วันอังคารที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2562

ตรวจสอบและทบทวนบทที่ 4



ตรวจสอบและทบทวน

 ในการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ขั้น การออกแบบการเรียนการสอนที่เป็นสากล ปฏิบัติการเขียนแผนจัดการเรียนรู้ด้วยเขียนแผนการสอนตามรูปแบบ the STUDIES Model ในกลุ่มสาระการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับสาขาวิชาเอกที่เรียน โดยกำหนดสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ และจัดหาหรือผลิตสื่อการเรียนรู้ประกอบบทเรียน


UDL คือ การทบทวนแนวคิดในการออกแบบหลักสูตรโดยใช้ความหลากหลายของเด็กนำหน้า และสนับสนุนการออกแบบหลักสูตรต่าง ๆ ที่มีความยืดหยุ่นและมีความสะดวกมากขึ้นต่อความต้องการที่หลากหลายของเด็ก (Rose & Meyer, 2002) แนวคิด UDL ได้รับแรงบันดาลใจจากการออกแบบที่ใช้ได้ทั่วไป/ที่เป็นสากลทางด้านสถาปัตยกรรม เป็นความพยายามในการออกแบบโครงสร้าง โดยคำนึงถึงผู้มีศักยภาพที่จะใช้ทั้งหมด มาผสมผสานกันเข้า ได้เป็นลักษณะเฉพาะ เช่น ทางลาด และลิฟต์ ขึ้นมาเป็นจุดตั้งต้น (Connell และคณะ, 1997) ลักษณะเฉพาะต่างๆ ที่ช่วยให้เข้าถึงผู้ใช้งานได้นี้ อาจนำมาผสมผสานกันได้อย่างสวยงามและราคาไม่แพงในการทำงานระดับออกแบบ ยิ่งไปกว่านั้น นอกเหนือจากการหาทางเข้าถึงผู้ที่มีความพิการ/บกพร่องแต่ละรายแล้ว ลักษณะเฉพาะเหล่านี้ ยังเอื้อประโยชน์ให้แก่คนส่วนใหญ่ อย่างที่ไม่มีใครคาดคิดมาก่อน จึงทำให้มีการนำไปใช้งานกันอย่างแพร่หลาย (Rose & Meyer, 2002) UDL เอง ก็ใช้กลวิธีเดียวกันนี้กับการจัดทำหลักสูตร โดยการพิจารณาความต้องการของเด็กโดยรวมในชั้นตอนของการออกแบบ และสร้างลักษณะเฉพาะต่างๆ ที่เอื้อต่อการเข้าถึงได้ครบถ้วน นอกจากนี้ UDL ยังขยายแนวความคิดของการออกแบบเพื่อการเรียนรู้ที่ใช้ได้ทั่วไป/ที่เป็นสากล โดยนำลักษณะเฉพาะต่างๆ มาผสมผสานให้เกิดเป็นความสามารถสูงสุด ทั้งในการเข้าถึงข้อมูล และการเข้าถึงโอกาสในการเรียนรู้ (Rose & Meyer, 2002) เทคโนโลยีได้เข้ามามีบทบาทสำคัญใน UDL ความยืดหยุ่นได้ของ UDL ทำให้สามารถค้นหาวิธีการแก้ปัญหาที่ใช้ได้จริงและมีความสง่างามได้


รูปแบบ the STUDIES Model
รูปแบบ The STUDIES Model มี 7 ขั้นตอน ดังรายละเอียดต่อไปนี้

S : กำหนดจุดหมายการเรียนรู้ (Setting learning goals)
1.       อธิบายเกี่ยวกับโครงสร้างส่วนประกอบต่างๆของพืช   
2.       อธิบายการหน้าที่ในการทำงานและลักษณะ ของพืช
3.       ศึกษาด้วยการใช้วิธีการสืบสอบ รูปแบบวงจรการเรียนรู้ 5E  เน้นนักเรียนเป็นศูนย์กลาง
4.       เพื่อให้ผู้เรียนฝึกทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์หลายทักษะ เช่น ทักษะการสังเกตลักษณะภายนอกของพืช การจัดกระทำข้อมูลและสื่อความหมายข้อมูล เป็นต้น 
T : วิเคราะห์ภาระงาน (Task Analysis)
1.      ให้นักเรียนศึกษาเรื่องต่อไปนี้
-          รู้และเข้าใจลักษณะและหน้าที่ของโครงสร้างภายนอกของพืช
-          บอกประเภทของราก ลำต้น ใบ และดอก       
2.      ให้นักเรียนสังเกตจากพืชจริงและพร้อมบันทึกสิ่งที่ได้ใบกิจกรรม
3.      ให้นักเรียนออกมาสรุปความรู้ที่ได้จากการศึกษา  จากนั้นนักเรียนในชั้นอภิปรายร่วมกัน
U : การออกแบบการเรียนการสอนที่เป็นสากล (Universal Design for Instruction)
สภาพในห้องเรียน
-          ห้องเรียนสะอาด สภาพอากาศถ่ายเทสะดวก
-          มีสื่อการสอนที่ดีและทันสมัย
                    การจัดการเรียนรู้ประกอบการเรียน
-ขั้นสร้างความสนใจ
ครูดำเนินการทดสอบก่อนเรียน โดยให้นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียน เพื่อตรวจสอบความพร้อม และพื้นฐานของนักเรียนโดย
1.ครูให้นักเรียนดูต้นไม้ที่ครูนำมา และบอกส่วนต่าง ๆ ของต้นไม้ 
2. ให้นักเรียนสังเกตว่าต้นไม้มีส่วนประกอบอะไรบ้าง  วาดภาพและเขียนบอกส่วนประกอบของพืชให้ได้มากที่สุด
-ขั้นสำรวจและค้นหา
1. นักเรียนไปศึกษานอกห้องเรียน  ให้แต่ละกลุ่มสังเกตต้นไม้เล็ก ๆ กลุ่มละ  1 ต้น
แล้วสังเกตว่าต้นไม้มีส่วนประกอบอะไรบ้าง  วาดภาพและเขียนบอกส่วนประกอบของพืช
2. นักเรียนร่วมกันสรุปส่วนประกอบของพืชแต่ละชนิด ว่าประกอบด้วย  ราก  ลำต้น  ใบ  ดอก  และ ผล
3.ครูอธิบายเพิ่มเติมถึงหน้าที่ของส่วนประกอบของพืชแต่ละส่วน
4.
ครูให้นักเรียนสำรวจดอกไม้ที่ครูเตรียมมาให้ และให้นักเรียนสังเกตส่วนประกอบของพืชและทำการบันทึกผล
          -ขั้นอภิปรายและลงข้อสรุป
1..ให้นักเรียนนำเสนอผลการสังเกตในกิจกรรมหน้าชั้นเรียน
2.ครูและนักเรียนร่วมกันอภิปรายผลจากการปฏิบัติกิจกรรม โดยใช้แนวคำถาม เช่น
-พืชที่ได้สังเกตมีส่วนประกอบอะไรบ้าง
- ส่วนประกอบต่างๆของพืชมีหน้าที่อะไรบ้าง
3.   ครูอธิบายโครงสร้างภายนอกของพืช ให้นักเรียนฟัง จากนั้นให้นักเรียนทำใบงานชิ้นที่ 1 พอเสร็จแล้วให้นักเรียนช่วยกันสำรวจต้นไม้ และพืชโดย จากนั้นให้นักเรียนสังเกตว่าต้นไม้มีโครงสร้างภายนอกอะไรบ้าง  บันทึกผลโดยการวาดภาพและเขียนเส้นชี้ระบุโครงสร้างภายนอกของพืช จากนั้นครูอาจจะลองนำพืชมาแช่ในน้ำเพื่อให้นักเรียนเข้าใจและเห็นภ่าพชัดเจนขึ้น
D : การเรียนรู้จากสื่อดิจิทัล (Digital Learning)
     เปิดวิดิโอให้นักเรียนได้ดู ทำให้นักเรียนเห็นภาพและเพิ่มความเข้าใจ และได้เรียนรู้เนื้อหาใหม่ๆมากขึ้น ส่วนสำคัญของการเรียนรู้สื่อดิจิทัลคือช่วยให้ผู้เรียนเข้าถึงเนื้อหานั้นๆมากขึ้น
I : การบูรณาการความรู้ (Intergrated Khowledge)
จัดกิจกรรมกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ สอดแทรกประสบการณ์  เหตุการณ์ในชีวิตประจำวัน  ได้พัฒนาความคิดรวบยอด  ต่อยอด ประยุกต์ใช้แก้ปัญหาตนเอง โดยหลักการ
-          เปิดโอกาสให้นักเรียนรับรู้ข่าวสารใหม่ๆ ให้ทันต่อโลก
-          นักเรียนได้ฝึกคิดวิเคราะห์ปัญหา
-          เรียนสามารถใช้วิชาวิทยาศาสตร์ไปต่อยอดความรู้ในแต่ละวิชาของนักเรียน
         E : การประเมินเพื่อปรับปรุงการสอน (Evaluation to Improve Teaching) 
                  การประเมินการเรียนรู้ ของตนเอง โดยกําหนดค่าคะแนนจากการวิเคราะห์การประเมินการเรียนรู้ด้านความรู้ (Cognitive Domain) ของบลูม (Bloom's Taxonomy) การประเมินตามสภาพจริงและการประเมินจากแฟ้มสะสมงาน เป็นการ ตรวจสอบการบรรลุจุดหมายการเรียนรู้

S : การประเมินอิงมาตรฐาน (Standard Based Assessment ) 
             การประเมินคุณภาพการเรียนรู้ อิงมาตรฐาน โดยใช้แนวคิดพื้นฐาน โครงสร้างการสังเกตผลการเรียนรู้ (Structure of Observed Learning Outcomes : SOLO Taxonomy) มากําหนดระดับคุณภาพผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เป็นการตรวจสอบคุณภาพ การเรียนรู้ รวมถึงมาตรฐานการประเมินคุณภาพภายในและการประเมินคุณภาพภายนอก




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ชั้นบรรยากาศ

  บรรยากาศ  (atmosphere)  หมายถึง  อากาศในที่ต่าง ๆ ทั้งหมดซึ่งเป็นส่วนที่ห่อหุ้มโลกอยู่โดยรอบ  จะอยู่สูงจากผิวโลกขึ้นไปประมาณ 800-1,000 กิโ...