The STUDIES Model : การจัดการเรียนรู้และการจัดการชั้นเรียน
การจัดการเรียนรู้และการจัดการชั้นเรียนตามรูปแบบ The
STUDIES Model มีจุดหมายสำคัญเพื่อตอบสนองหลักการและเหตุผลสำคัญในการกำหนดแนวทางพัฒนาวิชาชีพครูตาม พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ
พ.ศ. 2542มาตรา 9(4) ที่ได้กำหนดบทบัญญัติให้มีหลักการส่งเสริมมาตรฐานวิชาชีพครูคณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษาและการพัฒนาครูคณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษามาอย่างต่อเนื่อง
รูปแบบ The STUDIES Model มุ่งพัฒนานักศึกษาวิชาชีพครูให้มีความรู้
ความสามารถคุณลักษณะ ความเป็นครูตามมาตรฐานวิชาชีพ
ตามที่คุรุสภาได้ประกาศเกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพไว้และสอดคล้องกับแนวคิดอาจารย์มืออาชีพ
แนวคิด เครื่องมือ และการพัฒนา (ไพทูรย์ สินลารัตน์ 2550 บรรณาธิการเครือข่ายการพัฒนาวิชาชีพอาจารย์และองค์กรอุดมศึกษาแห่งประเทศไทย)
ในการปรับปรุงคุณภาพด้านการเรียนการสอนของสถาบันอุดมศึกษาในประเด็นการพัฒนาการเรียนการสอนที่เน้นสัมฤทธิ์ผลในการปรับปรุงศักยภาพการเรียนของนักศึกษาผ่านกระบวนการเรียนการสอนเป็นหลัก
เพิ่มเติม
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542มาตรา 9(4)
มาตรา 9 การจัดระบบ โครงสร้าง
และกระบวนการจัดการศึกษาให้ยึดหลัก ดังนี้
(1)
มีเอกภาพด้านนโยบาย และมีความหลากหลายในการปฏิบัติ
(2)
มีการกระจายอำนาจไปสู่เขตพื้นที่การศึกษา สถานศึกษา และองค์กรปกครอง
ส่วนท้องถิ่น
(3)
มีการกำหนดมาตรฐานการศึกษา และจัดระบบประกันคุณภาพการศึกษาทุกระดับ
และประเภทการศึกษา
(4)
มีหลักการส่งเสริมวิชาชีพครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษาและการพัฒนา
ครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษาอย่างต่อเนื่อง
(5)
ระดมทรัพยากรจากแหล่งต่างๆ มาใช้ในการจัดการศึกษา
(6)
การมีส่วนร่วมของบุคคล ครองครัว ชุมชน องค์กรชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
เอกชน องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา
สถานประกอบการและสถาบันสังคมอื่น
หลักการ 6
ประการในมาตรา 9 เป็นหลักของการปรับระบบและโครงสร้างของการบริหาร
จัดการทางการศึกษาตามปฏิรูป อาจจะกล่าวได้ว่า คุณภาพ
และประสิทธิภาพของการศึกษาจะต้อง
ยืนอยู่บนเสาหลัก 4 ประการ คือ
1. การจัดระบบการบริหาร
ให้เกิดเอกภาพทางนโยบาย แต่กระจายอำนาจสู่เขตพื้นที่
และสถานศึกษาโดยให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม
2.
จัดระบบการประกันคุณภาพการศึกษาในรูปแบบใหม่
3.
ส่งเสริมมาตรฐานวิชาชั้นสูง และการพัฒนาอยู่อย่างต่อเนื่อง
4.
จัดระบบการจัดสรรงบประมาณให้มีประสิทธิภาพ
ยุทธศาสตร์ 4
ตัวนี้ กำหนดไว้ในหลักการ 6 ประการดังกล่าวในมาตรา 9
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น