วันพฤหัสบดีที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562

จุดหมายการเรียนรู้


จุดหมายการเรียนรู้
             จุดหมายการเรียนรู้ (learning Goals)  ความปรารถนาอยากเรียนรู้ ความปรารถนาอาจมาจากบุคคล ประสบการณ์ สถานการณ์พิเศษหรืออื่นๆ David Healy Feldman  (อ้างถึงในอารี สัณหฉวี 2546 : 140 ) อารี สุณหาฉวีแปลความเก่ง 7 ชนิด ค้นหาและพัฒนาพหุปัญญาในตน กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ (ร.ส.พ.)  ศาสตราจารย์สาขาจิตวิทยาแห่งมหาวิทยาลัยทัฟต์ เรียกสิ่งที่จุดประกายความปรารถนาที่จะเรียนรู้นี้ว่า ประสบการณ์ตกผลึก (crystallizing experiences ) ประสบการณ์ประทับใจหรือประสบการณ์ตกผลึกนี้  จะเป็นประสบการณ์ที่เป็นจุดหักเหของชีวิตถ้าความปรารถนาที่จะเรียนรู้เกิดขึ้นหลังประสบการณ์ตกผลึก ก็จะต้องมีการพัฒนาฟูมฟัก Alfred North Whitehead (อ้างถึงในอารี  สัณหฉวี 2546 : 141 ) กล่าวว่าในการพัฒนาฟูมฟักมี 3 ขั้น เรียกว่า จังหวะของการศึกษา (rhythm of education ) ขั้นที่หนึ่งคือ ระยะหลงรัก (romance) ระยะนี้จะเป็นความรื่นเริง มีชีวิตชีวาที่จะเรียนรู้ ขั้นที่สอง คือ ระยะของความแม่นยำ (precision) ระยะนี้จะต้องศึกษาฝึกฝนฝึกซ้อมให้ถูกต้องแม่นยำ และขั้นที่สาม คือ ระยะของความคล่องแคล่ว สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตได้ (generalization) การกำหนดจุดหมายการเรียนรู้เป็นแนวทางหนึ่งในการพัฒนาปัญญา ซึ่งอาจวางแผนเพื่อพัฒนาปัญญาด้านใดด้านหนึ่งมาศึกษาและฝึกหัด ในการวางแผนพัฒนาปัญญานี้ ผู้ที่ถนัดด้านมิติอาจทำเป็นเส้นเวลาหรือรูปภาพ ผู้ที่ถนัดด้านมนุษยสัมพันธ์อาจจะเล่าเรื่องให้เพื่อนสนิทฟัง เป็นต้น

เพิ่มเติม
ความเก่ง 7 ชนิด หรือ ที่หลายคนเรียกว่า “พหุปัญญา” นั้น
ประกอบด้วยความเก่งที่พิสูจน์แล้วว่า...สามารถแยกออกมาเป็น 7 อย่างที่ชัดเจน ได้แก่
1.    ความเก่งด้านภาษา(Linguistic)
ความสามารถในการใช้ภาษา ถ้องคำ สำนวน จับประเด็นหรือใจความสำคัญเก่ง เขียนหนังสือได้ดี การอ่านการเขียนดี เช่น กวี นักหนังสือพิมพ์ นักกฎหมาย
2.    ความเก่งด้านตรรก-คณิตศาสตร์(Logical-Mathematical)
ความสามารถทางด้านตัวเลข จำนวน การจัดลำดับ ค้นหารูปแบบ สร้างสมมติฐาน ใช้ชีวิตแบบมีเหตุผล เช่น นักวิทยาศาสตร์ นักบัญชี นักคอมพิวเตอร์
3.    ความเก่งด้านมิติ(Spatial)
ความ สามารถในการคิดเป็นภาพ มองโลกเห็นเป็นภาพต่างๆ จำลองสร้างภาพได้ มีประสาทความไวในการดู สามารถมองเห็นรายละเอียดและจำละอองภาพในสมองได้ดี เช่น ศิลปิน นักบิน วัศวกร สถาปนิก ช่างภาพ
4.    ความเก่งด้านดนตรี(Musical)
ความสามารถในเรื่องเสียง ทำนอง จังหวะ สามารถผลิตทำนองหรือจังหวะได้ ประสาทหูไวต่อเสียง ร้องเพลงได้ถูกจังหวะ เช่น Beethoven, Bach
5.    ความเก่งด้านร่างกาย-การเคลื่อนไหว(Bodily-Kinesthetic)
สามารถควบคุมการเลื่อนไหวของร่างกายได้ดี ใช้มือในการหยิบจับหรือกระทำกับสิ่งของได้อย่างคล่องแคล่ง เช่น นักกีฬา นักประดิษฐ์ ช่างไม้ ช่างตัดเสื้อผ้า ศัลยแพทย์
6.    ความเก่งด้านมนุษยสัมพันธ์(Interpersonal)
เข้าใจผู้อื่น ทำงานกับผู้อื่นได้ดี สังเกตและรับรู้อารมณ์ ความคิด ความปรารถนาของผู้อื่น เช่น ครู นักบริหาร นักการเมือง นักสร้างเครือข่าย นักไกล่เกลี่ย นักประสานงาน

7.    ความเก่งด้านรู้จิตใจของตนเอง(Intrapersonal)
สามารถ แยกสภาพจิตใจและอารมณ์ของตนเองได้ นำความเข้าใจจิตใจของตนปใช้ในชีวิตประจำวันได้ มักพึ่งพาตนเอง ชอบอิสระเสรี มีวินัยในตนเองสูง ชอบทำงานลำพัง เช่น พระ นักสอนศาสนา นักแนะแนว นักธุรกิจ Business Owner

พหุปัญญา 9 ด้าน
การ์ดเนอร์ คิดไว้ 9 ด้าน ได้แก่
1. ความฉลาดทางด้านภาษา (Linguistic intelligence) ความสามารถในการเข้าใจความหมายและการใช้ภาษา การพูดและการเขียน การเรียนรู้ภาษา การใช้ภาษาสื่อสารให้ได้ผลตามเป้าหมาย สื่ออารมณ์ความรู้สึกให้คนอื่นเข้าใจได้ดี เช่น กวี นักเขียน นักพูด นักกฎหมาย
2. ความฉลาดทางด้านตรรกะ (Logical-mathematic intelligence)
ความสามารถทางด้านคณิตศาสตร์ และเรื่องของเหตุผล คิดวิเคราะห์ในเชิงวิทยาศาสตร์ เช่น นักวิทยาศาสตร์ นักคณิตศาสตร์
3. ความฉลาดทางด้านดนตรี (Musical intelligence)
ความสามารถในการเข้าใจและสร้างสรรค์ดนตรี เข้าใจจังหวะ เช่น นักแต่งเพลง นักดนตรี นักเต้น
4. ความฉลาดทางด้านมิติ (Spatial intelligence)
ความสามารถในการสร้างภาพในจินตนาการ และนำมาสร้างสรรค์เป็นผลงาน เช่น จิตรกร ประติมากร สถาปนิก ดีไซเนอร์
5. ความฉลาดทางด้านการเคลื่อนไหวร่างกาย (Bodily-kinesthetic intelligence) ความสามารถในการใช้ร่างกายเคลื่อนไหวอย่างสร้างสรรค์ เช่น นักเต้น นักกีฬา นักแสดง
6. ความฉลาดในการเป็นผู้นำ (Interpersonal intelligence) ความสามารถในการเข้าใจความรู้สึกนึกคิดของผู้อื่น สามารถจูงใจผู้อื่น เช่น นักการเมือง ผู้นำทางศาสนา ครู นักการศึกษา นักขาย นักโฆษณา
7. ความฉลาดภายในตน (Intrapersonal intelligence) ความสามารถในการเข้าอกเข้าใจความรู้สึกภายในของผู้คน เช่น นักเขียน ผู้ให้คำปรึกษา จิตแพทย์
ต่อมาการ์ดเนอร์ ได้เพิ่มความฉลาดอีก 2 ด้านตามลำดับคือ
8. ความฉลาดทางด้านธรรมชาติ (Naturalist intelligence)
ความสามารถในการเรียนรู้เรื่องธรรมชาติ พืช สัตว์ ธรณีวิทยา สิ่งแวดล้อ
9. ความฉลาดในการคิดใคร่ครวญ (Existential intelligence)
ชอบคิด สงสัยใคร่รู้ ตั้งคำถามกับตัวเองในเรื่องความเป็นไปของชีวิต ชีวิตหลังความตาย เรื่องเหนือจริง มิติลึกลับ เช่น นักคิด อามิ อริสโตเติล ขงจื้อ ไอน์สไตน์ พลาโต โสเครติส ฯลฯ


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ชั้นบรรยากาศ

  บรรยากาศ  (atmosphere)  หมายถึง  อากาศในที่ต่าง ๆ ทั้งหมดซึ่งเป็นส่วนที่ห่อหุ้มโลกอยู่โดยรอบ  จะอยู่สูงจากผิวโลกขึ้นไปประมาณ 800-1,000 กิโ...