วันศุกร์ที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562

การเรียนรู้แบบร่วมมือ


                ประสิทธิผลของการเรียนรู้แบบร่วมมือได้รับการยืนยันจากการวิจัยทางการศึกษาวิจัยในห้องทดลองและในภาคสนามการศึกษาสหสัมพันธ์ที่แสดงว่าการเรียนรู้แบบร่วมมือมีผลในห้องเรียนจริง ๆ Johnson and Johnson (1994) สรุปว่าการวิจัยเชิงสาธิตแบ่งออกเป็น 4 กลุ่มคือ 1) การประเมินผลรวมได้ผลว่าการเรียนรู้แบบร่วมมือก่อให้เกิดผลลัพธ์ที่เป็น ประโยชน์ 2) การประเมินผลรวมเชิงเปรียบเทียบได้ข้อสรุปว่ากระบวนการเรียนรู้แบบร่วมมือดีกว่ากระบวนการเรียนรู้แบบอื่น ๆ 3) การประเมินผลระหว่างเรียนให้ผลที่ จุดมุ่งหมายที่การพัฒนาการการใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือและ 4) การศึกษาผลกระทบของการเรียนรู้แบบร่วมมือที่มีต่อผู้เรียน การเรียนรู้แบบร่วมมืออาจใช้ได้ดีกับทุกระดับทุกเนื้อหาวิชาและทุกงานด้วยความมั่นใจความร่วมมือเป็นความพยายามของมนุษย์โดยทั่วไปซึ่งส่งผลกระทบต่อผลลัพธ์ต่าง ๆทางการศึกษาผลลัพธ์นี้ Johnson and Johnson (1994a) สรุปได้ 3 ประเภทคือ ความพยายามที่จะบรรลุผลสัมฤทธิ์ สัมพันธภาพทางบวกระหว่างบุคคลและสุขภาพจิตดังรูปประกอบที่ 4


ภาพประกอบที่ 4 ผลลัพธ์ของการร่วมมือ
ที่มา Johnson and Johnson (1994 the new circles of leaving cooperation in the classroom and school มานพ ธรรมสาร ผู้แปก กรมวิชาการ 2546 : 32)



ทักษะแห่งความร่วมมือ
             Johnson and Johnson (1991,1994) กล่าวว่าทักษะระหว่างบุคคลหลายทักษะส่งผลต่อความสำเร็จมีความพยายามร่วมมือกันทักษะแห่งความร่วมมือมีกี่ระดับ คือ
           1 และดับเครื่องนิสัย (forming) ทักษะขั้นพื้นฐานที่จำเป็นต่อการสร้างกลุ่มการเรียนรู้แบบ ร่วมมือ ให้ทำหน้าที่ได้เป็นทักษะเริ่มแรกของทักษะที่มุ่งการจัดการเรียนรู้และกำหนดมาตรฐานขั้นต่ำพฤติกรรมที่สำคัญบางประการเกี่ยวกับทักษะระดับสร้างนิสัยดังตัวอย่างต่อไปนี้
            เคลื่อนไหวในกลุ่มการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยไม่ก่อให้เกิดเสียงรบกวนเวลาการทำงานกลุ่มเป็นสิ่งมีค่าจึงควรใช้เวลาในการจัดโต๊ะเก้าอี้และจัดกลุ่มการเรียน ให้น้อยที่สุดตามความจำเป็นนักเรียนอาจจำเป็นต้องฝึกการจัดกลุ่มหลายๆครั้งก่อนที่จะปฏิบัติได้อย่างมีประสิทธิผล
            อยู่ประจำกลุ่มนักเรียนที่เดินไปเดินมาในช่วงที่กลุ่มทำงานไม่ก่อให้เกิดผลดีและยังลบกวนสมาธิของสมาชิกกลุ่มอื่นด้วย
            พูดเบาๆแม้ว่ากลุ่มการเรียนรู้ต้องอาศัยปฏิสัมพันธ์ระหว่างกลุ่ม แต่ไม่จำเป็นต้องใช้เสียงดังเกินไปคู่อาจมอบหมายให้นักเรียนคนหนึ่งในกลุ่มเป็นผู้คอยกำกับให้ผู้อื่นพูดเบาๆ
            กระตุ้นให้ทุกคนมีส่วนร่วม สมาชิกกลุ่มทุกคนต้องร่วมกันคิด ร่วมกันใช้สื่อการเรียนได้มีส่วนในความพยายามให้คุณบรรลุผลการให้นักเรียนผัดเปลี่ยนกันทำหน้าที่เป็นวิธีหนึ่งที่ทำให้นักเรียนทุกคนในกลุ่มมีส่วนร่วม
           2. ระดับสร้างบทบาท (function ) ทักษะที่จำเป็นต่อการจัดกิจกรรมกลุ่มเพื่อทำงานให้สำเร็จและรักษาสัมพันธภาพในการทำงานที่มีประสิทธิผลในหมู่สมาชิกกลุ่มทักษะระดับที่สองนี้เน้นที่การจัดการความพยายามของกลุ่มเพื่อทำงานให้สำเร็จและรักษาความสัมพันธ์ในการทำงานที่มีประสิทธิผล การทำให้สมาชิกกลุ่มจดจ่ออยู่กับการทำงานการหาวิธีดำเนินการที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลและการสร้างบรรยากาศ การทำงานที่น่าพึงพอใจและเป็นมิตรนั้นถือว่าเป็นการผสมผสานอันสำคัญที่จะนำไปสู่กลุ่มการเรียนรู้แบบร่วมมือที่มีประสิทธิผลตัวอย่างทักษะระดับสร้างบทบาท
            และแนวทางการทำงานกลุ่ม โดย 1 แจ้งและย้ำความมุ่งหมายของงานที่ได้รับมอบหมาย 2 เดือนให้ใช้เวลาตามที่กำหนดไว้ และ 3 เสนอขั้นตอนว่าจะทำงานอย่างไรให้สำเร็จอย่างมีประสิทธิผลที่สุด
            แสดงออกถึงการสนับสนุนและการยอมรับทั้งการใช้คำพูดและการแสดงท่าทาง โดยใช้การมองสบตาแสดงถึงความสนใจชมเชยแสวงหาความคิดและข้อสรุปของผู้อื่น
             ขอความช่วยเหลือหรือความชัดเจนในสิ่งที่พูดหรือทำในกลุ่ม
              เสนอให้คำอธิบายหรือชี้แจง
              แปลความหมายข้อเสนอของสมาชิกอื่น
              เสริมพลังให้กลุ่มเมื่อเห็นว่าแรงจูงใจลดลงโดยเสนอแนะความคิดใหม่ใช้อารมณ์ขันหรือ แสดงความกระตือรือร้น
              บรรยายความรู้สึกของตนเองเมื่อมีโอกาสเหมาะ
              3 ระดับสร้างระบบ(formulating) เป็นทักษะที่จำเป็นต่อการสร้างความเข้าใจระดับลึกในเนื้อหาวิชาที่เรียน เพื่อส่งเสริมให้ใช้กลยุทธ์การใช้เหตุผลที่มีคุณภาพสูงและเพิ่มความเชี่ยวชาญ และความคงทนของความรู้ที่จะได้จากงานที่ปฏิบัติ ทักษะระดับที่สาม นี้ทำให้เกิดกระบวนการทางสมองที่จำเป็นในการ สร้างความเข้าใจที่ลึกลงไปในเนื้อหาความรู้ที่เรียนกระตุ้นการใช้กลยุทธ์ในการใช้เหตุผลที่มีคุณภาพสูงและเพิ่มความเชี่ยวชาญ และความคงทนของเนื้อหาความรู้ที่เรียนเนื่องจากความมุ่งหมายกลุ่มการเรียนรู้คือต้องการเพิ่มการเรียนรู้ของสมาชิกทักษะเหล่านี้มีเป้าหมายเฉพาะไปที่การให้รูปแบบวิธีการในการจัดระเบียบความรู้ที่เรียน ทักษะระดับสร้างระบบสามารถดำเนินไปได้ในขณะที่สมาชิกกลุ่มรับบทบาทต่าง ๆ กันบทบาทที่สัมพันธ์กับทักษะเหล่านี้คือ
              ผู้สรุปย่อ เป็นผู้กล่าวสรุปสิ่งที่อ่านหรือ อภิปรายให้สมบูรณ์เท่าที่จะทำได้โดย ไม่อาศัยร่างบันทึกหรือสื่อการเรียนต้นฉบับควรสรุปข้อเท็จจริงและความคิดความสำคัญทั้งหมดไว้ในการสรุปย่อด้วยสมาชิกทุกคนในกลุ่มต้องสรุปย่อจากความจำไปบ่อยเพื่อเพิ่มการเรียนรู้
              ผู้แก้ไข เป็นผู้ระวัง เรื่องความถูกต้อง โดยคอยแก้ไขข้อสรุปของสมาชิกแล้วเพิ่มเติมข้อสนเทศที่สำคัญซึ่งไม่ปรากฏในข้อสรุป
              ผู้ประสานความร่วมมือ เป็นผู้ประสานความร่วมมือโดย ขอให้สมาชิกอื่น ๆเชื่อมโยงความรู้ที่กำลังเรียนอยู่กับความ รู้ ที่เรียนไปแล้ว และกับสิ่งอื่น ๆที่สมาชิกเรานั้นรู้
              ผู้ช่วยจำ เป็นผู้หาวิธีการที่ดีในการจดจำข้อเท็จจริงและความคิดสำคัญ โดยการใช้ภาพวาดสร้างมโนภาพหรือวิธีจำอื่น ๆ และนำมาร่วมหารือกันในกลุ่ม
              ผู้ตรวจสอบความเข้าใจ เป็นผู้ขอให้สมาชิกกลุ่มอธิบายเป็นขั้นเป็นตอนถึงเหตุผลที่ใช้ในการทำงานให้สำเร็จซึ่งจะทำให้การให้เหตุผลของนักเรียนชัดแจ้ง และเปิดกว้างต่อการปรับแก้และอภิปราย
              ผู้ขอความช่วยเหลือเป็นผู้เลือกที่จะคอยให้ความช่วยเหลือเพื่อนในกลุ่มรวมทั้งเป็นผู้ตั้งคำถามที่ชัดเจนและตรงประเด็นและทำอยู่อย่างนั้นจนกว่าจะช่วยเหลือสำเร็จ
               ผู้อธิบายเป็นผู้บรรยายวิธีการทำงานให้สำเร็จ(โดยไม่ให้คำตอบ) ให้ข้อมูลย้อนกลับที่เจาะ จงเกี่ยวกับงานนักเรียนอื่นและลงท้ายด้วยการขอให้นักเรียนอื่นบรรยายหรือสาธิตวิธีการทำงานให้สำเร็จ
               ผู้ให้ความสะดวกในการอธิบายเป็นผู้ขอให้สมาชิกกลุ่มวางแผนที่จะสอนเนื้อหาความรู้ให้นักเรียนคนอื่นโดยละเอียดการวางแผนวิธีการถ่ายทอดความรู้ที่ดีที่สุดมีผลต่อคุณภาพของกลยุทธ์การให้เหตุและผลและความคงทนของความรู้
               4 ระดับสร้างเสริม (fermenting) ทักษะที่จำเป็นต่อการส่งเสริมการรับรู้เหตุผลในสิ่งที่เรียนความขัดแย้งด้าน การรู้คิด การค้นหาความรู้เพิ่มเติมและการสื่อสารกันด้วยหลักเหตุผลเมื่อมีการสรุปผลทักษะแห่งความร่วมมือระดับที่สี่ที่ทำให้นักเรียนสามารถเข้าร่วมในการโต้แย้งทางวิชาการได้ประเด็นสำคัญที่สุดบางประการของการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นเมื่อสมาชิกกลุ่มท้าทายการสรุปผลและการให้เหตุผลของกันและกันอย่างคล่องแคล่วการโต้แย้งทางวิชาการทำให้สมาชิกกลุ่ม "เจาะลึก" เนื้อหาความรู้ที่เรียนและดมหลักเหตุผลในข้อสรุปคิดแบบแยกเกี่ยวกับปัญหาหาข้อสนเทศเพิ่มเติมเพื่อสนับสนุนจุดยืนของตน และอธิบายโต้แย้งสร้างสรรค์ เกี่ยวกับทางเลือกของการแก้ปัญหาและการตัดสินใจทักษะที่เกี่ยวข้องกับการโต้แย้งทางวิชาการได้แก่
                 การวิจารณ์ความคิด โดยไม่วิจารณ์คน
                 แบ่งแยกความต่างเมื่อมีความเห็นขัดแย้งขึ้นในกลุ่มการเรียนรู้
                 บูรณาการความคิดหลายความคิดให้เป็นจุดยืนเดียว
                 ขอคำชี้แจงในเรื่องการสรุปผลหรือคำตอบของสมาชิกขยาย ความสรุปหรือคำตอบของสมาชิกอื่นโดยเพิ่มเติมข้อมูลหรือแสดงในที่ นอกเหนือออกไป
                  ตรวจสอบโดยการตั้งคำถามซึ่งนำไปสู่ความเข้าใจที่ลึกลงไปหรือการวิเคราะห์("มันจะได้ผลหรือไม่ในสถานการณ์นี้.." "มีอย่างอื่นอีกหรือไม่ที่ทำให้คุณเชื่อ..?")
                  ให้คำตอบลึกลงไปอีกโดยเจาะลึกลงไปนอกเหนือคำตอบหรือข้อสรุปและให้คำตอบที่มีความเป็นไปได้หลายๆคำตอบให้เลือก
                  ทดสอบความจริงโดยการตรวจสอบงานของกลุ่มในเรื่องวิธีการทำงานเวลาที่มีและปัญหาที่กลุ่มเผชิญ
                 ทักษะความร่วมมือช่วยให้สมาชิกกลุ่มมีแรงจูงใจในการให้คำตอบที่ดีมีคุณภาพสูงนอกเหนือจากคำตอบที่ตอบออกมาอย่างฉับพลัน โดยการกระตุ้นการคิดและความรู้อยากเห็นทางพุทธิปัญญาของสมาชิกกลุ่ม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ชั้นบรรยากาศ

  บรรยากาศ  (atmosphere)  หมายถึง  อากาศในที่ต่าง ๆ ทั้งหมดซึ่งเป็นส่วนที่ห่อหุ้มโลกอยู่โดยรอบ  จะอยู่สูงจากผิวโลกขึ้นไปประมาณ 800-1,000 กิโ...