ชั้นเรียนโดยทั่วไปกำหนดให้มีจำนวนผู้เรียนประมาณห้องละ
30
คน
เพื่อที่ผู้สอนและผู้เรียนจะได้มีปฏิสัมพันธ์อย่างทั่วถึงและกระบวนการจัดการเรียนการสอนเป็นทางการเมื่อสังคมเปลี่ยนแปลงจำนวนผู้เรียนเพิ่มขึ้นเป็นผลในชั้นเรียนขนาดเล็กกลายเป็นชั้นเรียนขนาดใหญ่ผู้สอนในสถาบันอุดมศึกษาที่รับผิดชอบ
2 ชั้นเรียนขนาดใหญ่ได้แบ่งเป็นกลุ่มหรือชั้นเรียนขนาดเล็กโดยมีผู้ช่วยสอนหรือไม่มีผู้ช่วยสอน
ก็ใช้เทคโนโลยีมาใช้ในการสอน ( มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบและเทคนิคการเรียนการสอนที่เกี่ยวข้องกับผู้สอนผู้ช่วยสอน(
ประจำห้องปฏิบัติการห้องเทคโนโลยีที่ทันสมัย)
ซึ่งส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียนในการจัดการเรียนการสอนควรมีการปรับเปลี่ยนเนื่องจากมีข้อจำกัดของทรัพยากรอันเป็นผลจากพัฒนาการทางสังคมโดยปรับวิธีการเรียนการสอนเครื่องมือและสภาพ
กายภาพ
ผู้สอนจะต้องมีความรู้เกี่ยวกับจิตใจของคนการจัดการเรียนรู้เชิงสังคมและการจัด
การเรียนรู้แบบร่วมมือ เป็นต้น
เพิ่มเติม
การใช้ STEM ศึกษาเข้ามาช่วยในการเรียนการสอน
เพิ่มเติม
การใช้ STEM ศึกษาเข้ามาช่วยในการเรียนการสอน
มารู้จักคำว่า
“สะเต็ม” หรือ “STEM” เป็นคำย่อจากภาษาอังกฤษของศาสตร์
4 สาขาวิชา ได้แก่ วิทยาศาสตร์ (Science) เทคโนโลยี (Technology) วิศวกรรมศาสตร์(Engineering)
และคณิตศาสตร์ (Mathematics) หมายถึงองค์ความรู้
วิชาการของศาสตร์ทั้งสี่ที่มีความเชื่อมโยงกันในโลกของความเป็นจริงที่ต้องอาศัยองค์ความรู้ต่างๆ
มาบูรณาการเข้าด้วยกันในการดำเนินชีวิตและการทำงาน คำว่า STEM ถูกใช้
ครั้งแรกโดยสถาบันวิทยาศาสตร์แห่งประเทศสหรัฐอเมริกา
(the
National Science Foundation: NSF) ซึ่งใช้คำนี้เพื่ออ้างถึงโครงการหรือโปรแกรมที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ และคณิตศาสตร์
อย่างไรก็ตามสถาบันวิทยาศาสตร์แห่งประเทศสหรัฐอเมริกาไม่ได้ให้นิยามที่ชัดเจนของคำว่า
STEM มีผลให้มีการใช้และให้ความหมายของคำนี้แตกต่างกันไป (Hanover
Research, 2011, p.5) เช่น มีการใช้คำว่า STEM ในการอ้างอิงถึงกลุ่มอาชีพที่มีความเกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ และคณิตศาสตร์
สะเต็มศึกษา คือ
แนวทางการจัดการศึกษาที่บูรณาการความรู้ใน 4 สหวิทยาการ ได้แก่ วิทยาศาสตร์
วิศวกรรม เทคโนโลยี และคณิตศาสตร์ โดยเน้นการนำความรู้ไปใช้แก้ปัญหาในชีวิตจริง
รวมทั้งการพัฒนากระบวนการหรือผลผลิตใหม่ ที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิต
และการทำงาน ช่วยนักเรียนสร้างความเชื่อมโยงระหว่าง 4 สหวิทยาการ
กับชีวิตจริงและการทำงาน
การจัดการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษาเป็นการจัดการเรียนรู้ที่ไม่เน้นเพียงการท่องจำทฤษฎีหรือกฏทางวิทยาศาสตร์
และคณิตศาสตร์ แต่เป็นการสร้างความเข้าใจทฤษฎีหรือกฏเหล่านั้นผ่านการปฏิบัติให้เห็นจริงควบคู่กับการพัฒนาทักษะการคิด ตั้งคำถาม
แก้ปัญหาและการหาข้อมูลและวิเคราะห์ข้อค้นพบใหม่ๆ
พร้อมทั้งสามารถนำข้อค้นพบนั้นไปใช้หรือบูรณาการกับชีวิตประจำวันได้
การจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็ม
มีลักษณะ 5 ประการได้แก่ (1) เป็นการสอนที่เน้นการบูรณาการ (2) ช่วยนักเรียนสร้างความเชื่อมโยงระหว่างเนื้อหาวิชาทั้ง 4 กับชีวิตประจำวันและการทำอาชีพ (3) เน้นการพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21 (4) ท้าทายความคิดของนักเรียน และ (5) เปิดโอกาสให้นักเรียนได้แสดงความคิดเห็น และความเข้าใจที่สอดคล้องกับเนื้อหาทั้ง 4 วิชา จุดประสงค์ของการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษา คือ ส่งเสริมให้ผู้เรียนรักและเห็นคุณค่าของการเรียนวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ และคณิตศาสตร์ และเห็นว่าวิชาเหล่านั้นเป็นเรื่องใกล้ตัวที่สามารถนำมาใช้ได้ทุกวัน
มีลักษณะ 5 ประการได้แก่ (1) เป็นการสอนที่เน้นการบูรณาการ (2) ช่วยนักเรียนสร้างความเชื่อมโยงระหว่างเนื้อหาวิชาทั้ง 4 กับชีวิตประจำวันและการทำอาชีพ (3) เน้นการพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21 (4) ท้าทายความคิดของนักเรียน และ (5) เปิดโอกาสให้นักเรียนได้แสดงความคิดเห็น และความเข้าใจที่สอดคล้องกับเนื้อหาทั้ง 4 วิชา จุดประสงค์ของการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษา คือ ส่งเสริมให้ผู้เรียนรักและเห็นคุณค่าของการเรียนวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ และคณิตศาสตร์ และเห็นว่าวิชาเหล่านั้นเป็นเรื่องใกล้ตัวที่สามารถนำมาใช้ได้ทุกวัน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น