วันศุกร์ที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562

การสอนเพื่อความเข้าใจ:การออกแบบการเรียนรู้แบบย้อนกลับ


การสอนเพื่อความเข้าใจ:การออกแบบการเรียนรู้แบบย้อนกลับ
                 การกำหนดจุดหมายที่พึงประสงค์ในการสอนเพื่อความเข้าใจครูพิจารณาว่านักเรียนมีความรู้พื้นฐานที่เป็นสิ่งที่มีคุณค่าและน่าจะรู้อะไรบ้างแล้วนอกจากนั้นกำหนดขอบข่ายให้แคบลงว่านักเรียนควรมีสิ่งที่จำเป็นต้องรู้และจำเป็นต้องทำนักเรียนควรทำความเข้าใจในเรื่องใดและควรทำอะไรได้บ้างควรมีความเข้าใจที่ยั่งยืนอะไรบ้างครูจะต้องพิจารณาวิธีการประเมินซึ่งจะสะท้อนให้เห็นว่าคิด อกรรมการเรียนการสอนจะต้องลุ่มลึกกว่าที่ผ่านมาเป็นอย่างมาก (ระบุหลักฐานและเกณฑ์การประเมินผลชัดเจน)จึงจะสามารถพัฒนาให้เกิดความเข้าใจในระดับที่ลึกซึ้ง
การออกแบบการเรียนรู้แบบย้อนกลับ (Backwards Design )
Wiggins ได้เสนอกระบวนการออกแบบการเรียนรู้ที่ย้อนกลับจากจุดหมายการเรียนรู้และมาตรฐานที่กำหนดไว้โดยเริ่มจากจุดหมายการเรียนรู้ที่พึงประสงค์จากนั้นจึงออกแบบหลักสูตรออกแบบมีการจัดการเรียนรู้และออกแบบการประเมินผลการเรียนไปพร้อมพร้อมกัน เริ่มจากการจะวิเคราะห์ตั้งแต่ช่วงแรกของการออกแบบหลักสูตรว่าหากนักเรียนบรรลุจุดหมายที่กำหนดไว้จะต้องพิจารณาจากสิ่งใดหรือจากหลักฐานอะไรจึงจะถือว่านักเรียนได้เกิดความเข้าใจในระดับที่พึงประสงค์วิธีการนี้จะช่วยให้ครูมีความชัดเจนในเรื่องจดหมายการออกแบบให้มีความสอดคล้องกันระหว่างกิจกรรมการเรียนการสอนและจุดหมายที่พึงประสงค์การออกแบบแบบย้อนกลับ (Backwards Design ) จะมี 3 ขั้นตอนดังนี้
1 การกำหนดจุดหมายในการจัดการเรียนรู้
2 การกำหนดหลักฐานที่แสดงว่านักเรียนได้บรรลุจุดหมาย การเรียนรู้ที่กำหนดไว้
3 การวางแผนจัดประสบการณ์เรียนรู้
            การกำหนดจุดหมายในการจัดการเรียนรู้
              ผู้สอนจะพิจารณาว่าผู้เรียนมีความรู้พื้นฐานที่เป็นสาระสำคัญและรู้อะไรแล้วกำหนดขอบข่ายว่านักเรียนจำเป็นจะต้องรู้สาระอะไรและจะต้องทำอะไรได้ผู้เรียนควรทำความเข้าใจในเรื่องใดควรทำอะไรได้บ้างและควรมีความเข้าใจลุ่มลึกและยั่งยืนในเรื่องใด Wiggins ได้เสนอเกณฑ์พิจารณากำหนดจุดหมาย 4 ประการได้แก่
           1 จุดหมายในการจัดการเรียนรู้นั้นเป็นประเด็นหลักที่จะมีคุณค่านอกบริบทการเรียนการสอนในห้องเรียนหรือไม่ความเข้าใจที่ยั่งยืนต้องไม่เป็นเพียงข้อมูลหรือทักษะเฉพาะเรื่องเท่านั้นแต่จะต้องเป็นเรื่องหมากปริญหลักที่สามารถนำไปปรับปรุงประยุกต์ในสถานการณ์อื่น ๆนอกห้องเรียน
           2 จุดหมายการจัดการเรียนรู้นั้นเป็นหัวใจของศาสตร์นั้น ๆ เกิดขึ้นได้อย่างไร
           3 จุดหมายในการจัดการเรียนรู้นั้นต้องมีการดูแลเป็นพิเศษ เพื่อให้นักเรียนมีความเข้าใจเพียงใดมีเนื้อหาสาระเป็นจำนวนมากที่ซับซ้อนมากและเป็นนามธรรม เกินที่นักเรียนจะเข้าใจได้ด้วยตนเองหัวข้อเหล่านี้ควรได้รับการดูแลเป็นพิเศษและควรบรรจุในการเรียนการสอนมากกว่าเนื้อหาที่เข้าใจง่าย ที่นักเรียนอาจเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง
           4 จุดหมายในการจัดการเรียนรู้นั้นเพื่อต่อการมีส่วนร่วมของนักเรียนมีหลายหัวข้อ หลายกิจกรรมที่นักเรียนสนใจตามไว้อยู่แล้วสามารถเลือกมาใช้เป็น "ประตู" ไปสู่เรื่องอื่นที่ใหญ่กว่าหากสามารถเชื่อมโยงเรื่องที่เรียนไปสู่เรื่องที่นักเรียนสนใจจะช่วยให้นักเรียนศึกษาค้นคว้าต่อเนื่องด้วยตนเองต่อไป
           การวางแผนการจัดการเรียนรู้
                 เมื่อมีความชัดเจนเกี่ยวกับจุดหมายการเรียนรู้และหลักฐานที่เป็นรูปประธรรมแล้วผู้สอนสามารถเริ่มวางแผนการจัดการเรียนรู้ได้โดยอาจตั้งคำถามดังต่อไปนี้
               ความรู้และทักษะอะไรจะช่วยให้นักเรียนมีความสามารถตามจุดหมายที่กำหนดไว้
               กิจกรรมอะไรจะช่วยพัฒนานักเรียนไปสู่จุดหมายดังกล่าว
               สื่อการสอนจึงจะเหมาะสมสำหรับกิจกรรมการเรียนรู้ขั้นต้น
               การออกแบบโดยรวมสอดคล้องและลงตัวหรือไม่


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ชั้นบรรยากาศ

  บรรยากาศ  (atmosphere)  หมายถึง  อากาศในที่ต่าง ๆ ทั้งหมดซึ่งเป็นส่วนที่ห่อหุ้มโลกอยู่โดยรอบ  จะอยู่สูงจากผิวโลกขึ้นไปประมาณ 800-1,000 กิโ...