จุดมุ่งหมายการศึกษาของมาร์ซาโน
Marzano
and Kendall, (2007)
ได้พัฒนาการจัดกลุ่มพฤติกรรมการเรียนรู้ขึ้นใหม่แบ่งเป็น 1) ระบบปัญญา (Cognitive System) 2) ระบบอภิปัญญา (Meta cognitive System) และ 3) ระบบตนเอง (Self-System)
และได้จัดจำแนกอนุกรมวิธานจุดมุ่งหมายทางการศึกษาเป็น 6 ขั้น
ขั้นที่ 1 การดึงกลับคืนมา (Retrieval) ได้แก่ การระบุข้อความได้ การระลึกได้ และลงมือปฏิบัติได้ (Executing)
ขั้นที่ 2 ความเข้าใจ (Comprehension) ได้แก่ การบูรณาการและการทำให้เป็นรัฐสัญลักษณ์ (Symbolizing)
ขั้นที่ 3 การวิเคราะห์ (Analysis) ได้แก่การจับคู่ได้ (Matching) แยกประเภทได้ (Classifying) วิเคราะห์ความผิดพลาดได้ (Analysis Error)
ติดตามได้ (Generalizing) และชี้ให้จำเพาะเจาะจงได้ (Specifying)
ขั้นที่ 4 การนำความรู้ไปใช้ (Knowledge
Utilizing) ได้แก่ การตัดสินใจ (Decision Making) การแก้ปัญหา (Problem Solving) การทดลองปฏิบัติ (Experimenting) และการสืบค้นต่อไปให้เกิดความเข้าใจที่ลึกซึ้ง
ขั้นที่ 5 อภิปัญญา (Meta-cognition) ได้แก่ การระบุจุดหมาย (Specifying Goals)
การกำกับติดตามกระบวนการ (Process Monitoring)
การทำให้เกิดความชัดเจนในการกำกับติดตาม (Monitor Clarity)
และการกำกับติดตามตรวจสอบความถูกต้องชัดเจน (Monitoring Accuracy)
ขั้นที่ 6 การมีระบบความคิดของตนเอง (Self
– System thinking) ได้แก่ การตรวจสอบประสิทธิภาพ (Examining
Efficacy) การตรวจสอบการตอบสนองทางอารมณ์ (Examining
Emotional Response) และการตรวจสอบแรงจูงใจ (Examining
Motivation)
Marano, (2000) ได้นำเสนอมิติใหม่ทางการศึกษา ดังนี้
ตารางที่ 6 มิติใหม่ทางการศึกษา ระบบตนเอง
ระบบตนเอง (Self - System)
|
||
ความเชื่อเกี่ยวกับความสำคัญของความรู้
(Beliefs About the
Importance of Knoeledge)
|
ความเชื่อเกี่ยวกับประสิทธิภาพ
(Beliefs About
Efficacy)
|
อารมณ์ความรู้สึกที่เกี่ยวพันกับความรู้
(Emotions Associated
with Knowledge)
|
ตารางที่ 7 มิติใหม่ทางการศึกษา ระบบอภิปัญญา
ระบบอภิปัญญา (Meta-cognitive System)
|
|||
การบ่งชี้จุดหมาย (Specifying Learning Goals)
|
การเฝ้าระวังในกระบวนการ/การนำความรู้ไปใช้
(Monitoring the
Execution Knowledge)
|
การทำให้เกิดความชัดเจน
(Monitoring Clarity)
|
การตรวจสอบความถูกต้องชัดเจน
(Monitoring Accuracy)
|
ตารางที่ 8 มิติใหม่ทางการศึกษา ระบบปัญญา
ระบบปัญญา (Cognitive System)
|
|||
การเรียกใช้ความรู้ (Knowledge Retrieval)
|
ความเข้าใจ (Comprehension)
|
การวิเคราะห์ (Analysis)
|
การนำความรู้ไปใช้ (Knowledge Utillizing)
|
การระลึกได้ ()
การลงมือปฏิบัติได้
|
การสังเคราะห์ ()
การกำหนดสัญลักษณ์/การเป็นตัวแทน ()
|
การจับคู่ได้ ()
แยกประเภทได้ () วิเคราะห์ความผิดพลาดได้ () การกำหนดเป็นเกณฑ์ทั่วไป ()
การกำหนดเฉพาะเจาะจงได้ ()
|
การตัดสินใจ ()
การแก้ปัญหา () การทดลองปฏิบัติ () การสืบค้นต่อไปให้เกิดความเข้าใจที่ลึกซึ้ง ()
|
ขอบเขตความรู้ ()
|
|||
ข้อมูล ()
|
ขั้นการคิดวิธีการดำเนินการ ()
|
ขั้นการลงมือทำ ()
|
|
3)
การเรียนแบบร่วมมือ ()
|
หมายถึง
การจัดการเรียนรู้ให้ผู้เรียนมีโอกาสในการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นในการส่งเสริม
สนับสนุนการเรียนรู้
|
||
4)
ให้คำแนะนำ, ใช้คำถามและมโนทัศน์ล่วงหน้า ()
|
คือ
ส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถจดจำ ใช้
และจัดการกับความรู้ที่เกี่ยวข้องกับประเด็นที่ศึกษา
|
||
5)
การแสดงออกโดยภาษากาย ()
|
หมายถึง
การส่งเริมให้ผู้เรียนสามารถนำเสนอและให้รายละเอียดในการแสดงถึงความรู้
|
||
6)
สรุปความและจดบันทึก ()
|
หมายถึง
การส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถวิเคราะห์ข้อมูลและจัดการกับข้อมมูลโดยการสรุปสาระสำคัญ
และข้อมูลสนับสนุน
|
||
7)
มอบหมายงานและปฏิบัติ ()
|
หมายถึง
การให้โอกาสผู้เรียนได้ฝึกปฏิบัติ, ทบทวนและประยุกต์ใช้ความรู้
การสร้างเสริมให้นักเรียนได้เข้าถึงระดับของความเชี่ยวชาญในทักษะหรือกระบวนการที่คาดหวัง
|
||
8)
ระบุความเหมือนความแตกต่าง ()
|
หมายถึง
การจัดการเรียนร็ที่ส่งเสริมนักเรียนเข้าใจและสามารถใช้ความรู้
กระบวนการทางปัญญาในการระบุหรือจำแนกสิ่งที่เหมือนและแตกต่าง
|
||
9)
สร้างและทดสอบสมมติฐาน ()
|
หมายถึง
การจัดการเรียนร็ที่ส่งเสริมนักเรียนเข้าใจและสามารถใช้ความรู้และกระบวนการทางปัญญาในการสร้างและทดสอบสมมติฐาน
|
Marzano, R., & Kendall, J. (2001) นำเสนอระบบอภิปัญญา
เป็นระบบที่มุ่งสร้างให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้แบบนำตนเอง
ที่มุ่งให้ผู้เรียนควบคุม กำกับ ดูแล การปฏิบัติภาระงานชิ้นงาน
ตามเป้าหมายที่กำหนด รวมถึงการตัดสินใจเกี่ยวกับกลยุทธ์ และข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
การติดตามดูแลปรับปรุง ปรับเปลี่ยนกลยุทธ์
วิธีการต่างๆตามความจำเป็นและเหมาะสมให้ภาระงานชิ้นงานนั้นลุล่วงตามภารกิจ
ซึ่งสอดคล้องกับการปฏิบัติหน้าที่ครู แนวคิดเกี่ยวกับจุดมุ่งหมายในด้าน
ตามที่มาร์ซาโน(Marzano Taxonomy) ได้นำเสนอไว้เมื่อนำมาเปรียบเทียบกับ Blooms
Taxonomy และ Marzano Taxonomy) ได้ดังนี้
ตารางที่ 9 การเปรียบเทียบ Blooms
Taxonomy และMarzano Taxonomy
Bloom 's
|
Bloom’s Revised
|
Marzano
Taxonomy
|
||||||
Self-System: Motivation towards
learning task
|
||||||||
Beliefs about the importance of
knowledge
|
Beliefs about efficacy
|
Emotions Associated with knowledge
|
||||||
Meta Cognitive System:
Goal-setting relative to learning task
|
||||||||
Specifying Learning Goals
|
Monitoring the Execution of
knowledge
|
Monitoring Clarity
|
Monitoring Accuracy
|
|||||
Evaluation
|
Creating
|
Cognitive System
|
||||||
Synthesis
|
Evaluating
|
|||||||
Analysis
|
Analyzing
|
Knowledge Utilization
|
Decision Making
Problem Solving Experimental
Inquiry Investigation
|
|||||
Application
|
Applying
|
Analysis
|
Matching, Classifying, Error
Analysis, Generalizing Specifying
|
|||||
Comprehension
|
Understanding
|
Comprehension
|
Synthesis, Representation
|
|||||
Knowledge
|
Remembering
|
Knowledge Retrieval
|
Recall Execution
|
|||||
ที่มา : สุเทพ อ่วมเจริญ .วัชรา เล่าเรียนดี
และประเสริฐ มงคล
การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้เพื่อสร้างความรู้ของนักศึกษาวิชาชีพครู คณะศึกษาศาสตร์
มหาวิทยาลัยศิลปากร2559 :35.
จากตารางเปรียบเทียบสรุปว่า
วัตถุประสงค์การเรียนรู้ตาม Bloom Taxonomy ด้าน cognitive
domain นั้นMarzano Taxonomy เรียกว่า cognitive
system อีก 2 ระบบที่เพิ่มขึ้นไม่พบใน Bloom
Taxonomy คือ Meta-cognitive system และ self-system มาร์ซาโน ได้อ้างถึง
แนวคิดของSternberg (Marzano, 1998: 54 -57 ) กล่าวถึงองค์ประกอบสำคัญของระบบอภิปัญญาที่ใช้ใน
การจัดการตนเอง (organizing) การกำกับติดตาม (Monitoring) การประเมิน (Evaluation)และการควบคุม (regulating) ซึ่งองค์ประกอบของการรู้คิดแบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม
ได้แก่ มาร์ซาโน กล่าวถึงองค์ประกอบสำคัญของระบบอภิปัญญาที่ใช้ในการจัดการตนเอง (organizing
) การกำกับติดตาม (Monitoring) การประเมิน
(Evaluating) และการควบคุม (regulating) โดยแบ่งออกเป็น 4 กลุ่มได้แก่
1. การระบุจุดหมายเฉพาะเจาะจง (Goal specification) คือ การกำหนดจุดหมายของชิ้นงาน (the job of the goal) ที่ผู้เรียนตัดสินใจเลือกปฏิบัติ โดยมีการกำหนดผลสำเร็จของงานในแต่ละขั้น
2. การระบุกระบวนการที่ชัดเจน (Process specification ) คือการกำหนดความรู้ ทักษะหรือกลวิธี
ขั้นตอน/กระบวนการเพื่อการบรรลุจุดหมายของชิ้นงานอย่างเหมาะสม
3. การกำกับดูแลกระบวนการ (Process monitoring)คือ
การติดตามควบคุมแต่ละกระบวนการแต่ละขั้นตอนในการนำทักษะ
กลวิธีไปใช้สร้างสรรค์งานชิ้นงานอย่างมีประสิทธิผลและมีประสิทธิภาพโดยใช้เวลาและทรัพยากรอย่างคุ้มค่า
4. การกำกับดูแลการปฏิบัติของตน (Disposition monitoring ) คือ การเป็นการควบคุมตนเองในการปฏิบัติงานที่เหมาะสม
เพื่อให้งานเกิดประสิทธิผลและมีประสิทธิภาพ เช่น
การให้ความสำคัญกับงานมุ่งเน้นผลผลิตที่มีความถูกต้อง แม่นยำ ความเป็นระบบ
มีแรงจูงใจในการทํางาน มีส่วนร่วมในการทำงาน ฯลฯ
แนวคิดเกี่ยวกับระบบอภิปัญญา (Meta-cognitive system) ของ Marzano กล่าวสรุปองค์ประกอบของระบบอภิปัญญาได้เป็น 4 กลุ่มคือ 1) การกำหนดจุดหมายของการเรียนรู้
(Specifying Learning Goals) 2) การกำกับติดตามการปฏิบัติของกระบวนการทางปัญญา
(Monitoring the Execution of Knowledge) 3) การดูแลติดตามความชัดเจน
(Monitoring Clarity) และ 4) การกำกับติดตามให้เกิดความถูกต้อง (Monitoring Accuracy)
แนวคิดการกำหนดวัตถุประสงค์ทางการศึกษาที่อยู่บนพื้นฐานของกระบวนการคิดร่วมกับปัจจัยที่ส่งผลต่อการคิดของผู้เรียน
ซึ่งมิติใหม่ทางการศึกษาที่มาร์ซาโน(Marzano) พัฒนาขึ้นประกอบด้วย 3 ระบบได้แก่ 1) Self-System คือ
ระบบที่เกี่ยวข้องกับความเชื่อในตนเองในการปฏิบัติภาระงานชิ้นงานด้วยความเต็มใจตั้งใจมีความสุข
และมีความมุ่งหวังให้งานเกิดความสำเร็จ 2 ) Meta-cognitive คือ ระบบการควบคุมตนเองให้ปฏิบัติภาระงานชิ้นงาน ที่เกิดขึ้นให้บรรลุผล
ด้วยการการกำหนดจุดหมายของการเรียนรู้ (Specifying Learning Goals)การดูแลติดตามการปฏิบัติของกระบวนการทางปัญญา (Monitoring the
Execution of Knowledge) การดูแลติดตามความชัดเจน (Clarity) และการดูแลติดตามให้เกิดความถูกต้อง (Monitoring Accuracy) และ 3 ) Cognitive System คือ
กระบวนการทางปัญญา (Mental Process) ที่จะปฏิบัติภาระงานชิ้นงานสำเร็จลุล่วงไปได้
ซึ่งระบบอภิปัญญา (Meta-cognitive)ถือเป็นระบบที่มุ่งสร้างให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้แบบแนะนำตนเอง
(Self - Directed Learning) ที่มุ่งให้ผู้เรียนควบคุมกำกับดูแลการปฏิบัติภาระงานชิ้นงาน
ตามจุดหมายที่กำหนด รวมถึงการตัดสินใจเกี่ยวกับกลยุทธ์
ยุทธวิธีและข้อมูลที่เกี่ยวข้องตลอดจนการติดตามดูแลปรับปรุงปรับเปลี่ยนกลยุทธ์วิธีการต่างๆ
ตามความจำเป็นและเหมาะสมให้ภาระงานชิ้นงานนั้นลุล่วงตามภารกิจ
ซึ่งสอดคล้องกับการปฏิบัติหน้าที่ของผู้สอน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น