การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสําคัญ
เทคนิคการจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนสร้างความรู้ด้วยตัวเอง
การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสําคัญ
หมายถึง การจัดการเรียนการสอนให้ผู้เรียนมี บทบาทสําคัญในการเป็นผู้เรียนรู้
โดยพยายามจัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้สร้างความรู้ ได้มีปฏิสัมพันธ์กับบุคคล สื้อ
และสิ่งแวดล้อมต่างๆ โดยใช้กระบวนการต่างๆ
เป็นเครื่องมือในการเรียนรู้และผู้เรียนมีโอกาสนําความรู้ ไปประยุกต์ใช้ในสถานการณ์อื่น
คําถามคือ ผู้สอนจะมีวิธีการหรือเทคนิคที่จะทําให้เกิดเหตุการณ์นั้นๆ ได้ อย่างไร
ผู้สอนทั่วไปยังเข้าใจคลาดเคลื่อนเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสําคัญ
โดยเข้าใจ ว่า การให้ผู้เรียนค้นพบความรู้ด้วยตนเองคือ การปล่อยให้ผู้เรียน
เรียนรู้กันเองโดยที่ผู้สอนไม่ต้องมีบทบาท อะไร
หรือใช้วิธีสั่งให้ผู้เรียนไปที่ห้องสมุด
อ่านหนังสือกันเองแล้วเขียนรายงานมาส่งซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง
แม้ว่าการให้การเรียนรู้เกิดขึ้นที่ตัวผู้เรียน เป็นลักษณะที่ถูกต้องของ
การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็น สําคัญ
แต่การที่ผู้เรียนจะเกิดการเรียนรู้ขึ้นมาได้เองนั้นเป็นเรื่องยาก
ผู้สอนจึงต้องมีหน้าที่เตรียมจัด สถานการณ์และกิจกรรมต่างๆ นําทางไปสู่
การเรียนรู้ โดยไม่ใช้วิธีบอกความรู้โดยตรง หรือถ้าจะจัด
สถานการณ์ให้ผู้เรียนได้ค้นพบความรู้โดยใช้ห้องสมุดเป็นแหล่งข้อมูล
ผู้สอนจะต้องสํารวจให้รู้ก่อนว่า ภายในห้องสมุดมีข้อมูลอะไรอยู่บ้าง อยู่ที่ใด
จะค้นหาอย่างไร แล้วจึงวางแผนสั่งการ ผู้เรียนต้องรู้เป้าหมาย
ของการค้นหาจากคําสั่งที่ผู้สอนให้รวมถึงการแนะแนวทางที่จะทํางานให้สําเร็จ
และในขณะที่ผู้เรียนลงมือ ปฏิบัติ ผู้สอนควรสังเกตการณ์อยู่ด้วย
เพื่ออํานวยความสะดวก นําข้อมูลนั้นมาปรับปรุง การจัดการเรียนการ สอนในครั้งต่อไป
เทคนิคการจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนทํางานร่วมกับผู้อื่น
ความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสําคัญของผู้สอนคือ
ประการหนึ่ง คือ
ผู้สอนเข้าใจว่าการจัดการเรียนการสอนแบบนี้ต้องจัดโต๊ะเก้าอี้ให้ผู้เรียนได้นั่งรวมกลุ่มกับ
โดยไม่เข้าใจว่าการนั่งรวมกลุ่มนั้นทําเพื่ออะไร ความเข้าใจที่ถูกต้องคือ
เมื่อผู้เรียนจะต้องทํางานร่วมกัน จึง จัดเก้าอี้ให้นั่งรวมกันเป็นกลุ่ม ไม่ใช่นั่งรวมกลุ่มกันแต่ต่างคนต่างทํางานของตัวเอง
การจัดให้ผู้เรียนทํางาน ร่วมกัน
ผู้สอนจะต้องกํากับดูแลให้สมาชิกในกลุ่มทุกคนมีบทบาทในการทํางาน
ซึ่งรูปแบบการจัดการเรียน
การสอนประเภทหนึ่งที่ผู้สอนควรศึกษาเป็นแนวทางนําไปใช้เป็นเทคนิคในการจัดกิจกรรม
คือ รูปแบบการ จัดการเรียนการสอนโดยให้ผู้เรียนเรียนรู้ร่วมกัน (Cooperative
Learning)
วิทยากร
เชียงกูล (2549)
ได้กล่าวถึงลักษณะการจัดการเรียนการสอนโดยให้ผู้เรียนเรียนรู้ร่วมกัน
เป็นการจัดการเรียนการสอนที่แบ่งผู้เรียนออกเป็นกลุ่มย่อยๆ กลุ่มละ 4-5 คน โดยสมาชิกในกลุ่มมีระดับ
ความสามารถแตกต่างกัน
สมาชิกทุกคนมีบทบาทหน้าที่ร่วมกันในการปฏิบัติงานที่ได้รับมอบหมาย มี
เป้าหมายและมีโอกาสได้รับรางวัลของความสําเร็จร่วมกัน
วิธีการแบบนี้ผู้เรียนจะมีโอกาสสร้างปฏิสัมพันธ์ ร่วมกันในเชิงบวก
มาปฏิสัมพันธ์แบบเผชิญหน้ากัน ได้มีโอกาสรับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมายจากกลุ่ม
จะพัฒนาทักษะทางสังคมและได้ใช้กระบวนการกลุ่มในการทํางานเพื่อสร้างความรู้ให้กับตนเอง
เทคนิคการจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนนําความรู้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจําวัน
ตามความหมายของการเรียนรู้ที่แท้จริง
คือ ผู้เรียนต้องมีโอกาสนําความรู้ที่เรียนรู้มาไปใช้ในการ ..ชีวิต
สิ่งที่เรียนรู้กับชีวิตจริงจึงต้องเป็นเรื่องเดียวกัน
ผู้สอนสามารถจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียน
ประยุกต์ใช้ความรู้ได้โดยสร้างสถานการณ์ให้ผู้เรียนต้องแก้ปัญหาและนําความรู้ที่เรียนมาประยุกต์ใช้
หรือ จะเรียนแสดงความรู้นั้นออกมาในลักษณะต่างๆ เช่น
ให้วาดภาพแสดงรายละเอียดที่เรียนรู้จากการอ่านบท ประพันธ์ในวิชาวรรณคดี
เมื่อผู้สอนได้สอนให้เข้าใจโดยการตีความและแปลความแล้ว หรือในวิชาที่มี
อหาของการปฏิบัติ
เมื่อผ่านกิจกรรม การเรียนรู้แล้วผู้สอนควรให้ผู้เรียนได้ฝึกให้ทํางาน ปฏิบัติซ้ําอีกครั้ง
เพื่อให้เกิดความชํานาญ
ในการจัดกิจกรรมส่งเสริมให้ผู้เรียนนําความรู้ไปประยุกต์ใช้นี้
ผู้สอนควรจัดกิจกรรมให้ผู้เรียน เสดงความสามารถในลักษณะต่างๆ
และเปิดโอกาสให้มีความหลากหลาย เพื่อตอบสนองความสามารถ
เฉพาะที่ผู้เรียนแต่ละคนมีแตกต่างกัน นอกจากการใช้เทคนิคการออกคําสั่งให้ผู้เรียนแสดงการทํางานใน
ลักษณะต่างๆ แล้ว
ผู้สอนอาจใช้วิธีการสอนบางวิธีที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้แสดงความรู้ในสถานการณ์อื่นๆ
ได้เช่นกัน
ตัวอย่าง
วิธีสอนการสอนโดยใช้โครงงานเป็นฐาน ผู้สอนเป็นผู้กํากับควบคุมให้ผู้เรียนทุกคนได้
ร่วมกันวางแผน คําเนินการตามแผน และร่วมกันสรุปผลงาน
ผู้เรียนแต่ละคนจะได้เลือกและแสดง ความสามารถที่ตนเองถนัด
เพื่อให้งานบรรลุเป้าหมาย จึงสามารถกล่าวขยายความได้ว่า การเรียนรู้โดยใช้ โครงงาน
ซึ่งสามารถทําอย่างต่อเนื่องกันได้ โดยมีประเด็นดังนี้
1. ผู้เรียนได้เรียนรู้เรื่องใดเรื่องหนึ่งที่ตนเองสนใจ
2. ผู้เรียนได้เรียนรู้หรือหาคําตอบด้วยตนเองโดยการคิดและปฏิบัติจริง
3. วิธีการหาคําตอบมีความหลากหลายจากแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย
4.
นําข้อมูลหรือข้อความรู้จากการศึกษามาสรุปเป็นคําตอบหรือข้อค้นพบของตนเอง
5. มีระยะเวลาในการศึกษาหรือแสวงหาคําตอบพอสมควร
6. คําตอบหรือข้อค้นพบเชื่อมโยงต่อการพัฒนาความรู้ต่อไป
7. ผู้เรียนมีโอกาสเลือกวางแผน
และจัดการนําเสนอคําตอบของปัญหาหรือผลของการค้นพบ
ด้วยวิธีการที่หลากหลายและสอดคล้องกับความถนัดและความสนใจของตนเอง
เพิ่มเติม
การเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
แต่เดิมแนวคิดในการจัดการเรียนการสอนเป็นการยึดผู้สอนเป็นศูนย์กลาง
(Techer-centered) โดยผู้สอนเป็นผู้กำหนดเนื้อหาและวิธีการเรียนการสอนเอง
ซึ่งส่วนใหญ่ก็เป็นเพียงการบรรยายหน้าชั้นเรียนเท่านั้น
ต่อมานักการศึกษาเชื่อว่าแนวคิดดังกล่าวไม่ได้เอื้อต่อเกิดการพัฒนาผู้เรียนอย่างแท้จริง
เพราะไม่ใช่วิธีการที่ตอบสนองต่อความต้องการหรือลักษณะของผู้เรียน
การศึกษาควรให้ความสำคัญกับ “การเรียน” มากกว่า “การสอน”
แนวคิดของการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
(Learner-centered, Student-centred หรือ Child-centered) จึงเป็นการปฏิรูปการศึกษาที่เปลี่ยนมายึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
โดยมีหลักการว่า
กระบวนการจัดการเรียนการสอนต้องเน้นให้ผู้เรียนสามารถแสวงหาความรู้
และพัฒนาความรู้ได้ตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพของตนเอง
รวมทั้งสนับสนุนให้มีการฝึกและปฏิบัติในสภาพจริงของการทำงาน
มีการเชื่อมโยงสิ่งที่เรียนกับสังคมและการประยุกต์ใช้
มีการจัดกิจกรรมและกระบวนการให้ผู้เรียนได้คิดวิเคราะห์ สังเคราะห์
ประเมินและสร้างสรรค์สิ่งต่างๆ โดยไม่เน้นไปที่การท่องจำเพียงเนื้อหา
สรุปลักษณะของการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
Active Learning
เป็นกิจกรรมที่ผู้เรียนเป็นผู้กระทำหรือปฏิบัติด้วยตนเองด้วยความกระตือรือร้น
เช่น ได้คิด ค้นคว้า ทดลองรายงาน ทำโครงการ สัมภาษณ์ แก้ปัญหา ฯลฯ
ได้ใช้ประสาทสัมผัสต่างๆ ทำให้เกิดการเรียนรู้ด้วยตนเองอย่างแท้จริง
ผู้สอนทำหน้าที่เตรียมการจัดบรรยากาศการเรียนรู้
จัดสื่อสิ่งเร้าเสริมแรงให้คำปรึกษาและสรุปสาระการเรียนรู้ร่วมกัน
Construct เป็นกิจกรรมที่ผู้เรียนได้ค้นพบสาระสำคัญหรือองค์การความรู้ใหม่ด้วยตนเอง
อันเกิดจากการได้ศึกษาค้นคว้าทดลอง แลกเปลี่ยนเรียนรู้และลงมือปฏิบัติจริง
ซึ่งจะทำให้ผู้เรียนสามารถนำสิ่งที่เรียนรู้ไปใช้ได้จริงในชีวิตประจำวัน
รวมทั้งทำให้ผู้เรียนรักการอ่าน รักการศึกษาค้นคว้าเกิดทักษะในการแสวงหาความรู้
เห็นความสำคัญของการเรียนรู้ ซึ่งนำไปสู่การเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ (Learning Man) ที่พึงประสงค์
Resource เป็นกิจกรรมที่ผู้เรียนได้เรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้ต่างๆ
ที่หลากหลายทั้งบุคคลและเครื่องมือทั้งในห้องเรียนและนอกห้องเรียน
ผู้เรียนได้สัมผัสและสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมทั้งที่เป็นมนุษย์ (เช่น ชุมชน
ครอบครัว องค์กรต่างๆ) ธรรมชาติและเทคโนโลยี ตามหลักการที่ว่า “การเรียนรู้เกิดขึ้นได้ทุกที่ทุกเวลาและทุกสถานการณ์)”
Thinking เป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมกระบวนการคิด
ผู้เรียนได้ฝึกวิธีคิดในหลายลักษณะ เช่น คิดคล่อง คิดหลากหลาย คิดละเอียด
คิดชัดเจน คิดถูก ทางคิดกว้าง คิดลึกซึ้ง คิดไกล คิดอย่างมีเหตุผล เป็นต้น
การฝึกให้ผู้เรียนได้คิดอยู่เสมอในลักษณะต่างๆ จะทำให้ผู้เรียนเป็นคนคิดเป็น
แก้ปัญหาเป็น คิดอย่างรอบคอบมีเหตุผล มีวิจารณญาณ ในการคิด มีความคิดสร้างสรรค์
มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ที่จะเลือกรับและปฏิเสธข้อมูล ข่าวสารต่างๆ
ได้อย่างเหมาะสม ตลอดจนสามารถแสดงความคิดเห็นออกได้อย่างชัดเจนและมี เหตุผลอันเป็นประโยชน์ต่อการดำรงชีวิตประจำวัน
Happiness เป็นกิจกรรมที่ผู้เรียนเรียนอย่างมีความสุข
ซึ่งเป็นความสุขที่เกิดจาก 1) ผู้เรียนได้เรียนในสิ่งที่ตนชอบหรือสนใจ
ทำให้เกิดแรงจูงใจในการใฝ่รู้ ท้าทาย อยากค้นคว้า
อยากแสดงความสามารถและให้ใช้ศักยภาพของตนอย่างเต็มที่ 2) การมีปฏิสัมพันธ์ (Interaction) ระหว่างผู้เรียนกับผู้สอนและระหว่างผู้เรียนกับผู้เรียน
มีลักษณะเป็นกัลยาณมิตร มีการช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกัน
มีกิจกรรมร่วมด้วยช่วยกัน ทำให้ผู้เรียนรู้สึกมีความสุขและสนุกกับการเรียน
Participation เป็นกิจกรรมที่เน้นการให้ผู้เรียนมีส่วนร่วม
ตั้งแต่การวางแผนกำหนดงาน วางเป้าหมายร่วมกัน
และมีโอกาสเลือกทำงานหรือศึกษาค้นคว้าในเรื่องที่ตรงกับความถนัดความสามารถ
ความสนใจ ของตนเอง ทำให้ผู้เรียนเรียนด้วยความกระตือรือร้น
มองเห็นคุณค่าของสิ่งที่เรียนและสามารถ ประยุกต์ความรู้นำไปใช้ประโยชน์ในชีวิตจริง
Individualization
เป็นกิจกรรมที่ผู้สอนให้ความสำคัญแก่ผู้เรียนในความเป็นเอกัตบุคคล
ผู้สอนต้องยอมรับในความสามารถ ความคิดเห็น ความแตกต่างระหว่างบุคคลของผู้เรียน
มุ่งให้ผู้เรียนได้พัฒนาตนเองให้เต็มศักยภาพมากกว่าเปรียบเทียบแข่งขันระหว่างกันโดยมีความเชื่อมั่นผู้เรียนทุกคนมีความสามารถในการเรียนรู้ได้
และมีวิธีการเรียนรู้ที่แตกต่างกัน
Good Habit เป็นกิจกรรมที่ผู้เรียนได้พัฒนาคุณลักษณะนิสัยที่ดีงาม
เช่น ความรับผิดชอบ ความเมตตา กรุณา ความมีน้ำใจ ความขยัน ความมีระเบียบวินัย
ความเสียสละ ฯลฯ และ
ลักษณะนิสัยในการทำงานอย่างเป็นกระบวนการการทำงานร่วมกับผู้อื่น การยอมรับผู้อื่น
และ การเห็นคุณค่าของงาน เป็นต้น
Self Evaluation
เป็นกิจกรรมที่เน้นการประเมินตนเอง
เดิมผู้สอนเป็นผู้ประเมินฝ่ายเดียว
แต่การเปิดโอกาสให้ผู้เรียนประเมินตนเองอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง
จะช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจตนเองได้ชัดเจนขึ้น
รุ้จุดเด่นจุดด้อยและพร้อมที่จะปรับปรุงหรือพัฒนาตนเองให้เหมาะสมยิ่งขึ้น
การประเมินในส่วนนี้เป็นการประเมินตามสภาพจริงและอาจใช้แฟ้มสะสมผลงานช่วย
บทบาทของครูผู้สอน
บทบาทของครูผู้สอนในการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญจะไม่เป็นผู้ชี้นำหรือผู้ออกคำสั่งแต่จะเปลี่ยนเป็นผู้กระตุ้น
ผู้อำนวยความสะดวกและให้คำแนะนำช่วยเหลือเมื่อจำเป็น ติดตามตรวจสอบ
รวมทั้งให้การสนับสนุนด้านอุปกรณ์การเรียนรู้ เช่น แหล่งข้อมูล เทคโนโลยี
คอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ที่เป็นสื่อการเรียนรู้รูปแบบต่างๆ เว็บไซด์ อีเมล์ ฯลฯ
ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบลักษณะการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนของครูสมัยใหม่กับครูสมัยเก่าก็จะเห็นความแตกต่าง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น