T : วิเคราะห์ภาระงาน (Task Analysis)
ศึกษาข้อมูลต่าง ๆ เพื่อให้ได้ ความรู้(knowledge)
ทักษะ(Skill) และเจตคติ(Attitude) ที่เกี่ยวข้อง เพื่ออธิบายภาระงานหรือกิจกรรมที่ช่วยนำทางผู้เรียนไปสู่จุดหมายการเรียนรู้
การวิเคราะห์งานจะเขียนแสดงความสัมพันธ์ด้วย
KSA diagram คือ Knowledge-Skill Attitudes การวิเคราะห์ภาระงานเป็นส่วนหนึ่งของการวิเคราะห์การเรียนการสอน
ซึ่งประกอบด้วย 3
ขั้นตอน คือ
1.ตัดสินใจให้ได้ว่าเป็นความต้องการในเรื่องการเรียนการสอน
มีภาระงานที่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอน
2.ต้องความชัดเจนว่าต้องเรียนรู้เรื่องใดมาก่อน
จึงจะนำไปสู่ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
3.การประเมินการเรียนรู้ของผู้เรียน
จากขั้นที่ 2
บอกให้รู้ว่าผู้เรียนจะต้องเรียนรู้และวัดผลในเรื่องใด
Donald Clark, (2004 : 13)
เสนอแนวทางการวิเคราะห์ตามกระบวนการออกแบบการเรียนการสอนนี้ว่า
เป็นการปฏิบัติเพื่อลงสรุปให้ได้เป็นเรื่องเกี่ยวกับการเรียนการสอนให้ชัดเจน
ดังนี้
ทบทวนระบบหรือกระบวนการเพื่อช่วยให้ผู้เรียนมีความเข้าใจเพิ่มมากขึ้น
เรียบเรียงภาระงาน (ถ้าจำเป็น)
· ระบุ
งาน
· บรรยายลักษณะงาน
· รายงาน
ภาระงานของแต่ละงาน
วิเคราะห์ภาระงานนำไปสู่การปฏิบัติเพื่อสนองตอบความต้องการการเรียนรู้
เลือกภาระงานสำหรับการการสอน
(ภาระงานที่ไม่เกี่ยวข้องก็ควรจะเลือกใช้วิธีอื่น(ที่ไม่ใช่การสอน)
สร้างเครื่องมือ
วัดผลการปฏิบัติ
เลือกวิธีการเรียนการสอน
ประมาณค่าใช้จ่ายในการสอน(ถ้าจำเป็น)
หมายเหตุ
คำว่า(ถ้าจำเป็น) อาจไม่ต้องทำก็ได้ เมื่อผู้เรียนกลุ่มเป้าหมายรับทราบกิจกรรมนั้น
ๆ ทราบแล้ว
เพิ่มเติม
KSA
หมายถึง การมีความรู้ (Knowledge) ในงานที่เหมาะสมที่จะทำงานนั้นๆ
ให้ได้ดีบ้าง, การมีทักษะ (Skills) หรือความเชี่ยวชาญชำนาญในงานที่ท่านปฏิบัติได้เป็นอย่างดีบ้าง
และการที่มีคุณลักษณะภายใน (Attributes) ที่เป็นแรงขับเคลื่อนภายในที่จะทำให้งานนั้นประสบความสำเร็จ
เช่น ความขยัน, ความอดทน, ความซื่อสัตย์,
ความรับผิดชอบ, ความละเอียดรอบคอบ ฯลฯ
ที่จะมีส่วนเสริมส่งให้งานที่ทำบรรลุผลสำเร็จได้เป็นอย่างดีบ้าง
ดังนั้น
ลองหันกลับมาทบทวนค้นหาขีดความสามารถในตัวเองให้เจอว่าเรามีความรู้,
ทักษะ และคุณลักษณะภายในเหมาะที่จะทำงานด้านใดบ้างแล้วพัฒนเจ้า KSA
นั้นไปให้เต็มที่ เต็มศักยภาพที่มี และใช้ความรู้ ทักษะ
และคุณลักษณะที่มีภายในตัวให้ตรงกับงานที่รับผิดชอบอยู่อย่างเต็มที่ ก็จะประสบความสำเร็จได้แน่นอน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น