข้าใจในสิ่งที่เรียนรู้ด้วยตนเอง
2. การเรียนรู้สิ่งใหม่ขึ้นกับความรู้เดิมและความเข้าใจที่มีอยู่ในปัจจุบัน
3. การมีปฏิสัมพันธ์ต่อสังคมมีความสำคัญต่อการเรียนรู้
4. การจัดสิ่งแวดล้อม กิจกรรมที่คล้ายคลึงกับชีวิตจริงทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างมีความหมาย
ทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ เป็นทฤษฎีการเรียนรู้ ดังนั้นตัวทฤษฎีเองไม่มีรายละเอียดเกี่ยวกับวิธีการจัดการเรียนการสอน ไม่มีลำดับขั้นการสอน henrique (1997) ได้ศึกษาทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ และตีความทฤษฎีนี้ โดยพิจารณาจากมุมมองด้านปรัชญา ด้านจิตวิทยา ด้านยานฤทธิ์ยาและด้านการเรียนการสอนและจำแนกทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ ได้ 4 แนวคิด ได้แก่
1. แนวคิดคอนสตรัคติวิสต์ แบบกระบวนการทางสมองในการประมวลผล (information processing approach) หรือแนวคิดแบบการประมวลผลข้อมูลนั้น ใช้พื้นฐานที่ว่านักเรียนเรียนรู้สิ่งที่เป็นความจริง ไม่ว่าจะเรียนจากครูหรือการได้รับประสบการณ์เรียนรู้ โดยการประมวลผลข้อมูลนี้ใช้หลักว่ามีความจริงเป็นกลางที่สามารถวัดและทำเป็นแบบได้ ตามหลักปรัชญาของพอสิทิวิสต์ (positivist philosophical tradition)
2. แนวคิดอินเตอร์เอกทีฟคอนสตัคติวิสท์ (interactive constructivist approach) แนวคิดแบบอินเทอแรกทิฟคอนสตรักติวิสต์ เป็นมุมมองที่ว่านักเรียนสร้างความรู้และเรียนรู้เมื่อมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งที่จับต้องได้และผู้คนรอบข้าง
3. แนวคิดคอนสตรัคติวิสต์เชิงสังคม (social constructivist approach) แนวคิดแบบโซชัลคันสตรักติวิสต์แนวคิดนี้ใช้หลักการว่าความรู้เกิดขึ้นในระดับชุมชนเมื่อผู้คนที่อยู่ในชุมชนนั้นมีปฏิสัมพันธ์กัน
4. แนวคิดเรดิคอลคอนสตรัคติวิสท์ (radical constructivist approach) แนวคิดแบบเรดิคอลคอนสตรัคติวิสต์ แนวคิดนี้เชื่อว่าความคิดมาหลากหลายล้วนแต่มีทางที่จะเป็นจริงได้ แนวคิดนี้จึงบอกว่าไม่มีความคิดใดเป็นจริงมากกว่ากัน
แนวคิดคอนสตรัคติวิสท์ ทั้ง 4 แนวคิด มีข้อตกลงเบื้องต้นที่อยู่ภายใต้ทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์เหมือนกัน สรุปได้ 3 ประการคือ
1. การเรียนรู้ เป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นภายใต้ตัวบุคคล ผู้เรียนเป็นผู้รับผิดชอบการเรียนรู้ของตน ไม่มีบุคคลใดสามารถเรียนรู้แทนกันได้
2. ความรู้ความเข้าใจและความเชื่อที่มีอยู่เดิมส่งผลต่อการเรียนรู้
3. ความขัดแย้งทางความคิดเพื่ออำนวยให้บุคคลเกิดการเรียนรู้ เพื่อลดความขัดแย้งทางความคิด
ทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ แสดงให้เห็นจุดเปลี่ยนทางการทางด้านการศึกษา กล่าวคือ เปลี่ยนจากรูปแบบการศึกษาที่อยู่บนพื้นฐานตามทฤษฎีพฤติกรรมนิยม (Behaviorism) ซึ่งเน้นในเรื่องเชาว์ปัญญา (Intelligence) จุดประสงค์ (Domains of objective) ระดับความรู้ (Level of Knowledge) และการให้แรงเสริม (Reinforcement) มาเป็นรูปแบบการจัดการศึกษาที่เน้นทฤษฎีความรู้ความคิด (Cognitive theory) ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญของการเรียนรู้ตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ (Constructivist learning) ที่มีความเชื่อที่ว่าผู้เรียนสามารถสร้างความรู้ของตนเอง จากการมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม (Gammon & Collateral 2001 : 1)
ข้อตกลงเกี่ยวกับการเรียนรู้ตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ 
1. ผู้เรียนสามารถสร้างความรู้เมื่อทำกิจกรรมการเรียนรู้
2. ผู้เรียนสามารถสร้างความรู้เกี่ยวกับสัญลักษณ์ หรือสร้างความหมาย เมื่อ
ผู้เรียนปฏิบัติกิจกรรม 
 3. ผู้เรียนสามารถสร้างความรู้เกี่ยวกับสังคม เมื่อต้องการนำความหมายที่ตนเองสร้างขึ้นไป มีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น
การเรียนรู้แบบสร้างความรู้ด้วยตนเองสรุปได้ 3 ขั้น
(http://www2.southeastern.edu/Academics/Faculty/rhancock/theory.htm#CM) ดังนี้
1. การทำความรู้ที่มีอยู่ให้กระจ่างแจ้ง
2. การระบุการได้รับและการเข้าใจข้อมูลใหม่
 
3. การยืนยันความถูกต้องและการใช้ข้อมูลใหม่
ขั้นตอนที่ 1 การทำความรู้ที่มีอยู่ให้กระจ่างแจ้ง
    ผู้เรียนแต่ละคนต่างมีความคิดดั้งเดิมและมีความจำเป็นที่จะต้องเลือกหรือปรับเปลี่ยนมโนทัศน์ (แนวคิด) ดังกล่าว ความคิดของผู้เรียนนั้นท้าทายความรู้ทางวิชาการที่ถูกต้อง ชักชวนให้ผู้เรียนเปลี่ยนแนวคิดและยอมรับความรู้ทางวิชาการที่ถูกต้อง
   กลวิธีสำหรับขั้นตอนที่ 1
       สัมภาษณ์หรืออภิปรายกลุ่ม
       แบ่งกลุ่มข้อมูลหรือจำแนกข้อมูล
        แบ่งกลุ่มข้อมูล เรียงลำดับข้อมูลตามลักษณะบางประการ (เช่น มวลสาร)     
        จำแนกข้อมูล จัดกลุ่มวัตถุโดยใช้ลักษณะทางคุณภาพหรือปริมาณ (สี รูปร่าง ขนาด)
        แผนที่ความคิดหรือแผนมโนทัศน์ ระดมสมองที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อหลัก    
        เหตุการณ์ที่ขัดแย้ง เหตุการณ์ที่ไม่สมเหตุสมผล
ขั้นตอนที่ 2 การระบุ การได้รับและการเข้าใจข้อมูลใหม่
    การวางแผนแบบร่วมกัน การวางแผนเครื่องมือที่สร้างแรงจูงใจที่เข้มแข็ง ผู้เรียนได้รับข้อมูลว่าจะต้องเรียนรู้อะไรจากหัวข้อบ้าง อภิปรายเป็นกลุ่มเกี่ยวกับเรื่องที่ต้องการเรียนรู้ ให้ขอบข่ายสาระสำคัญในเรื่องที่เรียนรู้
    กลวิธีสำหรับขั้นตอนที่ 2
        นักจัดการขั้นสูง (advance organizers) ข้อมูลใหม่เชื่อมโยงเข้ากับความรู้เก่าที่มีอยู่แล้วได้  อย่างไร
        อภิปัญญา (meta-cognition) ผู้เรียนกำกับติดตามการเรียนรู้ด้วยตนเอง ผู้เรียนเป็นผู้นำในการเรียนรู้ด้วยตนเอง
        เทคนิควิทยาศาสตร์ (techno-sciencing) ใช้กิจกรรมเป็นฐานประกอบคำอธิบายตัดสินใจด้วยตนเอง ปรัชญาส่วนบุคคล การใช้ความคิดอุปมาอุปไมย ใช่แนวคิดที่คุ้นเคยนำแนวคิดแบบอุปมาอุปไมยมาใช้
ขั้นตอนที่ 3 การยืนยันคำถูกต้องและการใช้ข้อมูลใหม่
    ผู้เรียนได้รับข้อมูลเพื่อสร้างองค์ความรู้
    ความรู้ใหม่ที่สร้างขึ้นของคนส่วนใหญ่สร้างขึ้นจากการมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคม    
    ความรู้ถูกทำให้กระจ่างและยืนยันความถูกต้องเมื่อผู้เรียนนำความรู้ใหม่ไปประยุกต์ใช้กับสถานการณ์
    ความรู้ได้รับจะถูกปรับแต่งตามข้อมูลย้อนกลับที่ได้รับ
    กลวิธีสำหรับขั้นตอนที่ 3
·       การเรียนรู้แบบร่วมมือ สร้างความเข้าใจและแสดงออกในรูปการใช้โมเดลช่วยในการสร้างความเข้าใจ และยังสาธิตมโนทัศน์ของความเข้าใจ หลักการ และกระบวนการที่เป็นเลิศเทคนิคที่ใช้ในการแสวงหาความรู้และการยืนยันความถูกต้องของความรู้
·       การทดลอง/การออกแบบและเทคโนโลยี ใช้สืบเสาะหาความรู้เป็นฐาน
·       วิธีการแบบบูรณาการ สร้างความเชื่อมโยงระหว่างหัวข้อ คำถามและแนวคิดอื่นๆ
·       สาขาวิชา (แนวคิดหลัก) การประยุกต์ใช้กับชีวิตจริง ช่วยเพิ่มความเชื่อมโยงสอดคล้องทฤษฎีและการปฏิบัติ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ชั้นบรรยากาศ

  บรรยากาศ  (atmosphere)  หมายถึง  อากาศในที่ต่าง ๆ ทั้งหมดซึ่งเป็นส่วนที่ห่อหุ้มโลกอยู่โดยรอบ  จะอยู่สูงจากผิวโลกขึ้นไปประมาณ 800-1,000 กิโ...