วันพฤหัสบดีที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562

จุดมุ่งหมายการศึกษาของบลูม


จุดมุ่งหมายการศึกษาของบลูม
            Bloom และคณะ (1956) ได้จัดกลุ่มการเรียนรู้ออกเป็นสามประเภท คือ ด้านพุทธิพิสัย ด้านทักษะพิสัย และด้านพิสัย พุทธพิสัยรวมถึงการเรียนรู้และการประยุกต์ใช้ความรู้ ทักษะพิสัย รวมถึงการพัฒนาเสรีทางกายและทักษะที่ต้องการใช้กล้ามเนื้อสัมพันธ์กับประสามจิตพิสัยเกี่ยวข้องกับการได้มาซึ่งเจตคติ ความซาบซึ้งและค่านิยม การเรียนรู้ทั้งสามประการนี้ควรได้รับการพิจารณาในการวางแผนผลที่ได้รับจากการเรียนรู้ที่ได้จากการเรียนการสอน ในการที่จะประสบผลสำเร็จตามจุดหมายของการศึกษา ขอบเขตการเรียนรู้ทั้งสามนี้ต้องได้รับการบูรณาการเข้าไว้ในทุกลักษณะของการเรียนการสอนและการพัฒนาหลักสูตรซึ่งจะทำให้ผู้เรียนกลายเป็นจุดโฟกัสของกระบวนการเรียนการสอนการเรียนรู้ ดังภาพประกอบที่ 3






ภาพประกอบที่ 3 บูรณาการของพุทธิพิสัย ทักษะพิสัย และจิตพิสัย

อนุกรมภิธาน เป็นระบบของการแยกแยะบางสิ่งบางอย่าง ดังนั้น อนุกรมภิธานของการศึกษาจึงแยกแยะพฤติกรรมที่นักเรียนสามารถคาดหวังที่จะทำให้ได้ภายหลังจากที่ได้เรียนรู้แล้ว อนุกรมภิธานเป็นที่รู้จักกันมากที่สุด คือ อนุกรมภิธานด้านพุทธิพิสัยของบลูมและคณะ
พุทธิพิสัย รวมถึง ความรู้ ความเข้าใจการนำไปประยุกต์ใช้การวิเคราะห์ การสังเคราะห์และการประเมินค่า พุทธิพิสัยแต่ละประเภทในอนุกรมภิธานประกอบด้วยองค์ประกอบบางประการของประเภทความรู้ที่ต้องมาก่อนอนุกรมภิธานนี้มีประโยชน์สำหรับการออกแบบหลักสูตรและการสร้างแบบทดสอบ

ตารางที่ 1 อนุกรมวิธานทางปัญญาของบลูม

ระดับพฤติกรรม
นิยาม
1.      ความรู้
เกี่ยวข้องกับความจำและการระลึกได้ของข้อความจริงเฉพาะคำต่างๆ
สัญลักษณ์ วันที่ สถานที่ ฯลฯ
กฎ แนวโน้ม ประเภท วิธีการ ฯลฯ
หลักการ ทฤษฎี วิธีการจัดความคิด
2.      ความเข้าใจ
เกี่ยวข้องกับความสามารถที่จะใช้ การเรียนรู้ แปลความ สรุปความ ตีความ ย่อความ ขยายรายละเอียด ทำนายผล และผลที่ติดตามมา
3.      การนำไปประยุกต์
เกี่ยวข้องกับความสามารถที่จะใช้ในการเรียนรู้ที่หลากหลายสถานการณ์การใช้หลักการและทฤษฎีการใช้ความเป็นนามธรรม
4.      การวิเคราะห์
เกี่ยวข้องกับการแตกส่วนใหญ่ให้เป็นส่วนย่อยระบุหรือแยกส่วนขององค์ประกอบค้นพบปฏิสัมพันธ์หรือความสัมพันธ์ระหว่างส่วนย่อยเชื่อมโยงความสัมพันธ์ของหลักการ
5.      การสังเคราะห์
เกี่ยวข้องกับการผสมผสานองค์ประกอบเข้าด้วยกันเป็นสิ่งใหม่ระบุและเชื่อมโยงองค์ประกอบต่างๆเข้าด้วยกันเป็นการใหม่ๆ จัดการผสมผสานส่วนย่อยต่างๆเข้าด้วยกันสร้างสิ่งใหม่ขึ้น
6.      ประเมินค่า
เกี่ยวข้องกับการพิจารณาคุณค่าของวัตถุและวิธีการ  พิจารณาในรูปของมาตรฐานภายในพิจารณาในรูปของมาตรฐานภายนอก


ตารางที่ 2 อนุกรมวิธานทางเจตคติของบลูม

ระดับพฤติกรรม
นิยาม
1.      การรับรู้
เกี่ยวข้องกับความตั้งใจทางอ้อมที่มีต่อสิ่งกระตุ้น การรับรู้ข้อความจริง ความถูกต้อง เหตุการณ์หรือโอกาส ความตั้งใจในการสังเกต หรือความตั้งใจที่มีต่อภาระงาน เลือกสิ่งกระตุ้น
2.      การตอบสนอง
เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติบางสิ่งบางอย่างเกี่ยวกับสิ่งกระตุ้น การยินยอมตามีทิศทาง การอาสาสมัครด้วยตนเอง ความพึ่งพอใจหรือความร่าเริง
3.      ค่านิยม
การให้คุณค่ากับบางอย่างเกี่ยวข้องกับการแสดงพฤติกรรมที่สอดคล้อง แสดงออกถึงความเชื่ออย่างแข็งขันในบางสิ่งบางอย่าง แสดงออกถึงความชอบมากกว่าในบางอย่าง แสวงหากิจกรรมเพื่อบางอย่างข้างหน้า
4.      การจัดการ
เป็นการจัดคุณค่าให้มีระบบ เห็นคุณค่าที่ยึดถือมีความสัมพันธ์กับคุณค่าอื่นๆ ก่อตั้งคุณค่าที่มีลักษณะเด่น เป็นค่านิยมของตนเอง
5.      คุณลักษณะ
เป็นการกระทำที่สอดคล้องกับระบบค่านิยมหรือคุณค่าภายใน กระทำที่สอดคล้องในทิศทางที่มีความแน่ใจ การพัฒนาปรัชญาชีวิตที่มีความคงเส้นคงวาทั้งหมด

ตารางที่ 3 อนุกรมภิธานทางทักษะพิสัย

พฤติกรรมการเรียนรู้
นิยาม
การเคลื่อนไหวทั่วไป
(Generic movement)
ปฏิบัติการเคลื่อนไหวหรือกระบวนการซึ่งให้ความสะดวกต่อการพัฒนาแบบการเคลื่อนไหวของมนุษย์
1.      การรับรู้
การจำท่าการเคลื่อนไหว  รูปร่าง แบบและทักษะโดยอวัยวะรับความรู้สึก
2.      เลียนแบบ
เลียนแบบ  แบบการเคลื่อนไหวหรือทักษะในเชิงของผลที่ได้จากการเรียนรู้
3.      สร้างแบบ
จัดและใช้ส่วนของร่างกายในทิศทางที่ผสมกลมกลืน  เพื่อให้ประสบความสำเร็จในแบบการเคลื่อนไหวหรือทกษะ
การเคลื่อนไหวตามปกติ (Ordinry movement )
การพบข้อกำหนดของภาระงานการเคลื่อนไหวผ่านกระบวนการของการจัดการการแสดงออกและการแก้ไขแบบการเคลื่อนไหวหรือทักษะ
1.      การปรับตัว
ปรับแบบการเคลื่อนไหวหรือทักษะเพื่อให้พบกับภาระงานเฉพาะอย่างที่ (adaping)ต้องการ
2.      การแก้ไข
ความกระตือรือร้นที่จะเคลื่อนไหวอย่างราบเรียบ  แบบการเคลื่อนไหวหรือ (refining)ทักษะที่แสดงออกมีประสิทธิภาพในเชิงแห่งผลของกระบวนการปรับปรุง  เช่น
     1.ขจัดการเคลื่อนไหวที่แทรกซ้อน
     2.รอบรู้ถึงความสัมพันธ์ของอวกาศกับจังหวะ
     3.การแสดงออกทางนิสัยภายใต้สภาวะแทรกซ้อน
การเคลื่อนไหวอย่างสร้างสรรค์
(Creative movement)
กระบวนการในการประดิษฐ์หรือสร้างสรรค์การเคลื่อนไหวที่เต็มไปด้วยทักษะซึ่งจะสนองความมุ่งหมายของผู้เรียน
1.      ความหลากหลาย
ประดิษฐ์หรือสร้างทางเลือกในการปฏิบัติแบบการเคลื่อนไหวหรือทักษะ (Varying)
2.      การดัดแปลงโดย
การเริ่มท่าการเคลื่อนไหว การริเริ่มผสมผสานท่าการเคลื่อนไหวไม่ต้องเตรียมตัว(improvising)
3.      แต่งท่าการเคลื่อนไหว
สร้างสรรค์การออกแบบการเคลื่อนไหว หรือทักษะที่มีคุณค่า (composing)

จิตพิสัย การเรียนรู้ทางเจตคติพาดพิงถึงคุณลักษณะของอารมณ์ของการเรียนรู้ เกี่ยวข้องการว่านักเรียนรู้สึกอย่างไรเกี่ยวกับประสบการณ์การเรียนรู้ รู้สึกอย่างไรกับการเรียนรู้กับตนเอง และเป็นการพิจารณาความสนใจ ความซาบซึ้ง เจตคติค่านิยมและคุณลักษณะของผู้เรียน
ทักษะพิสัย เกี่ยวข้องกับทางร่างกายหรือทักษะทางประสาทและกล้ามเนื้อสัมพันธ์กันในการเฝ้าดูการเรียนรู้ที่จะเดินก็จะเกิดความคิดว่ามนุษย์เรียนรู้ทักษะการเคลื่อนไหวอย่างไร เมื่อเด็กได้รับความคิดว่าต้องการอะไร และมีทักษะที่ต้องมีมาก่อนมีความแข็งแรง และวุฒิภาวะและอื่นๆ เด็กจะพยายามมีความหยาบๆ ซึ่งจะค่อยๆ แก้ไขผ่านข้อมูลกลับย้อนมาจากสิ่งแวดล้อม เช่น ธรณีประตู การหกล้ม พรมผู้ปกครอง และสุดท้ายทักษะการแสดงออกซึ่งมีคุณค่าต่อวัยเตาะแตะนั้น

เพิ่มเติม
ทฤษฎีการเรียนรู้ของBloom (Bloom’s Taxonomy)



Bloom เป็นนักการศึกษาชาวอเมริกัน เชื่อว่า การเรียนการสอนที่จะประสบความสำเร็จและมีประสิทธิภาพนั้น ผู้สอนจะต้องกำหนดจุดมุ่งหมายให้ชัดเจน และได้แบ่งประเภทของพฤติกรรมโดยอาศัยทฤษฎีการเรียนรู้และจิตวิทยาพื้นฐานว่า มนุษย์จะเกิดการเรียนรู้ใน 3 ด้านคือ ด้านสติปัญญา ด้านร่างกาย และด้านจิตใจ และนำหลักการนี้จำแนกเป็นจุดมุ่งหมายทางการศึกษาเรียกว่า Taxonomy of Educational objectives
ได้จำแนกจุดมุ่งหมายการเรียนรู้ออกเป็น 3 ด้าน  คือ
1.พุทธิพิสัย (Cognitive Domain)
พฤติกรรมด้านสมองเป็นพฤติกรรมเกี่ยวกับสติปัญญา ความคิด ความสามารถในการคิดเรื่องราวต่างๆ อย่างมีประสิทธิภาพซึ่งพฤติกรรมทางพุทธิพิสัย  6 ระดับ ได้แก่
1.1 ความรู้ (Knowledge) เป็นความสามารถในการจดจำแนกประสบการณ์ต่างๆ และระลึกเรื่องราวนั้นๆ ออกมาได้ถูกต้องแม่นยำ
1.2 ความเข้าใจ (Comprehension) เป็นความสามารถบ่งบอกใจความสำคัญของเรื่องราวโดยการแปลความหลัก ตีความได้ สรุปใจความสำคัญได้
1.3 การนำความรู้ไปประยุกต์ (Application) เป็นความสามารถในการนำหลักการ กฎเกณฑ์และวิธีดำเนินการต่างๆของเรื่องที่ได้รู้มา นำไปใช้แก้ปัญหาในสถานการณ์ใหม่ได้
1.4 การวิเคราะห์ (Analysis) เป็นความสามารถในการแยกแยะเรื่องราวที่สมบูรณ์ให้กระจายออกเป็นส่วนย่อยๆ ได้อย่างชัดเจน
1.5 การสังเคราะห์ (Synthesis) เป็นความสามารถในการผสมผสานส่วนย่อยเข้าเป็นเรื่องราวเดียวกัน
โดยปรับปรุงของเก่าให้ดีขึ้นและมีคุณภาพสูงขึ้น
1.6 การประเมินค่า (Evaluation) เป็นความสามารถในการวินิจฉัยหรือตัดสินกระทำสิ่งหนึ่งสิ่งใดลงไป
การประเมินเกี่ยวข้องกับการใช้เกณฑ์คือ มาตรฐานในการวัดที่กำหนดไว้ 
2. จิตพิสัย (Affective Domain) (พฤติกรรมด้านจิตใจ)
ค่านิยม ความรู้สึก ความซาบซึ้ง ทัศนคติ ความเชื่อ ความสนใจและคุณธรรม พฤติกรรมด้านนี้อาจไม่เกิดขึ้นทันที ดังนั้น การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยจัดสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม และสอดแทรกสิ่งที่ดีงามอยู่ตลอดเวลา จะทำให้พฤติกรรมของผู้เรียนเปลี่ยนไปในแนวทางที่พึงประสงค์ได้ จะประกอบด้วย พฤติกรรมย่อยๆ
 5 ระดับ ได้แก่
1.การรับรู้
2.การตอบสนอง
3.การเกิดค่านิยม
4.การจัดระบบ
5.บุคลิกภาพ
3.ทักษะพิสัย (Psychomotor Domain) (พฤติกรรมด้านกล้ามเนื้อประสาท)
     พฤติกรรมที่บ่งถึงความสามารถในการปฏิบัติงานได้อย่างคล่องแคล่วชำนิชำนาญ ซึ่งแสดงออกมาได้โดยตรงโดยมีเวลาและคุณภาพของงานเป็นตัวชี้ระดับของทักษะประกอบด้วย 5 ขั้น ดังนี้
1.การรับรู้
2.กระทำตามแบบ
3.การหาความถูกต้อง
4.การกระทำอย่างต่อเนื่องหลังจากตัดสินใจ
5. การกระทำได้อย่างเป็นธรรมชาติ

จากทฤษฎีดังกล่าวคือผู้เรียนทุกคนนั้นต้องมีพื้นฐานในการเรียนรู้ทุกคน  แต่อาจจะไม่เท่ากันเพราะคนเรามีการเรียนรู้ที่ต่างกัน  บางคนพบเจอสิ่งที่แตกต่างจากคนอื่นก็จะมีความรู้ความเข้าใจที่ต่างจากคนอื่น
แต่ถ้าผู้เรียนมีพื้นฐานในการเรียนรู้คล้ายๆกันมีความรู้ ความเข้าใจ มีการนำความรู้ไปใช้ประโยชน์คล้ายๆ กัน  ผลการเรียนรู้ของคนกลุ่มนี้ก็จะคล้ายกันด้วย
การที่ผู้เรียนจะเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพนั้นผู้เรียนจะต้องมีความกระตือรือร้นตลอดเวลา  ผู้เรียนจะต้องมีความรู้ ความเข้าใจในสิ่งที่เราจะเรียนรู้  เมื่อมีความเข้าใจแล้วต้องวิเคราะห์ให้ได้ก่อนจากนั้นถึงจะประเมินค่า จากทฤษฎีดังกล่าวกล่าวว่ามนุษย์จะเกิดการเรียนรู้ใน 3 ด้านคือ ด้านสติปัญญา ด้านร่างกาย และด้านจิตใจ  ทุกสิ่งนี้ต้องดำเนินไปอย่างพร้อมๆกัน  ถึงจะเป็นการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ชั้นบรรยากาศ

  บรรยากาศ  (atmosphere)  หมายถึง  อากาศในที่ต่าง ๆ ทั้งหมดซึ่งเป็นส่วนที่ห่อหุ้มโลกอยู่โดยรอบ  จะอยู่สูงจากผิวโลกขึ้นไปประมาณ 800-1,000 กิโ...