วันจันทร์ที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2562

องค์ประกอบที่มีอิทธิพลต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน


องค์ประกอบที่มีอิทธิพลต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน
วงกลมชั้นที่ 1 องค์ประกอบที่มีผลโดยตรงต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน ซึ่งการเรียนรู้ของผู้เรียนที่อยู่ใจ เนจดศนย์รวมของกิจกรรมทุกอย่างในชั้นเรียนและในโรงเรียน การเรียนรู้ของผู้เรียนได้รับ
โดยตรงจากองค์ประกอบที่อยู่ในวงกลมชั้นที่ ประกอบด้วยหลักสูตร-เนื้อหาของสิ่งที่สอน วิธีการ สอนที่ใช้ และการวัดผล(แบบวินิจฉัย)การเรียนรู้ของผู้เรียน
Glickman (1998) เสนอแนะว่า ให้ดูจุดศูนย์กลางของวงกลมต่างๆ ที่มีจุดศูนย์กลางร่วมกัน ศูนย์กลางคือเป้าหมาย วงกลมในสุดเป็นความพยายามของชั้นเรียนและโรงเรียนที่จะพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้ให้ ผู้นแก่ผู้เรียนทุกคน วงกลมชั้นที่ 1 การเรียนรู้ของผู้เรียนสัมพันธ์กันโดยตรงกับ เนื้อหาที่นํามาสอน วิธีการสอน และกลวิธีที่นํามาใช้ในการประเมิน
วงกลมชั้นที่ 2 องค์ประกอบซึ่งจัดระบบภาระงานของผู้นํา (การเรียนรู้ ที่ทําต่อครูผู้สอน ซึ่งการ ปรับปรุงการสอนในชั้นเรียนประกอบด้วย จุดมุ่งเน้น (ต้องใส่ใจในเรื่องใดบ้างในการปรับปรุงการสอน การ สังเกตชั้นเรียน และการใช้ข้อมูล ผลสัมฤทธิ์ และการพิจารณาตัวอย่างชิ้นงานของผู้เรียน) แนวทางที่จะทำร่วมกับครู และโครงสร้างและรูปแบบ เพื่อจัดระบบภาระงานการปรับปรุงการสอน
จากภาพวงกลมชั้นที่ 2 จุดศูนย์กลางเดียวกันกับวงกลมแรกเพื่อพัฒนาคุณภาพการสอนในชั้นเรียน เบ่งที่จคเน้นที่ผู้สอนกำหนดให้เป็นเป้าหมายการเรียนรู้ ต่อมาพิจารณาแนวทาง-วิธีการดำเนินการระหว่าง บุคคล(วิธีการสั่งการและควบคุม วิธีการสั่งการและให้ข้อมูล วิธีการแบบร่วมคิดร่วมทำและวิธี ไม่สั่งการ) ซึ่ง จะใช้กับครูที่จัดการสอนในชั้นเรียนโดยตรง และโครงสร้างและรูปแบบของวิธีการต่าง ๆ ได้แก่ การนิเทศ แบบคลินิก เพื่อแนะเพื่อน เพื่อผู้ติชม และกลุ่มวิจัยเชิงปฏิบัติการตามตารางที่กำหนดพร้อมสิ่งอำนวยความสะดวก
วงกลมชั้นที่ 3 องค์ประกอบซึ่งส่งเสริมให้การดำเนินงานครอบคลุมบริบทการปรับปรุงการสอน ประกอบด้วย ลำดับความสำคัญในการปรับปรุงโรงเรียน ที่ได้จากวิสัยทัศน์ของโรงเรียนและความจำเป็น เร่งด่วนในการพัฒนาโรงเรียน แผนการพัฒนาวิชาชีพ ทรัพยากรและระยะเวลา และการประเมินผลวิธีการ และสิ่งที่ผู้เรียนกำลังเรียนรู้อยู่และวิธีการใช้ข้อมูลจากการประเมินเป็นแนวทางในการดำเนินงานจำเป็น เร่งด่วนของโรงเรียนต่อไป
จากภาพวงกลมชั้นที่ 3 อิทธิพลที่มีต่อการเปลี่ยนแปลงการเรียนการสอน ซึ่งเป็นองค์ประกอบของ กระบวนการปฏิรูปการพัฒนาการเปลี่ยนแปลงโรงเรียนทั้งหมดที่ดําเนินการอย่างต่อเนื่อง ที่เป็นลำดับ ความสำคัญในการปรับปรุงโรงเรียน ถัดมาเป็นการพัฒนาด้านวิชาชีพครู โดยใช้โรงเรียนเป็นฐานมุ่งไปที่ครู ทุกคน และสุดท้ายการประเมินผลทั้งการประเมินระหว่างภาคเรียนและปลายภาคเรียน เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ ของผู้เรียนทั้งหมด
Glickman, Carl D (2002 นักแปลเครือข่ายของกรมวิชาการ 2546 :131) สรปค้การ: เชื่อมโยงความสัมพันธ์กับภาพองค์ประกอบที่มีอิทธิพลต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน ดังต่อไปนี้
1. เป้าหมายของโรงเรียนคืออะไร จะบรรลุเป้าหมายของโรงเรียนได้อย่างไร และใช้เป้าหมายอย่างไร (ช)
2. แผนพัฒนาวิชาชีพครูที่สอดคล้องกับเป้าหมายของโรงเรียนคืออะไร แผนนี้เปิดโอกาะ บุคคลภายนอกตรวจสอบการสอนของผู้สอนและการเรียนของผู้เรียนได้อย่างไร (ฌ)
3.ประเมินความก้าวหน้าทั้งหมดมุ่งสู่เป้าหมายการเรียนรู้ของผู้เรียนทั้งโรงเรียนได้อย่าง (ญ)
4. อะไรคือจุดมุ่งเน้นในการสอนและการเรียนรู้ที่ผู้สอนทุกคนต้องปฏิบัติ (จ)
5. จะใช้รูปแบบการนิเทศแบบใด (แบบคลินิก แบบเพื่อนแนะเพื่อน แบบกลุ่มวิจัย ) และ เครื่องมือใด (การสังเกต ผลงานที่ได้รับมอบหมาย การปฏิบัติ แฟ้มผลงาน ฯลฯ) (ช)
6. จะใช้วิธีการอะไรในการทํางานร่วมกับผู้อื่น (แบบไม่สั่งการ แบบร่วมคิดร่วมทําแบบนี้ และให้ข้อมูล แบบสั่งการและควบคุม) (ฉ)
7.ผู้สอนแต่ละคนจะมีการปรับเปลี่ยนอะไร ในการประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน (ง)
 8. ผู้สอนแต่ละคนจะเปลี่ยนแปลงวิธีการสอนอย่างไร (ค)
9. ผู้สอนแต่ละคนจะเปลี่ยนเนื้อหาที่สอนอย่างไร (ข)
การใช้คําถามนํานี้จะต้องคิดพิจารณาอย่างละเอียดรอบคอบอาจด้วยตนเองหรือร่วมกันในการ วางแผน เพื่อก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการสอน พัฒนาคุณภาพการเรียนรู้ ความเชี่ยวชาญในวิชาชีพ และการ พัฒนาการศึกษาให้สูงขึ้นเป็นที่น่าพึงพอใจ
Ghaye, Anthony (1998) กล่าวสรุปไว้ว่า การเรียนการสอนนั้นสามารถปรับปรุงให้ดีขึ้นได้ด้วยการ ทบทวนตนเอง กระบวนการทบทวนตนเองทำให้ครูเข้าใจการสอนของตัวเอง เข้าใจว่าอะไรสามารถทำได้ และอะไร ได้น้อย ช่วยให้ตัดสินใจอย่างฉลาด และเข้าใจความหมายของสิ่งที่เกิดขึ้นในห้องเรียนและใน โรงเรียนได้ กระบวนการในการทบทวนตนเองจะก้าวหน้าไปได้ต้องอาศัยกรอบ โครงสร้างที่ดี ความท้าทาย และแรงสนับสนุน การทบทวนตนเองหลังการสอนไม่ได้เป็นเป็นเพียงการเรียนรู้จากประสบการณ์ของใคร คนใดคนหนึ่งเป็นการส่วนตัวตามลำพัง แต่เป็นการสร้างองค์ความรู้ที่มีศักยภาพที่จะช่วยให้ครูรู้แจ้งเห็นจริง และมีความมั่นใจในการทำงาน การทบทวนตนเองเป็นกระบวนการที่สร้างสรรค์ สามารถช่วยให้ครูมี วิสัยทัศน์ มองเห็นภาพการเรียนการสอนที่ดี และประคับประคองและทะนุบำรุงสถานภาพที่ดีเช่นนั้นไว้ได้ กระบวนการทบทวนตนเองจะต้องปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอ การจะปฏิบัติให้ได้ประโยชน์สูงสุดจะต้องปฏิบัติ อย่างสม่ำเสมอ และการทบทวนตนเองหลังการสอนเป็นเรื่องเกี่ยวกับการตั้งข้อสงสัยหรือทบทวนสิ่งที่ครู และโรงเรียนปฏิบัติอยู่ เป็นการถามถึงวิธีการและเป้าหมายของการศึกษา
Schon, (1983) อธิบายว่า การใช้ความคิดพิจารณาระหว่างการเรียนการสอนเรียกว่า “การทบทวนตนเองระหว่างงการสอน” (reflection-in-action) ส่วนการคิดไตร่ตรองหลังการเรียนการสอน เรียกว่า “การทบทวนตนเองหลังการสอน” (reflection - on practice) ซึ่งจะเกิดขึ้น

เพิ่มเติม

1. สิ่งเร้า ( Stimulus ) สิ่งที่จะทำให้เรารับรู้ถึงสิ่งรอบข้างที่เกิด การได้สัมผัส จับต้องสิ่งของ สิ่งแวดล้อมต่างๆ คน สัตว์ สิ่งของ
2. ประสาทสัมผัส ( Sense Organs ) ที่กระทำให้เรารู้สึกว่าได้สัมผัส เช่น ตา หู จมูก ปาก ลิ้นรับรู้รสชาติ และผิวหนังที่เกิดอาการร้อนและหนาว
3. ประสบการณ์ คือสิ่งที่เราได้เคยสัมผัส ได้ยิน และเคยเห็นมาก่อนในอดีตที่จิตของเราได้บันทึกไว้
4. การแปลความหมายของจิตวิทยา กับสมอง สิ่งที่พบเห็นในอดีต จะถูกเก็บไว้ในสมอง หากมนุษยืได้สัมผัสสิ่งเร้า หรือสิ่งที่เคยได้สัมผัสมาก่อน สมองจะสั่งการว่าสิ่งนั้นคืออะไร และผ่านไปหรือยัง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ชั้นบรรยากาศ

  บรรยากาศ  (atmosphere)  หมายถึง  อากาศในที่ต่าง ๆ ทั้งหมดซึ่งเป็นส่วนที่ห่อหุ้มโลกอยู่โดยรอบ  จะอยู่สูงจากผิวโลกขึ้นไปประมาณ 800-1,000 กิโ...