วันพฤหัสบดีที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562

กลยุทธ์การสอนที่มีประสิทธิ ภาพตามแนวคิดของ มาร์ซาโน


กลยุทธ์การสอนที่มีประสิทธิภาพตามแนวคิดของมาร์ซาโน
การตั้งจุดมุ่งหมายจุดประสงค์ ( Setting objectives)แนวทางการตั้งจุดประสงค์ มีดังนี้ 1) ตั้งจุดประสงค์ให้ชัดเจนตามกฎเกณฑ์แต่ไม่ตายตัว 2 )สื่อสารจุดประสงค์ให้กับผู้เรียนและครอบครัวได้เข้าใจตรงกัน 3) เชื่อมโยงจุดประสงค์การเรียนรู้กับสิ่งที่เรียนรู้เดิมและการเรียนรู้ใหม่ 4) ให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการตั้งจุดประสงค์การเรียนรู้ของตนเอง
        การให้ข้อมูลย้อนกลับ (Providing Feedback) การให้ข้อมูลเกี่ยวกับการปฏิบัติที่เกี่ยวกับจุดประสงค์การเรียนรู้และนำไปสู่การพัฒนาการปฏิบัติและความเข้าใจ ซึ่งแนวทางการให้ข้อมูลย้อนกลับที่มีประสิทธิภาพ ดังนี้ 1) ข้อมูลย้อนกลับจะต้องมีความถูกต้องและละเอียดในสิ่งที่ผู้เรียนต้องรู้และเป็นประโยชน์ต่อไป 2) การให้ข้อมูลย้อนกลับควรคำนึงถึงเวลาที่เหมาะสมและจำเป็น 3) การให้ข้อมูลย้อนกลับควรมีเกณฑ์อ้างอิงชัดเจน 4) ควรให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการให้ข้อมูลย้อนกลับ
         การให้การเสริมแรง (Reinforcing effort) มีวิธีการดังนี้ 1) สอนนักเรียนเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างการเสริมแรงและผลสัมฤทธิ์ 2) แจ้งผู้เรียนให้ชัดเจนในวิธีการ กระบวนการในการให้แรงเสริม 3) ถามผู้เรียนถึงผลที่เกิดจากการเสริมแรงสู่การบรรลุผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียน
         การให้การยอมรับ (Providing Recognition) มีวิธีการดังนี้ 1) ส่งเสริม เป้าหมายมุ่งเน้นการเป็นผู้รอบรู้ 2) ให้การยกย่อง สำหรับสิ่งที่เป็นไปตามความคาดหรือทางในด้านการปฏิบัติและพฤติกรรม 3) ใช้สัญลักษณ์ที่เป็นรูปธรรม ในการแสดงการยอมรับ เป็นการให้รางวัล
การเรียนรู้แบบร่วมมือ (Cooperative Learning) มีวิธีการดังนี้ 1) ควรยึดหลักของการมีปฏิสัมพันธ์ทางบวกและการรับผิดชอบในความสำเร็จส่วนบุคคล 2) จัดเป็นกลุ่มเล็ก 3-5 คน 3) ใช้การเรียนรู้แบบร่วมมืออย่างสอดคล้องและเป็นระบบ
การใช้การแนะนำและคำถาม (Cues and Questions) มีวิธีการดังนี้ 1) ใช้เฉพาะประเด็นที่สำคัญ 2) ให้คำแนะนำที่ชัดเจน 3) ถามคำถามเชิงอนุมาน 4) ถามคำถามเชิงวิเคราะห์
การให้มโนทัศน์ล่วงหน้า (Advance Organizers) มีวิธีการดังนี้ 1) การใช้อธิบายในการสร้างมโนทัศน์ล่วงหน้า 2) ใช้การบรรยายในการสร้างมโนทัศน์ล่วงหน้า สามสายสรุปภาพรวมในการสร้างมโนทัศน์ล่วงหน้า 4 ใช้กราฟิกในการสร้างมโนทัศน์ล่วงหน้า
การใช้ภาษากายแสดงออก (Nolinguistic Representations) มีวิธีการดังนี้ 1) ใช้กราฟิกในการนำเสนอ 2) จัดกระทำหรือทำตัวแบบ 3) ใช้รูปแสดงความคิดนำเสนอ 4) สร้างรูปภาพ,สัญลักษณ์
สรุปแล้วจดบันทึก (Summarizing and note taking) มีวิธีการดังนี้ 1) สอนนักเรียนให้รู้จัก วิธีการบันทึก สรุป ที่มีประสิทธิภาพ 2) ใช้แบบฟอร์มการสรุป 3) ให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการบันทึกการสอนซึ่งกันและกัน
การให้การบ้าน (Assigning Homework) มีวิธีการดังนี้ 1) พัฒนาและสื่อสาร นโยบายการมอบหมายการบ้านของโรงเรียน 2) การออกแบบการบ้านที่สอดคล้องกับจุดประสงค์ทางวิธีการ 3) ให้ข้อมูลย้อนกลับในงานที่มอบหมาย
การให้ฝึกปฏิบัติ (Providing Practice) มีวิธีการดังนี้ 1) ต้องบอกถึงวัตถุประสงค์ของการปฏิบัติอย่างชัดเจน 2) การออกแบบการปฏิบัติที่เจาะจงและเวลาเหมาะสม 3 )ให้ทำกิจกรรมที่สอดคล้องกับเนื้อหา
การบอกความเหมือนและความแตกต่าง (Identifying Similarity) มีวิธีการดังนี้ 1) วิธีการบอกความเหมือนความแตกต่างที่หลากหลายวิธี 2 ) แนะนำนักเรียนให้มีส่วนร่วมในกระบวนการของการกำหนดความเหมือนความแตกต่าง 3 ) ให้คำแนะนำที่ช่วยให้นักเรียน กำหนดความเหมือนความแตกต่างได้
การสร้างและทดสอบสมมติฐาน (Generating and testing Hypotheses) มีวิธีการดังนี้ 1) ให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ในรูปแบบของการสร้างและทดสอบสมมติฐานที่หลากหลาย 2 )การและให้นักเรียนอธิบายสมมติฐานและข้อสรุปได้

เพิ่มเติ่ม
การคิดวิเคราะห์ตามแนวของมาร์ซาโน
              มาร์ซาโน (Marzano. 2001 : 30 – 60) ได้พัฒนารูปแบบจุดมุ่งหมายทางการศึกษารูปแบบใหม่ ประกอบด้วยความรู้สามประเภทและกระบวนการจัดกระทำข้อมูล6 ระดับดังนี้
ประเภทของความรู้
1.  ข้อมูล   เน้นการจัดระบบความคิดเห็นจากข้อมูลง่ายสู่ข้อมูลยากเป็นระดับความคิด รวบยอด ข้อเท็จจริงลำดับเหตุการณ์ สมเหตุและผลเฉพาะเรื่องและหลักการ  
2.  กระบวนการ   เน้นกระบวนการเพื่อการเรียนรู้จากทักษะสู่กระบวนการอัตโนมัติอันเป็น ส่วนหนึ่งของความสามารถที่สั่งสมไว้  
3.  ทักษะ   เน้นการเรียนรู้ที่ใช้ระบบโครงสร้างกล้ามเนื้อจากทักษะง่ายสู่กระบวนการที่ซับซ้อนขึ้นกระบวนการจัดกระทำกับข้อมูลมี 6 ระดับดังนี้
ระดับที่ 1 ขั้นรวบรวม  เป็นการคิดทบทวนความรู้เดิมรับข้อมูลใหม่และเก็บเป็นคลังข้อมูลไว้เป็นการถ่ายโยงความรู้จากความจำถาวรสู่ความจำนำไปใช้ปฏิบัติการโดยไม่จำเป็นต้องเข้าใจโครงสร้างของความรู้นั้น
ระดับที่ 2 ขั้นเข้าใจ  เป็นการเข้าใจสาระที่เรียนรู้สู่การเรียนรู้ใหม่ในรูปแบบการใช้สัญลักษณ์ เป็นการสังเคราะห์โครงสร้างพื้นฐานของความรู้นั้นโดยเข้าใจประเด็นสำคัญ
ระดับที่3 ขั้นวิเคราะห์  เป็นการจำแนกความเหมือนและความแตกต่างอย่างมีหลักการ การจัดหมวดหมู่ที่สัมพันธ์กับความรู้การสรุปอย่างสมเหตุสมผลโดยสามารถบ่งชี้ข้อผิดพลาดได้การประยุกต์ใช้ในสถานการณ์ใหม่โดยใช้ฐานความรู้และการคาดการณ์ผลที่ตามมาบนพื้นฐานของข้อมูล
ระดับที่4 ขั้นใช้ความรู้ให้เป็นประโยชน์  เป็นการตัดสินใจในสถานการณ์ที่ไม่มีคำตอบชัดเจน การแก้ไขปัญหาที่ยุ่งยาก การอธิบายปรากฏการณ์ที่แตกต่าง และการพิจารณาหลักฐานสู่การสรุป สถานการณ์ที่มีความซับซ้อน การตั้งข้อสมมุติฐานและการทดลองสมมุติฐานนั้นบนพื้นฐานของความรู้ 
ระดับที่5 ขั้นบูรณาการความรู้  เป็นการจัดระบบความคิดเพื่อบรรลุเป้าหมายการเรียนรู้ที่กำหนด การกำ กับติดตามการเรียนรู้และการจัดขอบเขตการเรียนรู้
ระดับที่ 6 ขั้นจัดระบบแห่งตน  เป็นการสร้างระดับแรงจูงใจต่อภาวะการณ์เรียนรู้และภาระ งานที่ได้รับมอบหมายในการเรียนรู้รวมทั้งความตระหนักในความสามารถของการเรียนรู้ที่ตนมี   ขั้นการคิดวิเคราะห์ของมาร์ซาโน (Marzano. 2001 :อ้างอิงจาก ประพันธศิริ สุเสารัจ.  58)
จำแนกเป็น  
1.  ทักษะการจำแนก  เป็นความสามารถในการแยกแยะส่วนย่อยต่างๆ ทั้งเหตุการณ์ เรื่องราวสิ่งของออกเป็นส่วน
ย่อย ๆ ให้เข้าใจง่ายอย่างมีหลักเกณฑ์สามารถบอกรายละเอียดของสิ่งต่างๆได้ 
2.  ทักษะการจัดหมวดหมู่ เป็นความสามารถในการจัดประเภท จัดลำดับ จัดกลุ่มของสิ่งที่มีลักษณะคล้ายคลึงกันเข้าด้วยกัน โดยยึดโครงสร้างลักษณะหรือคุณสมบัติที่เป็นประเภทเดียวกัน
3.  ทักษะการเชื่อมโยง  เป็นความสามารถในการเชื่อมโยงความสัมพันธ์ของข้อมูลต่างๆ ว่าสัมพันธ์กันอย่างไร 
4.  ทักษะการสรุปความ เป็นความสามารถในการจับประเด็นและสรุปผลจากสิ่งที่กำหนดให้  

5.  การประยุกต์เป็นความสามารถในการนำความรู้หลักการและทฤษฎีมาใช้ใน สถานการณ์ต่าง ๆ สามารถคาดการณ์ กะประมาณ พยากรณ์ ขยายความ คาดเดาสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ชั้นบรรยากาศ

  บรรยากาศ  (atmosphere)  หมายถึง  อากาศในที่ต่าง ๆ ทั้งหมดซึ่งเป็นส่วนที่ห่อหุ้มโลกอยู่โดยรอบ  จะอยู่สูงจากผิวโลกขึ้นไปประมาณ 800-1,000 กิโ...