วันจันทร์ที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2562

การประเมินผลการเรียนรู้ตามหลักสูตร


การประเมินผลการเรียนรู้ตามหลักสูตร
นิยาม “การประเมินผลการเรียนรู้ตามหลักสูตร
การประเมินผลการเรียนรู้ตามหลักสูตร (Curriculum Based Assessment; CBA) คือ การให้ผู้เรียน ตามกิจกรรมที่ออกแบบให้สอดคล้องกับหลักสูตรที่ใช้ จากนั้นนำผลการทดสอบไปใช้ปรับปรุงการ 4การสอนให้ตอบสนองความต้องการจำเป็นของนักเรียน ผู้สอนนำผลการประเมินตามหลักสูตรมาใช้เพื่อ ปรับเปลี่ยนการสอนของตนเอง เพื่อช่วยผู้เรียนให้พร้อมที่จะเรียนเรื่องต่อไป หรือกรณีที่ผู้เรียนที่มีความ พร้อมและต้องการก้าวหน้ายิ่งขึ้น นักการศึกษาใช้การประเมินตามหลักสูตรเพื่อช่วยให้อัตราการพัฒนาการ เรียนการสอนสูงขึ้นได้ รวมถึงการปรับปรุงสื่อการเรียนการสอน ด้วยการสังเกตและบันทึกการปฏิบัติของ นักเรียนตามที่กำหนดไว้ในหลักสูตรสถานศึกษา ข้อมูลต่าง ๆ ที่เก็บรวบรวมได้จะช่วยในการตัดสินใจ เกี่ยวกับการเรียนการสอน (Deno, 1987, p. 41). ในการประเมินผลการเรียนรู้ตามหลักสูตรนั้นการตัดสินใจ เกี่ยวกับการสอนขึ้นอยู่กับข้อมูลย้อนกลับที่ได้จากการประเมินความสามารถของผู้เรียนที่ระบุไว้ในหลักสูตร เป้าหมายแรกคือ แนวทางในกระบวนการตัดสินใจเกี่ยวกับการเรียนการสอน (Blankenship, 1985; Graden, Zins, & Curtis, 1988; Marston & Magnusson, 1985) ทั้งนี้เพื่อให้การเรียนการสอนตรงกับความต้องการของ ผู้เรียน อันเป็นการเพิ่มโอกาสที่ประสบความสำเร็จในการเรียนรู้
การประเมินผลการเรียนรู้ตามหลักสูตรมีจุดเด่นที่บอกถึงภาระงานใดที่ช่วยให้ผู้เรียนได้พัฒนา ความสามารถตามที่หลักสูตรกำหนด การเลือกภาระงาน และกระบวนการใช้คะแนนมาตรฐาน และการ บริหาร ใช้การประเมินผลการเรียนรู้ตามหลักสูตรอย่างไรนั้นก็แล้วแต่สถานการณ์ อาจใช้ข้อมูลที่ได้จากการ ประเมินผลการเรียนรู้ตามหลักสูตร ให้โปรไฟล์ของผู้เรียนได้ทั้งในระดับรายบุคคล ระดับชั้นเรียน ระดับ สถานศึกษาและเขตพื้นที่การศึกษา นอกจากนี้ข้อมูลจากการประเมินตามหลักสูตรสามารถใช้เป็นกลุ่ม เปรียบเทียบ (norm-referenced manner) ที่ใช้เปรียบเทียบคะแนนของผู้เรียนรายบุคคลมา (Shinn, 1988) หรือ ใช้เป็นเกณฑ์เปรียบเทียบ (criterion-referenced manner) ความสามารถของผู้เรียน อันเป็นผลมาจากการเรียน การสอนที่สัมพันธ์สอดคล้องกับ ความต้องการของผู้เรียน (Shinn & Good, 1992),
การประเมินผลการเรียนรู้ในระดับอุดมศึกษากรอบที่ใช้ในการอ้างอิงทฤษฎี ผลการศึกษาวิจัยของเควิด นิโคล (David Nicol University of Strathclyde สรุปเป็นหลักการป การให้ข้อมูลย้อนกลับที่ดี 10 ข้อ ดังนี้
1. ให้ความชัดเจนว่าการปฏิบัติงานที่ดีเป็นอย่างไร (เป้าหมาย เกณฑ์การวัด เกณฑ์มา ขอบเขตของสิ่งที่ผู้เรียนต้องทําในหลักสูตรมีความสัมพันธ์กับเป้าหมายของเก ระหว่าง และหลังการประเมินผลแค่ไหน
2. ให้ “เวลาและความพยายาม” กับการเรียนรู้สิ่งที่ท้าทาย ขอบเขตของงานที่มอบหมา กระตุ้นการเรียนรู้ทั้งในและนอกชั้นเรียน อย่างลึกซึ้งแค่ไหน
3. ให้ข้อมูลย้อนกลับคุณภาพสูงที่จะช่วยให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ตรวจสอบความถูก ตนเอง ผู้สอนให้ข้อมูลย้อนกลับหรือไม่ อย่างไร และความคิดเห็นดังกล่าวมีส่วนช่วยให้ผู้เรียนสามา และปรับปรุงด้วยตนเองได้อย่างไร
4. สร้างความเชื่อที่เป็นแรงบันดาลใจและความเคารพตนเองในทางบวก ขอบเขต ประเมินและการให้ข้อมูลย้อนกลับสามารถสร้างแรงจูงใจในการเรียนและความสําเร็จแก่ผู้เรียนได้แค่ไหน
5. สนับสนุนให้มีการปฏิสัมพันธ์และการพูดคุยในเรื่องการเรียนการสอน (เพื่อน และคะ นักเรียน) มีโอกาสใดบ้างสําหรับการพูดคุยแลกเปลี่ยนเรื่องงานที่มอบหมายเพื่อการประเมินผลในรายวิชาที่
สอน
6. อํานวยความสะดวกในการพัฒนาการประเมินตนเองและการสะท้อนความคิดทางด้านการ เรียน ขอบเขตของโอกาสอย่างเป็นทางการสําหรับการให้ข้อมูลย้อนกลับ การประเมินตนเอง การประเมิน โดยเพื่อนในวิชาที่เรียนมีแค่ไหน
7. ให้โอกาสผู้เรียนเลือกการประเมินผล - เนื้อหาและกระบวนการ ขอบเขตของผู้เรียนสําหรับ การเลือก หัวข้อ วิธีการ เกณฑ์การวัดผล ค่าน้ําหนักคะแนน กําหนดเวลา และงานที่มอบหมายเพื่อการ ประเมินผล (งานที่ใช้ประเมินผลการประเมินผลงาน)ในรายวิชาที่สอน มีมากน้อยเพียงใด)
8. ให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการตัดสินใจเกี่ยวกับนโยบายการประเมินผลและการปฏิบัติขอบเขต ของข้อมูลที่ผู้เรียนได้รับหรือมีการส่วนร่วมให้คําปรึกษาเพื่อการตัดสินใจเรื่องการประเมินผลมีหรือไม่ อย่างไร
9. สนับสนุนการพัฒนาชุมชนแห่งการเรียนรู้ ขอบเขตของการประเมินผลและการให้ข้อมูล ย้อนกลับช่วยสนับสนุนการพัฒนาชุมชนแห่งการเรียนรู้มีมากน้อยเพียงใด
10. ช่วยครูผู้สอนในการปรับการเรียนการสอนเพื่อตอบสนองความต้องการของนักเรียน
ดังนั้นการประเมินผลจะมีหลักการ กระบวนการประเมินการเรียนรู้  ดังต่อไปนี้
1.การประเมินผลต้องยึดตามจุดประสงค์การสอนชัดเจน
2. ขั้นตอนและเทคนิคในการประเมินผลควรเลือกตามจุดประสงค์ในการประเมิน
3. การประเมินผลควรเป็นที่เข้าใจได้ตรงกัน
4. การประเมินผลควรทำอย่างต่อเนื่อง
การประเมินผลควรระบุจุดอ่อนจุดแข็งและใช้งานได้
6. การประเมินผลควรเป็นความพยายามร่วมกัน
7. การประเมินผลควรจะมีความละเอียดรอบคอบ

เพิ่มเติม
การวัด/ประเมินการเรียนรู้และการจบหลักสูตร
          เกณฑ์การตัดสินผลการเรียนผ่านช่วงชั้น  ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน  พุทธศักราช  2551   มีจุดมุ่งหมายเพื่อนำผลการประเมินไปใช้พัฒนาคุณภาพผู้เรียนให้บรรลุมาตรฐานการเรียนรู้ของกลุ่มสาระการเรียนรู้และกิจกรรมต่าง ๆ ตามที่กำหนดไว้เพื่อใช้เป็นข้อมูลสำหรับการตัดสินความสำเร็จในการเรียน  การผ่านช่วงชั้น  และการจบหลักสูตรการศึกษาระดับต่าง ๆ ผู้เรียนทุกคนต้องได้รับการตัดสินให้  “ผ่าน”  เกณฑ์มาตรฐานทั้ง  4  เกณฑ์  ดังนี้
เกณฑ์ที่  1  กลุ่มสาระการเรียนรู้และสาระการเรียนรู้เพิ่มเติม
          1.1  ผู้เรียนทุกคนต้องเรียนสาระการเรียนรู้วิชาพระพุทธศาสนาและเรียนเรื่องราวของทุกศาสนา  เพื่อการเข้าใจวิถีชีวิตไทย  การเข้าใจซึ่งกันและกัน  และการอยู่ร่วมกันอย่างสงบและสันติ
          1.2  ผู้เรียนต้องเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้  8  กลุ่มสาระ  สาระการเรียนรู้เพิ่มเติม  และเลือกแผนการเรียนที่สถานศึกษาจัดขึ้น
          1.3  สถานศึกษาสามารถกำหนดระบบรายงานผลการเรียนเป็นระบบใด ๆ แต่ต้องเป็นแนวเดียวกันทั้งสถานศึกษา  เช่น
                   -  แบบคะแนนร้อยละ  ผู้เรียนต้องได้คะแนนไม่น้อยกว่าร้อยกว่า  50
                   -  แบบระดับผลการเรียน  8  ระดับ  เช่น  4 – 3.5 – 3 – 2.5  – 2 – 1.5 – 1 – 0   ผู้เรียนต้องได้ระดับผลการเรียนไม่น้อยกว่า  “1” จึงต้องผ่านเกณฑ์การประเมินขั้นต่ำ
                   -  การเปลี่ยนคะแนนที่ได้ให้เป็นระดับผลการเรียน  โดยใช้เกณฑ์  ดังนี้
                   4        หมายถึง ผลการเรียนดีเยี่ยม        ช่วงคะแนนเป็นร้อยละ  80 – 100

                   3.5      หมายถึง ผลการเรียนดีมาก         ช่วงคะแนนเป็นร้อยละ  75 – 79

                   3        หมายถึง ผลการเรียนดี              ช่วงคะแนนเป็นร้อยละ  70 – 74
                   2.5      หมายถึง ผลการเรียนค่อนข้างดี     ช่วงคะแนนเป็นร้อยละ  55 – 59
      2        หมายถึง ผลการเรียนน่าพอใช้      ช่วงคะแนนเป็นร้อยละ  50 – 54
      1.5     หมายถึง ผลการเรียนพอใช้          ช่วงคะแนนเป็นร้อยละ  55 – 59
       1       หมายถึง  ผลการเรียนผ่านเกณฑ์ขั้นต่ำที่กำหนด ช่วงคะแนนเป็นร้อยละ 50–54   
      0    หมายถึง  ผลการเรียนต่ำกว่าเกณฑ์ขั้นต่ำ       ช่วงคะแนนเป็นร้อยละ   0 –49
          1.4  ผู้เรียนต้องได้รับการตัดสินผลการเรียนตามกลุ่มสาระการเรียนรู้ทั้ง  8  กลุ่ม  และสาระการเรียนรู้เพิ่มเติมในระดับ  “ผ่าน”  ทุกรายวิชา  จึงจะได้รับการตัดสินให้ผ่านระดับชั้นและการผ่านช่วงชั้น
          1.5  ผู้เรียนมีสิทธิขอรับการประเมินใหม่  เพื่อให้ได้คะแนนสูงขึ้น  การประเมินเพื่อปรับคะแนนผลการเรียนให้สูงขึ้น  จะยุติเมื่อผู้สอนตัดสินผลการเรียนของรายวิชานั้น ๆ แล้ว

          1.5  ผู้เรียนที่ได้ผลการประเมิน  “0”  หรือ  “ต่ำกว่าร้อยละ  50”  ผู้ปกครองต้องติดตามผู้เรียนให้เข้ารับการซ่อมเสริม  จนได้ผลการเรียนในระดับ  “ผ่านเกณฑ์ขั้นต่ำที่กำหนด”

          1.7  ผู้เรียนที่เข้ารับการซ่อมเสริม  เมื่อ “ผ่าน” การซ่อมเสริมแล้ว  จะได้รับคะแนนตามผลการประเมินใหม่
          1.8  การประเมินแต่ละช่วงชั้น
                ช่วงชั้นที่  2  หรือชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น  คือ  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  1-3  ประเมินผลการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนเป็นรายภาค
ช่วงชั้นที่  3  หรือชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย  คือ  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  4-5 ประเมินผลการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนเป็นรายภาค
เกณฑ์ที่  2  การอ่าน  คิด  วิเคราะห์  และเขียนสื่อความ  กระทำได้หลายวิธี  ปรับเปลี่ยนได้ตามความเหมาะสม  มีแนวดำเนินการดังนี้
          2.1  สถานศึกษามีหน้าที่แต่งตั้งคณะกรรมการประเมินการอ่าน  คิด  วิเคราะห์  และเขียนสื่อความ

          2.2  คณะกรรมการฯ  มีหน้าที่กำหนดเงื่อนไขการอ่าน  คิด  วิเคราะห์  และเขียนสื่อความ  โดยแยกต่างหากจากผลการเรียนรู้รายปี/ภาค  แล้วมอบผู้สอนไปดำเนินการทุกรายวิชา

          2.3  ผู้สอนมอบหมายผู้เรียนแต่ละคนไปศึกษาเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับสาระการเรียนรู้นั้น  หรือทำโครงงาน  หรือ  เลือกชิ้นงาน  หรือเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่สะท้อนให้เห็นถึงความสามารถในการอ่าน  คิด  วิเคราะห์  และเขียนสื่อความ

          2.4  ให้มีการประเมินผลเป็นระยะ ๆ  เมื่อได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการฯ  แล้ว  ให้ครูประจำชั้น / ครูที่ปรึกษา  ฝ่ายวัดผล  ประกาศให้ผู้เรียนทราบ  และรายงานผู้ปกครองใน  ปพ.5
          2.5  ผู้เรียนที่  “ผ่าน”  เกณฑ์การประเมินการอ่าน  คิด  วิเคราะห์  และเขียนสื่อความ  ตามที่สถานศึกษากำหนด  จึงจะได้รับการตัดสินให้ผ่านระดับชั้น  และการผ่านช่วงชั้น
เกณฑ์ที่  3  คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของสถานศึกษา
          3.1  คณะกรรมการสถานศึกษามีหน้าที่กำหนดคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของสถานศึกษา  เพื่อสร้างเอกลักษณ์  เกี่ยวกับคุณธรรม  จริยธรรม  ค่านิยม  และวัฒนธรรมในการดำรงชีวิตให้สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข  โดยสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของสถานศึกษา  และชุมชน
          3.2  คุณลักษณะอันพึงประสงค์หรือพฤติกรรมของผู้เรียน  แบ่งเป็น  4  กลุ่ม  คือ
                   “3”   หรือ  “ดีเยี่ยม”   หมายถึง  ผู้เรียนมีพฤติกรรมตามตัวบ่งชี้  ผ่านเกณฑ์  เป็นร้อยละ   80-100  แสดงว่า  ผู้เรียนมีคุณลักษณะนั้นจนสามารถเป็นแบบอย่างแก่ผู้อื่นได้
“2”   หรือ  “ดี”            หมายถึง  ผู้เรียนมีพฤติกรรมตามตัวบ่งชี้  ผ่านเกณฑ์  เป็น
ร้อยละ  70-79  แสดงว่า  ผู้เรียนมีคุณลักษณะนั้นด้วยการปฏิบัติตนด้วยความเต็มใจ  มีพฤติกรรมดีตามปกติ
          “1”   หรือ  “ผ่านเกณฑ์การประเมิน”   หมายถึง   ผู้เรียนมีพฤติกรรมตามตัวบ่งชี้
ผ่านเกณฑ์
          “0”   หรือ  “ปรับปรุง”   หมายถึง    ผู้เรียนมีพฤติกรรมตามตัวบ่งชี้  ผ่านเกณฑ์
          3.3  ผู้เรียนต้องได้รับผลการประเมิน  “ดีเยี่ยม”  “ดี” หรือ  “ผ่านเกณฑ์การประเมิน”  จึงถือว่า  “ผ่าน”
          3.4   ผู้เรียนที่ได้รับผลการประเมิน  “ปรับปรุง”  เป็นผู้เรียนที่  “ไม่ผ่าน”  เกณฑ์การประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของสถานศึกษา  ต้องเข้าร่วมปฏิบัติกิจกรรมคุณความดี  ตามแนวทางที่สถานศึกษากำหนดให้ครบถ้วน  จึงจะได้รับการตัดสินให้ผ่านระดับชั้น  และการผ่านช่วงชั้น
เกณฑ์ที่  4  กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
                 4.1  สถานศึกษามีหน้าที่กำหนดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน  และแนวทางในการประเมินผลการเข้าร่วมกิจกรรม  และให้มีการบันทึกผลการเข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนแต่ละคนไว้เป็นหลักฐาน
          4.2  ผู้เรียนต้องเข้าร่วมและปฏิบัติกิจกรรมอย่างต่อเนื่องตลอดช่วงเวลาของการจัดกิจกรรม  และ  “ผ่าน”  เกณฑ์การประเมินผลตามที่สถานศึกษากำหนด
          4.3  ผู้เรียนที่  “ไม่ผ่าน”  ต้องแก้ไข / ซ่อมเสริม  ให้  “ผ่าน”  ทุกกิจกรรม  จึงจะได้รับการตัดสินผ่านระดับชั้น  และการผ่านช่วงชั้น 




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ชั้นบรรยากาศ

  บรรยากาศ  (atmosphere)  หมายถึง  อากาศในที่ต่าง ๆ ทั้งหมดซึ่งเป็นส่วนที่ห่อหุ้มโลกอยู่โดยรอบ  จะอยู่สูงจากผิวโลกขึ้นไปประมาณ 800-1,000 กิโ...