วันศุกร์ที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562

วิเคราะห์ภาระงาน


การวิเคราะห์ภาระงาน
          การวิเคราะห์ภาระงานคล้ายคลึงกับการวิเคราะห์งานแต่มีระดับของการวิเคราะห์อยู่ที่รายละเอียด – หน่อยย่อย การวิเคราะห์งานทำได้โดยการจำแนกงานออกเป็นภาระงานหลาบภาระ จากนั้นวิเคราะห์ภาระงานก็จะสามารถวเคราะห์ย่อยลงถึงส่วนประกอบโดยใช้คำถามในการวิเคราะห์เช่นเดียวกันกับการวิเคราะห์งาน ดังนี้
            ส่วนประกอบของแต่ละภาระงานคืออะไร
            ส่วนประกอบของต่ละส่วนสามารถนำมาเรียงลำดับด้วยอะไรได้บ้าง
            ส่วนประกอบแต่ละส่วนต้องใช้เวลาเท่าไร
            ขั้นตอนที่จำเป็น(critical steps) คืออไร และเส้นทางวิกฤติ(critical paths) คืออะไร
         ขั้นตอนที่จำเป็นหมายถึงภาระงานที่ไม่สามารถข้าม ละเว้นไม่ต้องปฏิบัติภาระงานนั้น มิฉะนั้นจะมีผลเสียต่อผลลัพธ์ที่จะได้เป้นปัจจัยป้อนให้กับขั้นต่อไปส่วนเส้นทางวิกฤติเป็นผลต่อเนื่องจากขั้นตอนที่จำเป็น เส้นทางวิกฤติมีผลต่อโอกาสที่จะประสอบผลสำเร็จของงานได้และในทำนองเดียวกันก็อาจเป็นอุปสรรคอย่างยิ่งก็ได้
          การตัดสินใจเลือกภาระงานต้องคำนึงถึงประสิทธิผลและประสิทธิภาพ ซึ่งโปรแกรมที่ดีต้องแสวงหาวิธีการที่ดีที่สุดภายใต้กรอบค่าใช้จ่ายที่ได้รับ และต้องสนองจุดหมายของการเรียนรู้ไปพร้อมการเลือกภาระงานอาจแบ่งภาระงานได้เป็น 3 กลุ่ม คือ
1.      กลุ่มภาระงานที่จัดไว้สำหรับการเรียนแบบปกติ(formal)
2.      กลุ่มภาระงานที่จัดไว้สำหรับฝึกอบรมขณะปฏิบัติงาน(on – the – job – training :OJT)
3.      กลุ่มภาระงานที่ไม่ได้จัดไว้ทั้งการเรียนแบบปกติหรือ การฝึกอบรมขณะปฏิบัติงาน เช่น ชุดการศึกษาด้วยตนเอง ฯลฯ
คำถามที่ใช้ในการวิเคราะห์ภาระงาน
           Donal Clark,(2004 : 10) ให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับคำถามในการวิเคราะห์ภาระงานไว้ ดังนี้
    ภาระงานนี้มีความยุ่งยาก หรือซับซ้อนเพียงใด
    ในการปฏิบัติงานต้องใช้พฤติกรรมใดบ้าง
    ภาระงานนี้จะต้องกระทำบ่อยเพียงใด
    ภาระงานนี้มีความสำคัญต่อการปฏิบัติงานมากน้อยเพียงใด
    แต่ละคนทำภาระงานนี้ถึงระดับใด หรือเป็นเพียงส่วนหนึ่งขอลชิ้นงาน ถ้าเป็นส่วนหนึ่งของชิ้นงานอะไรเป็นความสัมพันธ์ระหว่างภาระงานต่าง ๆ
    หากปฏิบัติภาระงานผิดพลาดหรือไม่ปฏิบัติเลย ผลจะเป็นอย่างไร
      อะไรเป็นขอบเขตของภาระงานในการปฏิบัติงานนั้น ๆ
      ระดับความชำนาญที่คาดหวังในการปฏิบัติภาระงาน ควรจะอยู่ระดับใด
      ภาระงานมีความสำคัญอย่างไร
      สารสนเทศใดที่มีความจำเป็นต่อการปฏิบัติภาระ และจะได้มาจากแหล่งใด
      อะไรคือเงื่อนไขในผลการปฏิบัติงาน
      ในการดำเนินงานตามระบบ จำเป็นต้องมีการประสานงานกับบุคคลฝ่ายอื่น หรือภาระงานอื่นหรือไม่
      ภาระนั้น ๆ มากเกินกว่าความต้องการในด้านต่าง ๆ หรือไม่ เช่น ด้านการรับรู้ (perceptual) ด้านความรู้ (cognitive) และด้านทักษะ (psychomotor) และด้านกายภาพ (physical)
      ภาระนี้จะต้องกระทำบ่อยเพียงใด ภายใต้กรอบเวลา เช่น (รายงาน รายสัปดาร์ รายเดือน หรือรายปี)
      การปฏิบัติภาระงานนี้ต้องใช้เวลานานมากน้อยเพียงใด
      ในการปฏิบัติภาระงานนี้ บุคคต้องมีทักษะ ความรู้ และความสามารถต่าง ๆ อะไรเป็นพื้นฐาน
      เกณณฑ์ที่พึ่งประสงค์คืออะไร
      พฤติกรรมใดที่สามารถจำแนกได้ว่า ใครเป็นผู้ปฏิบัติงานที่ดี

เพิ่มเติม               

                          OJT คือ On the job training เป็นการพัฒนาพนักงานที่มีลักษณะเป็นการถ่ายทอดตัวต่อตัว หัวหน้างานหหรือผู้ฝึกจะสามารถชี้แนะ สั่งสอน ถ่ายทอดความรู้และเทคนิคต่างๆ ให้แก่พนักงานได้อย่างละเอียดโดยตรง หัวหน้างานหรือผู้ฝึกและพนักงานจึงมีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด มีความสนิทสนมและไว้วางใจกัน ทั้งช่วยสร้างบรรยากาศที่ดีในการทำงานด้วย



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ชั้นบรรยากาศ

  บรรยากาศ  (atmosphere)  หมายถึง  อากาศในที่ต่าง ๆ ทั้งหมดซึ่งเป็นส่วนที่ห่อหุ้มโลกอยู่โดยรอบ  จะอยู่สูงจากผิวโลกขึ้นไปประมาณ 800-1,000 กิโ...