วันจันทร์ที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2562

แนวการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการ


แนวการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการ
              การพัฒนาผู้เรียนตามความสามารถที่แตกต่างกันจําเป็นต้องพัฒนาความสามารถทุกด้าน ตาม แนวคิดของการ์ดเนอร์ (Gardner อ้างใน วิชัย วงษ์ใหญ่, 2542 : 8 -11) นักจิตวิทยาชาวอเมริกัน ได้นําเสนอ ทฤษฎีพหุปัญญา (multiple intelligence theory) สรุปได้ว่า ผู้เรียนมีความสามารถทั้ง 2 ด้าน คือ ด้านภาษา ด้านตรรกและคณิตศาสตร์ ด้านภาพมิติสัมพันธ์ ด้านร่างกายและการเคลื่อนไหวด้านดนตรี ด้านมนุษยสัมพันธ์ ด้านการเข้าใจตนเอง และด้านความเข้าใจสภาพธรรมชาติ การเสริมสร้างความเก่งหรือศักยภาพความสามารถ ด้านต่าง ๆ ที่มีอยู่ในตัวผู้เรียน ผู้สอนจะต้องเข้าใจผู้เรียน รู้ถึงความถนัดความสามารถในการเรียนรู" หลากหลาย ในการออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อจะกระตุ้นความสามารถด้านต่าง ๆ ที่มีอยู่ในตัวผู้เรียน ความเด่นชัดปรากฏออกมาด้วยความรู้ความเข้าใจ ผู้สอนต้องมีความรู้ความเข้าใจ มีความอดทนในการสง" ประเมินจากผลการเรียนรู้ของผู้เรียน การพัฒนาความสามารถผู้สอนจึงมีหน้าที่ค้นหาความสามารถ
(ด่นและด้อยในเรื่องใดบ้าง เพื่อจัดกิจกรรมสนับสนุนช่วยเหลือความสามารถในแต่ละด้านของ ผู้เรียนให้พัฒนาไปให้เต็มศักยภาพของตน
แนวทางการจัดการเรียนรู้ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 มาตรา 23 ระบุว่า การ ภารศึกษาต้องเน้นความสําคัญทั้งความรู้ คุณธรรม กระบวนการเรียนรู้และบูรณาการ ซึ่งวิชัย วงษ์ใหญ่
นาวา กล่าวว่า การบูรณาการ คือ การผสมผสานที่กลมกลืนกันอย่างมีคุณภาพ ระหว่างองค์ประกอบหรือ งานต่างๆ ทั้งรูปธรรมและนามธรรมที่มีเป้าหมายตรงกัน เพื่อให้ได้มาสิ่งใหม่หรือสภาพใหม่ที่มีคุณค่าและ
มรณ์แบบ โดยมีอัตราส่วนผสมที่มอบหมายภายใต้สภาพแวดล้อมที่เอื้ออํานวยและด้วยวิธีการที่มี ประสิทธิภาพ จะได้ประโยชน์จากการบูรณาการสู่ชีวิตและการเรียนรู้
การบูรณาการการเรียนรู้ คือ การเชื่อมโยงระหว่างสาขาวิชาต่าง ๆ ในหลักสูตร จะช่วยให้ผู้เรียน ตระหนักว่าสิ่งที่ได้เรียนรู้ มีประโยชน์และสามารถประยุกต์ใช้ในชีวิตจริง ลักษณะการเรียนรู้จะจัดเป็น หน่วยการเรียนรู้หรือเป็นหัวเรื่อง
หน่วยบูรณาการ thematic approach จะกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้คือ
- ผู้เรียนเรียนรู้อย่างมีความหมาย
- เกิดองค์ความรู้ ความคิดแบบองค์รวม พัฒนาความสามารถการคิด
 - เห็นความเชื่อมโยง นําไปสู่ความสามารถในการแก้ปัญหาแบบองค์รวม
- เกิดประสบการณ์ นําความรู้ไปใช้ในชีวิตจริง สามารถปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อม
- ผู้เรียนควบคุมการเรียนรู้ของตนเอง
วิชัย วงษ์ใหญ่ (2547 : 4) กล่าวสรุปไว้ว่า ลักษณะการบูรณาการ 4 แบบ คือ
1. การสอดแทรก (infusion) การบูรณาการแบบเชื่อมโยงโดยผู้สอนคนเดียว วิธีการสอดแทรกนี้ ผู้สอนวิชาใดวิชาหนึ่งนําวิชาอื่น ๆ มาบูรณาการกับวิชาที่ตนสอนและสามารถเชื่อมโยงสาระการเรียนรู้ต่าง ๆ ให้เชื่อมโยงกับหัวเรื่อง ชีวิตจริงหรือภาระการเรียนรู้ที่กําหนดขึ้นมา
2. คู่ขนาน (parallel) วิธีการคู่ขนานผู้สอนหลายคนมาจากหลายวิชามาวางแผนร่วมกัน เพื่อรวม องค์ประกอบของหัวเรื่อง (theme) มโนทัศน์ (concept) หรือปัญหา (problem) แล้วผู้สอนแต่ละคน แต่ละ วิชาแยกกันและการกําหนดชิ้นงานขึ้นอยู่กับผู้สอน แต่ต้องสะท้อนถึงหัวเรื่องแนวคิดหรือปัญหาที่กําหนดไว้ ร่วมกัน การบูรณาการแบบคู่ขนานในการสอน ผู้สอนอาจตกลงกันว่าจะยึดเกี่ยวกับหัวข้อเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่ สอดคล้องกับการพัฒนาสังคมและชีวิตที่มีการเชื่อมโยงคู่ขนาน เช่น ผู้สอนวิทยาศาสตร์จะสอนเรื่องเงา ผู้สอนศิลปอาจจะให้ผู้เรียนรู้เทคนิคการวาดรูปที่มีเงา
3. พหุวิทยาการ (multidisciplinary) วิธีการพหุวิทยาการผู้สอนหลายคนมาจากหลายสาขาวิชามา วางแผนร่วมกันที่จะสอนเกี่ยวกับหัวเรื่อง (theme) มโนทัศน์( concept) หรือปัญหา (Problem) และกําหนด ภาพรวมของโครงการร่วมกันให้ออกมาเป็นชิ้นงานแบ่งโครงการออกเป็นโครงการย่อย การบูรณาการในหลายสาขาผู้สอนร่วมมือกันสอนเป็นแบบโครงการ โดยใช้องค์ความรู้จากหลาย ๆ สาขาวิชา ทําให้ สามารถวางแผนสร้างสรรค์โครงการของตนเองขึ้นมาได้ โดยใช้เวลาการเรียนต่อเนื่องได้หลายชั่วโม
4. การข้ามวิชาหรือการสอนเป็นทีม (transdisciplinary) วิธีการข้ามวิชาหรือสอนเป แต่ละรายวิชามาวางแผนร่วมกันในองค์ประกอบของ หัวเรื่อง (therme) มโนทัศน์ (concept) (problem) กําหนดเป็นโครงการขึ้นมาและร่วมกันสอนเป็นคณะ
กรมวิชาการ (กองวิจัยทางการศึกษา กรมวิชาการ, 2545 : 6 - 7) เสนอแนวคิดในการ การสอนแบบบูรณาการไว้ ดังนี้
1. การบูรณาการแบบผู้สอนคนเดียว เป็นการจัดการเรียนการสอนของครูผู้สอนหนึ่งคน มีการ เชื่อมโยงสาระการเรียนรู้ต่าง ๆ กับชีวิตจริง หรือการเชื่อมโยงสาระและกระบวนการเรียนรู้ภายในกลุ่มสาระ ต่าง ๆ เช่น การอ่าน การเขียน คิดคํานวณ การคิดวิเคราะห์ ทําให้ผู้เรียนได้ใช้ทักษะและกระบวนการเรียนรู้ ไปแสวงหาความรู้ความจริงจากหัวข้อเรื่องที่กําหนด
2. การบูรณาการแบบคู่ขนาน เป็นการจัดการเรียนการสอนของครูผู้สอนสองคนขึ้นไป ร่วมกันจัดการเรียนการสอนโดยยึดหัวข้อใดหัวข้อหนึ่ง เช่น ครูคนหนึ่งสอนวิชาวิทยาศาสตร์ ส่วนครูอีกคน หนึ่งสอนวิชาคณิตศาสตร์ ในการสอนเรื่อง “น้ํา” วิชาวิทยาศาสตร์อาจสอนเกี่ยวกับคุณสมบัติของน้ํา สถานะต่างๆ ส่วนวิชาคณิตศาสตร์อาจสอนการวัดปริมาตร หรือน้ําหนักของน้ํา
3. การบูรณาการแบบสหวิทยาการ เป็นการจัดการเรียนการสอนจากการนําเนื้อหาจากหลายกลุ่ม สาระมาเชื่อมโยงและจัดการเรียนการสอนร่วมกันในเรื่องเดียวกัน เช่น ในวันสิ่งแวดล้อม ครูผู้สอนวิชาภาษาไทย จัดการเรียนการสอนให้เรียนรู้คําศัพท์เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม ครูผู้สอนวิชาวิทยาศาสตร์จัดกิจกรรมค้นคว้าหา ความรู้เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม ครูผู้สอนวิชาสังคมศึกษาและวิชาสุขศึกษาให้เรียนรู้โดยทํากิจกรรมชมรม สิ่งแวดล้อมและการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม เป็นต้น
4. การบูรณาการแบบโครงการ เป็นการจัดการเรียนการสอนที่ครูผู้สอนและนักเรียนร่วมกัน สร้างสรรค์โครงการ และใช้เวลาเรียนต่อเนื่องกันได้หลายชั่วโมง โดยการนําจํานวนชั่วโมงของแต่ละรายวิชา ที่แยกกันอยู่ ที่เคยแยกกันสอน มารวมเป็นเรื่องเดียวกัน กําหนดเป้าหมายเดียวกัน ในลักษณะของการสอน เป็นทีม ถ้าต้องการเน้นทักษะเฉพาะก็สามารถแยกกันสอนได้ เช่น กิจกรรมเข้าค่ายภาษาอังกฤษ กิจกรรมค่าย ศิลปะ เป็นต้น
วิชัย วงษ์ใหญ่ (2547 : 5) สรุปภาพรวมของรูปแบบเรียนการสอนแบบการบรณาการ วิธีการ กิจกรรม การประเมินผล และผลการเรียนรู้ ไว้ดังนี้

เพิ่มเติม

การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบบูรณาการ                
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 หมวดที่ 4 มาตรา 23 กำหนดไว้ว่า การจัดการศึกษา ทั้งการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัยต้องเน้นความสำคัญทั้งความรู้ คุณธรรม กระบวนการเรียนรู้ และบูรณาการตามความเหมาะสมในแต่ละระดับการศึกษาและใน มาตรา 24(4) ได้กำหนดไว้ว่า “ การจัดการเรียนการสอนโดยผสมผสานสาระความรู้ด้านต่าง ๆ อย่างได้สัดส่วนสมดุลกัน รวมทั้งปลูกฝังคุณธรรม ค่านิยมที่ดีงามและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ในทุกวิชา”                จอห์น ดิวอี้ ปราชญ์ทางการศึกษาชาวอเมริกา ได้อธิบายถึงความจำเป็นที่โรงเรียนต้องจัดให้มีการสอนแบบ “บูรณาการ” ( Integrate curriculum) หรือการเชื่อมโยงเนื้อหาวิชาการต่าง ๆ เข้าด้วยกัน โดยไม่เน้นการเรียนเป็นรายวิชา ว่า ปัญหาอุปกสรรค รวมทั้งประสบการณ์ต่าง ๆ ในชีวิตของมนุษย์นั้น จะผสมผสานกัน มิได้แยกออกเป็นส่วน ๆ ทั้งนี้ มนุษย์จำเป็นต้องใช้ทักษะหลายประการในการเรียนรู้จากประสบการณ์ รวมทั้งในการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิต ไม่ว่าจะเป็นปัญหาง่าย ๆ หรือซับซ้อนเพียงใดก็ตาม แต่การที่โรงเรียนเน้นการสอนแยกเนื้อหาวิชา จะทำให้การเรียนนั้นไม่สอดคล้องกับชีวิตจริงของนักเรียน เพราะเด็กมองไม่เห็นความเชื่อมโยงของสิ่งที่เรียน กับสิ่งที่เป็นไปในชีวิตจริงนอกโรงเรียน ดังนั้น หลักสูตที่เน้นการสอนแบบบูรณาการจะสอดคล้องกับชีวิตจริงของเด็กมากกว่า โดยจะช่วยให้นักเรียนเข้าใจและมองเห็นความสัมพันธ์เชื่อมโยงของเนื้อหาวิชาต่าง ๆ ทั้งยังกระตุ้นให้เด็กใฝ่เรียนรู้ เนื่องจากเขาสามารถนำเนื้อหาและทักษะที่เรียนไปใช้ในชีวิตจริง นอกจากนี้ การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการยังช่วยลดความซ้ำซ้อนของเนื้อหาวิชา ลดจำนวนเวลาเรียน เป็นการแบ่งเบาภาระของผู้สอน รวมทั้งส่งเสริมผู้เรียนให้มีโอกาสใช้ ความคิด ประสบการณ์ ความสามารถ ตลอดจนทักษะต่าง ๆ อย่างหลากหลาย ก่อให้เกิดการเรียนรู้ทักษะกระบวนการและเนื้อหาสาระไปพร้อมกัน (อ้างถึง ใน www.montfort.ac.th/private-school/combined)                 วารสารวิชาการ (อ้างถึงใน บูรชัย ศิริมหาสาคร,2454) การสอนแบบบูรณาการ (Integrated Instruction) คือ การสอนโดยใช้เรื่องใดเรื่องหนึ่งหรือวิชาใดวิชาหนึ่งเป็นแกนหลักแล้วสอนเชื่อมโยงให้สัมพันธ์กับเรื่องหรือวิชาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างกลมกลืน เพื่อให้เหมาะสมกับการประยุกต์ใช้แก้ปัญหาในชีวิตจริง                 การสอนแบบบูรณาการ หมายถึง การจัดการเรียนรู้โดยการเชื่อมโยงเนื้อหาความรู้ที่เกี่ยวข้องจากศาสตร์ต่างๆ ของรายวิชาเดียวกันหรือรายวิชาต่างๆ มาใช้ในการจัดการเรียนรู้เพื่อให้ผู้เรียนสามารถนำความคิดรวบยอดของศาสตร์ต่างๆ มาใช้ในชีวิตจริงได้                 สำหรับการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ (Integrated Learning Management) หมายถึง กระบวนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามความสนใจ ความสามารถ โดยเชื่อมโยงเนื้อหาสาระของศาสตร์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กันให้ผู้เรียนเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม สามารถนำความรู้ ทักษะและ เจตคติไปสร้างงาน แก้ปัญหาและใช้ในชีวิตประจำวันได้ด้วยตนเอง 


พหุปัญญา 8ประการของ Dr. Howard Gardner
ทฤษฎีพหุปัญญาคิดค้นขึ้นโดย Dr. Howard Gardner ในปี คศ. 1983 เพื่อชี้ชัดถึงมโนทัศน์ของความฉลาด และแจกแจงวิธีวัดความฉลาด ซึ่งมีหลากหลาย (ภาษาไทยเรียกพหุปัญญา) ว่าเป็นวิทยาศาสตร์อย่างแท้จริง
ทฤษฎีของเขาอธิบายโต้แย้งว่าความฉลาด โดยเฉพาะอย่างยิ่งตามที่เคยระบุความหมายไว้แต่เดิมซึ่งเรียก “ไอคิว” (IQ) นั้นไม่เพียงพอที่จะชี้นำไปสู่การแสดงความสามารถของมนุษย์ที่มีมากมายหลากหลาย ในความคิดของเขาเด็กที่ฝึกคูณเลข(คณิตศาสตร์) ได้อย่างคล่องแคล่วไม่จำเป็นว่าจะฉลาดกว่าคนที่คิดเลขไม่ค่อยได้
เด็กคนที่สองอาจมีปัญญาชนิดอื่นที่แกร่งกว่าก็ได้ ดังนั้นการเรียนรู้ที่ดีที่สุดอาจเกิดจากวัตถุดิบที่ให้ผ่านวิธีการที่ต่างกัน เขาอาจจะทำได้ดีในเรื่องที่ไม่ใช่คณิตศาสตร์หรืออาจจะกำลังดูผ่าน กระบวนการเรียนรู้การคูณที่ระดับพื้นฐานที่ลึกซึ้งกว่าซึ่งซ่อนศักยภาพ ที่เหนือชั้นกว่าปัญญาทางคณิตศาสตร์ไว้สูงกว่าคนที่แค่จำหลักคิดได้เท่านั้น
ประเภทของพหุปัญญาตามการจำแนกของ Gardner
1. ปัญญาด้านปฏิสัมพันธ์ต่อผู้อื่น (Interpersonal Intelligence)
ขอบเขตของปัญญาด้านนี้เกี่ยวกับการปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น ในทฤษฎีผู้ที่มีปัญญา ทางการปฏิสัมพันธ์สูงมีแนวโน้มเอาใจใส่ต่อสิ่งภายนอก ลักษณะนิสัยตามการสัมผัสถึงอารมณ์ ความรู้สึก ภาวะจิตใจ แรงจูงใจของผู้อื่น สามารถร่วมไม้ร่วมมือเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของทีมให้ได้สื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพเอาใจใส่ผู้อื่นได้ง่าย เป็นได้ทั้งผู้นำและผู้ตาม ปกติเรียนรู้ได้ดีที่สุดผ่านการทำงานร่วมกับผู้อื่น ชอบการได้อภิปรายถกเถียง
อาชีพที่เหมาะสมได้แก่ พนักงานขาย นักการเมือง ผู้จัดการ ครู นักแสดง นักสังคมสงเคราะห์
ตัวอย่างผู้มีชื่อเสียง เช่น บิล คลินตัน คานธี โอปราห์ วินฟรีย์
2. ปัญญาด้านปฏิสัมพันธ์ต่อตนเอง (Intrapersonal Intelligence)
ขอบเขตของปัญญาด้านนี้จะเกี่ยวกับความสามารถในการใคร่ครวญและวิเคราะห์ตนเอง คนที่มีปัญญาประเภทนี้มักเป็นคนเก็บตัวและชอบทำงานคนเดียว เป็นคนระวังตัวสูง สามารถเข้าใจอารมณ์ เป้าหมาย และแรงจูงใจของตนเองได้ มักมีความเกี่ยวข้องกับการแสวงหาทางความคิด เช่น ปรัชญา จะเรียนรู้ได้ดีที่สุดเมื่อรับอนุญาตให้จดจ่อสิ่งที่ตนสนใจ มีระดับการเป็นผู้พอใจในความเป็นเลิศสูงเนื่องมาจากปัญญาของเขา
อาชีพที่เหมาะคือนักปรัชญา นักจิตวิทยา นักศาสนศาสตร์ นักเขียน เจ้าของกิจการ และนักวิทยาศาสตร์
ตัวอย่างผู้มีชื่อเสียง เช่น ฟรอยด์ บิล เกตส์ และเพลโต
3. ปัญญาค้านตรรกะ-คณิตศาสตร์ (Logical-Mathematical Intelligence)
ขอบเขตของปัญญาด้านนี้เกี่ยวกับตรรกะ นามธรรม การใช้เหตุผลและตัวเลข คนที่มีปัญญาด้านนี้มักจะเก่งคณิตศาสตร์ หมากรุก การโปรแกรมคอมพิวเตอร์ และกิจกรรมอื่นที่เกี่ยวกับตัวเลขและตรรกะ
คำนิยามที่ถูกต้องตั้งอยู่บนการเน้นย้ำบนความสามารถทางคณิตศาสตร์แบบเดิม ความสามารถในการใช้เหตุผล การจดจำรูปแบบนามธรรม การหาความจริงและการคิดอย่างวิทยาศาสตร์ และความสามารถในการคำนวณที่ซับซ้อน สามารถนำมาเทียบเคียงกับมโนทัศน์เรื่องปัญญาแบบเดิมหรือ IQ ได้
อาชีพที่เหมาะคือ นักวิทยาศาสตร์ นักคณิตศาสตร์ วิศวกร หมอ นักเศรษฐศาสตร์
ผู้ที่มีชื่อเสียง เช่น อัลเบอร์ต ไอสไตน์ เออร์วิน ชโรดินเกอร์ จอห์น ดิวอี้
4. ปัญญาด้านการมองเห็น-พื้นที่ (Visual-Spatial Intelligence)
ขอบเขตของปัญญาด้านนี้เกี่ยวกับการตัดสินภาพและพื้นที่ ผู้ที่มีปัญญาด้านนี้จะเป็นคนที่ใช้สายตา และวิเคราะห์วัตถุในมโนภาพได้ดี ผู้ที่มีปัญญาทางพื้นที่มักมีประสิทธิภาพในการแก้ปริศนาได้ดี
พวกเขามีความจำทางสายตาที่ดีและโน้มเอียงไปในทางศิลปิน และมักมีสัมผัสเรื่องทิศทางได้ดีรวมถึงอาจมีเรื่องการประสานงานระหว่างมือและตาที่ดีด้วย ซึ่งจะเหมือนกับลักษณะที่เห็นในกลุ่มปัญญาด้านการเคลื่อนไหว
ดูเหมือนว่ามีความใกล้เคียงกันอย่างสูงระหว่างปัญญาด้านพื้นที่ และปัญญาด้านคณิตศาสตร์ ซึ่งเท่ากับว่าปัญญาทั้งสองชนิดนี้ไม่ได้เป็นอิสระต่อกัน เนื่องจากการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์เกี่ยวข้องกับการจัดการสัญลักษณ์ จำนวน และปัญญาด้านพื้นที่ก็มีลักษณะเดียวกันด้วย
อาชีพที่เหมาะสมคือ ศิลปิน วิศวกร สถาปนิก
ตัวอย่างผู้มีชื่อเสียงเช่น ปิกัสโซ แฟรงค์ ลอยด์ ไร้ท์ และลีโอนาโด ดาวินชี
5. ปัญญาด้านการเคลื่อนไหวทางร่างกาย (Bodily-Kinesthetic Intelligence)
ขอบเขตของปัญญาด้านนี้เกี่ยวกับการเคลื่อนไหวทางร่างกายและจิตวิทยา ตามทฤษฎีผู้ที่มีปัญญาด้านการเคลื่อนไหวของร่างกายจะเรียนรู้ได้ดีขึ้นเมื่อเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อ เช่น การยืนขึ้นและเดินไปรอบๆ และมักจะเก่งในกิจกรรมทางร่างกายเช่น กีฬา หรือเต้นรำ

พวกเขาอาจจะชอบการละครหรือการแสดง โดยทั่วไปมักถนัดการสร้างหรือทำบางสิ่ง มักจะเรียนรู้ได้ดีที่สุดโดยใช้ร่างกาย มากกว่าแค่อ่านหรือฟัง ผู้ที่มีความสามารถเช่นนี้มักจะใช้สิ่งที่เรียกว่า ความทรงจำจากกล้ามเนื้อ คือ พวกเขาจะจำสิ่งต่างๆผ่านร่างกายเช่นการจำถ้อยคำหรือรูป
อาชีพที่เหมาะสมคือ นักกีฬา นักเต้น นักแสดง ศัลยแพทย์ แพทย์ทั่วไป พนักงานก่อสร้าง และทหาร แม้ว่าอาชีพพวกนี้จะเลียนแบบได้ด้วยการมองเห็น แต่ไม่ได้ก่อให้เกิดการเรียนรู้ทางกายที่แท้จริงซึ่งจำเป็นต่อปัญญาด้านนี้
อีกทั้งยังแบ่งย่อยได้อีก เป็นการถนัดใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่ (gross motor skills) และการถนัดใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก (fine motor skills)
ตัวอย่างผู้มีชื่อเสียงเช่น ไมเคิล แจ็คสัน จูเลีย โรเบิร์ตส์ มิชาเอล บาริช นิคอฟ เอลวิส เพรสลีย์ เป็นต้น
6. ปัญญาด้านถ้อยคำ-ภาษา (Linguistic Intelligence)
ขอบเขตของปัญญาด้านนี้เกี่ยวกับเรื่องคำ ทั้งพูดและเขียน ผู้ที่มีปัญญาด้านนี้จะแสดงความสามารถในเรื่องคำและภาษา พวกเขามักจะเก่งการอ่าน การเขียนการเล่าเรื่อง และจดจำคำพร้อมกับวัน เดือน ปี ได้ดี
พวกเขามีแนวโน้มเรียนได้ดีที่สุดผ่านการอ่าน การจดบันทึก ฟังการสอน และผ่านการอภิปรายถกเถียง และมักมีทักษะการอธิบาย การสอน การปราศรัยหรือพูดจูงใจ จะเรียนภาษาต่างประเทศได้อย่างสบายเพราะมีความจำเรื่องคำได้ดี สามารถนึกย้อนหลังได้ และมีความสามารถเข้าใจ และจัดการโครงสร้างประโยคได้
อาชีพที่เหมาะสมคือ นักเขียน ทนาย นักปรัชญา นักหนังสือพิมพ์ นักการเมือง กวี และครู

ผู้มีชื่อเสียงได้แก่ วิลเลียม เชคเสปียร์ เวอร์จิเนีย วูลฟ์ อับราฮัม ลินคอล์น วอลท์ วิทแมน และบารัก โอบามา เป็นต้น
7. ปัญญาด้านเข้าใจธรรมชาติ (Naturalist Intelligence)
ขอบเขตของปัญญาด้านนี้เกี่ยวกับการเข้าใจลึกซึ้งเรื่องธรรมชาติ การดูแล และเชื่อมโยงข้อมูลกับสิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติของผู้นั้น ผู้ที่มีปัญญานี้อาจกล่าวได้ว่ามีความอ่อนไหวต่อธรรมชาติ และสถานที่ที่ตนอยู่ ความสามารถที่จะดูแลบางสิ่ง และเอาใจใส่ ฝึกสัตว์ให้เชื่อง และสัมพันธ์กับสัตว์ได้ดีกว่า ทั้งยังสามารถสังเกตการณ์เปลี่ยนแปลงในอากาศ หรือความแปรปรวนทั่วไปในสิ่งรอบตัวได้ การจดจำและจัดกลุ่มสิ่งของเป็นสิ่งหลักของผู้มีปัญญาเข้าใจธรรมชาติ พวกเขาจะต้องเชื่อมโยงประสบการณ์ใหม่กับความรู้ที่มีมาก่อนหน้านี้เพื่อจะได้เรียนรู้สิ่งใหม่ที่แท้จริง นักธรรมชาติวิทยา เรียนได้ดีที่สุดเมื่อสิ่งนั้นๆเกี่ยวกับการรวบรวม และการวิเคราะห์ หรือเกี่ยวพันกับบางสิ่งที่สะดุดตาอย่างยิ่งในธรรมชาติ ผู้เรียนแนวธรรมชาติจะสนใจเรียนมากขึ้นเมื่ออยู่นอกสถานที่หรือด้วยการเคลื่อนไหว
อาชีพที่เหมาะสมคือ นักวิทยาศาสตร์ นักธรรมชาติวิทยา นักอนุรักษ์ เกษตรกร
ผู้มีชื่อเสียงเช่น ชาลส์ ดาร์วิน และ อี โอวิลสัน
8. ปัญญาด้านดนตรี (Musical Intelligence)
ขอบเขตของปัญญาด้านนี้เกี่ยวกับจังหวะ ดนตรี และการได้ยิน ผู้ที่มีปัญญาทางดนตรีและจังหวะสูง จะแสดงความสามารถในการสัมผัสทางเสียง จังหวะ ระดับเสียง และดนตรีได้ดีกว่าพวกเขามักมีช่วงเสียงที่ดี หรือแม้แต่ช่วงเสียงที่สมบูรณ์ สามารถร้องเพลง เล่นดนตรี และแต่งเพลงได้ เนื่องจากมีองค์ประกอบทางเสียงมาประกอบกับปัญญาด้านนี้ ผู้ที่มีปัญญานี้อาจจะเรียนได้ดีที่สุดผ่านการฟัง นอกจากนี้ยังใช้เพลงหรือจังหวะเพื่อเรียนและจดจำข้อมูลเสมอๆ และอาจทำงานได้ดีที่สุดด้วยการมีดนตรีเป็นพื้นภูมิ
อาชีพที่เหมาะสม คือ นักดนตรี นักร้อง วาทยกร ดีเจ นักสุนทรพจน์ นักแต่งเพลง นักเขียน (เป็นส่วนน้อย) หรือ ผู้แทนจำหน่าย
ตัวอย่างผู้มีชื่อเสียง เช่น โมสาร์ท จูลี่ แอนดรูว์ แอนเดรีย บอชเชลลี่ ลีโอนาร์ด เบิร์นสไตน์
เมื่อ Dr. Howard Gardner ถูกถามในการสัมภาษณ์ว่าเขาคิดทฤษฎีพหุปัญญาได้อย่างไร เขาตอบว่า “สิ่งสำคัญที่สุดนั้นมาจากการศึกษาสมองที่เสียหายและสิ่งที่เกิดขึ้นเมื่อผู้คนเป็นโรคเส้นโลหิตในสมองแตก บางส่วนของสมองเสียหาย และการบาดเจ็บนั้นสามารถบอกได้ว่าสมองส่วนใดทำหน้าที่อะไร บางคนเสียความสามารถของกล้ามเนื้อแต่ยังพูดได้ บางคนเสียความสามารถทางภาษาแต่ยังร้องเพลงได้ ความเข้าใจนี้ไม่เพียงแต่นำผมมายังการศึกษาเรื่องสมองเท่านั้น ยังเป็นเมล็ดพันธุ์ที่นำไปสู่เรื่องพหุปัญญาในที่สุด ตราบเท่าที่คุณเสียความสามารถไปอย่างหนึ่ง แต่อย่างอื่นยังคงอยู่ คุณไม่สามารถมีเพียงปัญญาเพียงด้านเดียว แต่เราต้องมีพหุปัญญา”




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ชั้นบรรยากาศ

  บรรยากาศ  (atmosphere)  หมายถึง  อากาศในที่ต่าง ๆ ทั้งหมดซึ่งเป็นส่วนที่ห่อหุ้มโลกอยู่โดยรอบ  จะอยู่สูงจากผิวโลกขึ้นไปประมาณ 800-1,000 กิโ...