วันศุกร์ที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562

การสานสร้างความรู้จากสังคม



              Toddler (1980) กล่าวถึงการพัฒนาการทางด้านสังคมมนุษย์ จากสังคมเกษตรกรรม มาสู่ยุคสังคมอุตสาหกรรมและสังคมสารสนเทศพัฒนาการของเทคโนโลยีสารสนเทศเรียกกันในช่วงแรกว่าสังคมสารสนเทศ (information society) ต่อมาผู้คนในสังคมที่มีปัญญาสามารถจัดการความรู้ได้ สังคมสารสนเทศก็กลายเป็นสังคมฐานความรู้ (Knowledge based society) การพัฒนาเทคโนโลยีไร้สายเป็นผลให้แนวทางในการจัดการศึกษาจำเป็นต้องให้สมาชิกในสังคมให้พร้อมรับสังคมฐานความรู้การศึกษาที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ที่กล่าวกันในการจัดการศึกษานั้นต้องเกิดจากความเข้าใจผู้เรียนและสภาพแวดล้อมของผู้เรียนเพื่อสร้างกิจกรรมการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับศักยภาพของผู้เรียนและองค์ประกอบที่เกี่ยวข้อง เช่นการจัดกระบวนการ เรียนรู้สื่อในการเรียนรู้การศึกษาตามทฤษฎี social constructivism มีความเหมาะสมมากสำหรับสังคมสารสนเทศโดยเฉพาะสังคมฐานความรู้เนื่องจากผู้เรียนสามารถเรียนรู้เรื่องต่างๆจากแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย หากสถานศึกษาจัดสภาพแวดล้อมให้สามารถเข้าถึงแหล่งความรู้จากเครือข่ายสารสนเทศ สุดาพร ลักษณียนาวิน(2550) ได้เสนอกระบวนการเรียนการสอนตามแนวทฤษฎีการเสริมสร้างความรู้จากสังคม (social constructivism) ดังนี้
ตารางที่ 10 กระบวนการเรียนการสอนตามแนวทฤษฎีการสานสร้างความรู้จากสังคม
ทฤษฎี
วิธีการเรียนการสอน
เครื่องมือและสภาพกายภาพ
การสานสร้างความรู้จากสังคม
(Social constructivism)
การเรียนรู้แบบปัญหาเป็นฐาน
(Problem Based Learning)
การเรียนรู้แบบภาระงานเป็นฐาน
(Task Based Learning)
การเรียนรู้แบบเชิงรุก
(Active Learning)
การเรียนรู้วิจัยเป็นฐาน
(Research Based Learning)
การเรียนรู้แบบทีมเป็นฐาน
(Team Based Learning)
การเรียนรู้แบบเพื่อนช่วยเพื่อน
(Peer Learning)

คอมพิวเตอร์ช่วยสอน
(Computer Assisted)
เครือข่ายสังคมออนไลน์
(Network Environment)
วิกิเทคโนโลยี
(Wiki Technology)
ห้องเรียนไร้โต๊ะ
(Classrooms without Desk)
การออกแบบห้องเรียนแนวใหม่
(New Classroom Design)

             การศึกษาตามแนวทฤษฎีการสร้างสรรค์ความรู้จักสังคมหลักสูตรที่เป็นตัวกำหนดสิ่งที่เรียนรู้โรงเรียนและผู้สอนจะกำกับการเรียนรู้ผู้เรียนและผู้ฝึก สอนจะช่วยกันคิดกิจกรรมการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับสภาพสังคม วิธีการเรียนการสอนแบบนี้ต้องรวมพลังในการสอนทั้งการเตรียมการเวลาในการค้นคว้าหาข้อมูล เวลาในการทำกิจกรรมและเวลาที่ต้องมีให้แก่กันระหว่างผู้เรียนกับผู้เรียนและผู้เรียนกับผู้สอนเป็นการเรียนรู้ตลอดชีวิต กิจกรรมการเรียนเป็นเรื่องที่ผู้เรียนเป็นผู้กำกับดูแลเอง (autonomous learer) ผู้เรียนเป็นผู้สร้าง ความรู้ ในบริบทของคำถามและโจทย์ที่มีให้ตอบไม่รู้จบเครื่องมือและสภาพทางกายภาพของห้องเรียนมีการออกแบบห้องเรียนที่ช่วยให้ผู้เรียนแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับสื่อกับเพื่อนและกับผู้สอน

เพิ่มเติม

การเรียนรู้แบบปัญหาเป็นฐาน(Problem–based Learning: PBL)
การจัดการเรียนรู้แบบเน้นภาระงาน (TASK-BASED LEARNING)
การเรียนรู้แบบเชิงรุก (Active Learning)
การเรียนรู้แบบวิจัยเป็นฐาน Research-Based Learning
การจัดการเรียนรู้โดยใช้ทีมเป็นฐาน(Team Based Learning: TBL)
การเรียนรู้แบบเพื่อนช่วยเพื่อน Peer Learning




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ชั้นบรรยากาศ

  บรรยากาศ  (atmosphere)  หมายถึง  อากาศในที่ต่าง ๆ ทั้งหมดซึ่งเป็นส่วนที่ห่อหุ้มโลกอยู่โดยรอบ  จะอยู่สูงจากผิวโลกขึ้นไปประมาณ 800-1,000 กิโ...