วันอาทิตย์ที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2562

การออกแบบการเรียนการสอนที่เป็นสากล (Universal Design for Instruction)


การออกแบบการเรียนการสอนที่เป็นสากล (Universal Design for Instruction)
            U : การออกแบบการเรียนการสอนที่เป็นสากล (Universal Design for Instruction UDI) เป็นการ ออกแบบการสอนที่ผู้สอนมีบทบาทเป็นผู้ดําเนินการเชิงรุก (proactive-การกระทําโดยไม่ต้องมีสิ่งใดมากระตุ้น) เกี่ยวกับการผลิตและหรือจัดหาจัดทําหรือชี้แนะผลิตภัณฑ์การศึกษา (educational products (computers, websites, software, textbooks, and lab equipment) และสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้(dormitories, classrooms, student union buildings, libraries, and distance learning courses), ที่จะระบุถึงในทุกขั้นตอนของการเรียนการสอน
            การออกแบบการเรียนการสอนนําความรู้จากหลายสาขาวิชามาประยุกต์เข้าด้วยกันเป็นขั้นตอน กระบวนการเชิงระบบเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน โดยพื้นฐานแล้ววิธีการเชิงระบบกําหนดให้ต้องระบุว่า จะเรียนอะไร วางแผนการสอนว่าจะยอมให้การเรียนรู้อะไรเกิดขึ้น วัดผลการเรียนรู้เพื่อตัดสินว่า การเรียนรู้ นั้นบรรลุตามจุดประสงค์หรือไม่และกลั่นกรองตัวสอดแทรก (intervention) จนกระทั่งบรรลุจุดประสงค์ จาก ลักษณะนี้เองจึงทําให้เกิดแบบจําลองการออกแบบการเรียนการสอนทั่วไป (generic Instruction Design model : ID model) ขึ้น (Gibbons 1981 : 5, Hannum and Hansen, 1989)
            เกี่ยวกับระบบการเรียนการสอนนี้ แฮนนัมและบริกส์ (Hannum and Briggs) ได้เปรียบเทียบการ เรียนการสอนแบบดั้งเดิม และการเรียนการสอนเชิงระบบ ดังรายละเอียดในตารางที่ 11
            ในการออกแบบการเรียนการสอน กระบวนการมีความสําคัญพอๆ กับผลิตผล เพราะว่าความ เชื่อมั่นในผลิตผลจะขึ้นอยู่กับกระบวนการ ในการที่จะมีความเชื่อมั่นในผลิตผล ต้องดําเนินตามขั้นตอนของ แบบจําลองการออกแบบการเรียนการสอน สําหรับในแต่ละขั้นตอนนั้น ลําดับขั้นตอนของแบบจําลองการ ออกแบบการเรียนการสอน สําหรับในแต่ละขั้นตอนนั้น ลําดับขั้นของภาระงานจะต้องแสดงออกมา และผลที่ ได้รับที่มีความเฉพาะเป็นพิเศษก็จะเกิดขึ้นดังรายละเอียดในตารางที่ 11
            บทบาทของผู้ออกแบบการเรียนการสอน (designer's role) สามารถเปลี่ยนแปลงได้ขึ้นอยู่กับสิ่งที่ นําเสนอว่าต้องอาศัยเทคนิค หรือไม่ต้องอาศัยเทคนิค และขึ้นอยู่กับส่วนประกอบของทีมการออกแบบ เนื้อหาที่ต้องใช้เทคนิคสูง ผู้ออกแบบจําเป็นต้องให้คําแนะนําในการออกแบบกับผู้ชํานาญการด้านเนื้อหา (content expert) ถ้าเนื้อหานั้นไม่ต้องใช้เทคนิคที่สูงมากจนเกินไป ผู้ออกแบบก็สามารถจัดทําได้อย่างอิสระ มากขึ้นด้วยความช่วยเหลือของผู้ชํานาญการด้านเนื้อหา ผู้ออกแบบสามารถที่จะทํางานเป็นผู้ให้คําปรึกษาจาก ภายนอก และรับผิดชอบภาระงานทั้งหมด เหมือนกับเป็นคนในสํานักงาน (in-house employers) ซึ่งได้รับความช่วยเหลือจากผู้ชํานาญการด้านเนื้อหา บทบาทของผู้ออกแบบสามารถมีได้หลากหลาย ขึ้นอยู่กับ ความสัมพันธ์ที่มีต่อผู้ชํานาญการด้านเนื้อหา บทบาทของผู้ออกแบบสามารถมีได้หลากหลาย ขึ้นอยู่กับ ความสัมพันธ์ที่มีต่อผู้ชํานาญการด้านเนื้อหาวิชา ดังตัวอย่างทั้งสาม (Seels and Glasgow, 1990 : 7-9) คือ
            1. ผู้ชํานาญการด้านเนื้อหาและมีสมรรถภาพในการออกแบบการเรียนการสอนและเทคโนโลยี และเป็นผู้ที่รู้บทบาทของการออกแบบด้วย ไม่จําเป็นต้องอาศัยความช่วยเหลือด้านความรู้ ความชํานาญทาง เนื้อหาวิชา
            2. ผู้ออกแบบการเรียนการสอน ที่ได้รับการร้องขอให้ทํางานในด้านเนื้อหาที่อาจจะมี ความคุ้นเคย แต่ผู้ออกแบบยังคงรู้สึกมีความจําเป็นที่จะทํางานกับผู้ชํานาญการด้านเนื้อหา
            3. ผู้ออกแบบอาจจะได้รับการร้องขอให้พัฒนาหรือวิจัยในด้านเนื้อหาที่ไม่มีความคุ้นเคย และ ดังนั้นจึงจําเป็นต้องเลือกและทํางานกับผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหาจํานวนมาก
 ตารางที่ 11 เปรียบเทียบการเรียนการสอนแบบดั้งเดิมกับการเรียนการสอนเชิงระบบ

องค์ประกอบของการเรียนการสอน
การเรียนการสอนแบบดั้งเดิม
การเรียนการสอนเชิงระบบ
1. กำหนดเป้าประสงค์(Setting goals)
*ตำราหลักสูตรดั้งเดิมการอ้างอิงภายใน
*การประเมินความต้องการจำเป็น
*การวิเคราะห์งาน
*การอ้างอิงภายนอก
2. จุดประสงค์(Objectives)
*กล่าวในรูปของผลที่ได้รับรวมๆ หรืการปฏิบัติของครู
*เหมือนกันสำรับนักเรียนทุกคน
*จากการประเมินความต้องการจำเป็นการวิเคราะห์/การประเมินงาน
*การเลือกด้วยการพิจารณาจาก
*ความสามารถของผู้เรียนเมื่อแรกเข้าเรียน
3. จุดประสงค์ในความรู้เฉพาะของผู้เรียน
*ไม่ได้รับการบอกกล่าวล่วงหน้าต้องใช้สัญญาณจากการฟังคำบรรยายและการอ่านตำรา
*บอกกล่าวอย่างเฉพาะเจาะจงเป็นพิเศษล่วงหน้าก่อนเรียน
4. ความสามารถก่อนเข้าเรียน
*ไม่ต้องใส่ใจนักเรียนทุกคนมีจุดประสงค์และวัสดุอุปกรณ์/กิจกรรมเหมือนกันหมด
*การพิจารณา
*การกำหนดวัสดุอุปกรณ์/กิจกรรมแตกต่างกัน
5. ผลสัมฤทธ์ที่คาดหวัง
*ใช้โค้งมาตรฐาน
*มีความเป็นแบบอย่างเดียวกันสูง
6. ความรอบรู้
*นักเรียนส่วนน้อยรอบรู้จุดประสงค์ทั้งหมด
*รูปแบบผดพลาด
*นักเรียนส่วนใหญ่รอบรู้จุดประสงค์ทั้งหมด
7. ค่าระดับและการเลื่อนระดับ
*อยู่บนพื้นฐานการเปรียบเทียบกับนักเรียนคนอื่นๆ
*อยู่บนพื้นฐานการรับรู้จุดประสงค์
8. การสอนเสริม
*บ่อยครั้งที่ไม่มีการวางแผน
*ไม่มีการเปลี่ยนแปลงจุดประสงค์หรือวิธีการเรียนการสอน
*การวางแผนสำหรับนักเรียนที่ต้องการความช่วยเหลือแสงหาจุดประสงค์อื่นๆ เลือกวิธีการเรียนการสอน
9. การใช้แบบทดสอบ
*กำหนดค่าระดับ
*เฝ้าระวังติดตามความก้าวหน้าของผู้เรียน
*ตัดสินความรอบรู้
*วินิจฉัยความยากลำบาก
*ปรับปรุงการเรียนการสอน
10. เวลาศึกษากับความรอบรู้
*เวลาคงที่ : ระดับของความรอบรู้หลากหลายแตกต่างกัน
*ความรอบรู้คงที่ : เวลาหลากหลายแตกต่างกัน
11. การตีความของความล้มเหลวที่จะไปให้ถึงความรู้
*นักเรียนผู้ส่งสาร
*มีความต้องการจำเป็นที่ต้องปรับปรุงการเรียนการสอน
12. การพัฒนารายวิชา
*เลือกวัสดุอุปกรณ์ก่อน
*ระบุจุดประสงค์ก่อนแล้วจึงจะเลือกวัสดุอุปกรณ์
13. ลำดับขั้นตอน
*อยู่บนพื้นฐานของเหตุผลและสังเขปหัวเรื่อง
*อยู่บนพื้นฐานของสิ่งที่ต้องรู้ก่อนตามความจำเป็น และหลักการของการเรียนรู้
14. การปรับปรุงการเรียนการสอนและวัสดุอุปกรณ์
*อยู่บนพื้นฐานของการคาดเดางาน หรือความพอเพียง
*วัสดุอุปกรณ์ใหม่
*เกิดขึ้นเป็นพักๆ
*อยู่บนพื้นฐานของการประเมินข้อมูล
*เกิดขึ้นเป็นประจำ
15. กลยุทธ์การเรียนการสอน
*พอใจให้ผ่านได้อย่างกว้างๆ
*อยู่บนพื้นฐานของความชอบและความคล้ายคลึง
*เลือกที่จะได้รับตามจุดประสงค์
*ใช้ยุทธวิธีที่หลากหลาย
*อยู่บนพื้นฐานของทฤษฏีและการวิจัย
16. การประเมินผล
*บ่อยครั้งที่ไม่เกิดขึ้น : การวางแผนเชิงระบบมีน้อย
*ประเมินแบบอิงกลุ่ม ข้อมูลได้จากปัจจัยนำเข้า และกระบวนการ
*การวางแผนเป็นระบบ : เกิดขึ้นประจำ
*ประเมินความรอบรู้ตามจุดประสงค์
*ประเมินผลอิงเกณฑ์ข้อมูลได้จากผลที่ได้รับ(ผลผลิต)

ตารางที่ 12 งานและผลผลิตของกระบวนการออกแบบการเรียนการสอน
ขั้นตอนและภาระงาน
ตัวอย่างภาระงาน
ตัวอย่างผลผลิต
การวิเคราะห์-กระบวนการของการนิยามว่าต้องเรียนอะไร
*ประเมินความต้องการจำเป็น
*ระบุปัญหา
*วิเคราะห์ภาระงาน
*แฟ้มผู้เรียน
*การพรรณนาข้อจำกัด
*คำกล่าวของความต้องการจำเป็นและปัญหา
*การวิเคราะห์ภาระงาน
การออกแบบ-กระบวนการของการชี้เฉพาะว่าจะเรียนอย่างไร
*เขียนจุดประสงค์
*พัฒนารายการของแบบทดสอบ
*วางแผนการเรียนการสอน
*ระบุแหล่งทรัพยากร
*จุดประสงค์ที่วัดได้กลยุทธ์การเรียนการสอน
*ลักษณะเฉพาะของตัวแบบ
การพัฒนา-กระบวนการของหน้าที่และผลิตวัสดุอุปกรณ์
*พัฒนาคู่มือ แผนภูมิ โปรแกรม
*สคริป
*แบบฝึกหัด
*คอมพิวเตอร์ช่วยการเรียนการสอน
การนำไปใช้-กระบวนการของการก่อตั้งโครงการในบริษัทแห่งโลกความเป็นจริง
*การฝึกอบรม
*การทดลอง
*การให้ความเห็นของนักเรียนข้อมูล
การประเมินผล-กระบวนการของการตกลงใจเกี่ยวกับความเห็นผลของการเรียนการสอน
*บันทึกข้อมูลเกี่ยวกับเวลา
*ผลการแปลความแบบทดสอบ
*สำรวจผู้สำเร็จการศึกษา
*ทบทวนกิจกรรม
*คำรับรอง
*รายงานโครงการ
*ทบทวนตัวแบบ



            นับว่าเป็นเรื่องสําคัญด้วยเหมือนกัน ที่จะให้ความแตกต่างระหว่างบทบาทของผู้วิจัยและผู้ปฏิบัติ เพราะว่าข้อกําหนดในความสําเร็จของทั้งสองส่วนนี้มีความแตกต่างกัน ผู้ที่เป็นนักวิจัยสนใจในแต่ละขั้นตอน ของรูปแบบทั่วไป ดังนั้น ความสนใจและเป้าประสงค์ของผู้ปฏิบัติ (ID practitioner) จึงแตกต่างออกไป ความสนใจและเป้าประสงค์ที่แตกต่างกัน
            ผู้ออกแบบที่เป็นนักปฏิบัติ สามารถแสดงออกในแต่ละขั้นตอนจากการวิเคราะห์ไปจนถึงการ ทดลอง ขึ้นอยู่กับว่าจะพรรณนางานว่าอย่างไร ถ้างานของผู้ออกแบบระบุไว้อย่างแคบๆ แล้วผู้ออกแบบแสดง เพียงสองถึงสามขั้นตอนเท่านั้น โดยละทิ้งขั้นตอนที่เป็นผลิตผล การนําไปใช้ และการประเมินผล
            นักวิจัยการออกแบบการเรียนการสอน (ID remember) หรือผู้เชี่ยวชาญ (specialist) สนใจศึกษาตัว แปรและพัฒนาทฤษฎีที่สัมพันธ์กับการเรียนการสอน นักปฏิบัติการออกแบบการเรียนสอน (ID practitioner or generation) สนใจการประยุกต์งานวิจัย และทฤษฎีการพัฒนาการเรียนการสอนและวัสดุอุปกรณ์ บทบาท อื่นๆ ของผู้วิจัยการออกแบบการเรียนการสอนดังแสดงไว้ในตารางที่ 3 ส่วนบทบาทของผู้ปฏิบัติการ ออกแบบการเรียนการสอนดังแสดงในตารางที่ 13
            สาขาวิชาการออกแบบการเรียนการสอน มีอายุประมาณ 30 ปี เป็นบทบาทของนักวิจัยที่จะส่งเสริม ความงอกงามในทฤษฎีของการออกแบบการเรียนการสอน และเนื่องจากว่าการออกแบบการเรียนการสอน เป็นสาขาวิชาประยุกต์ บทบาทของนักวิจัยจึงอาจดูเหมือนว่าแยกตัวออกไปตามลําพังและมีความสําคัญน้อยสิ่งดังกล่าวนี้ไม่เป็นความจริง เพราะถ้าปราศจากกระบวนการทางทฤษฎีแล้ว สาขาวิชาก็จะเฉื่อยชาอยู่กับที่ ความมุ่งหมายของนักออกแบบการเรียนการสอน คือ ความจําเป็นที่จะต้องรู้ว่าตนสามารถที่จะก้าวไกลได้ใน หนทางแห่งอาชีพของตนเอง ถ้ารับรู้วิธีการวิจัยที่เหมาะสมในแต่ละขั้นตอน (Seels and Glasgow, 19990 : 10)
            งานของผู้ปฏิบัติการออกแบบการเรียนการสอนอาจจะหลากหลายในความต้องการด้านความรู้ ความชํานาญ ผลิตผลที่ได้และสถานการณ์ของงาน ผู้ปฏิบัติการออกแบบการเรียนการสอนอาจจะวิเคราะห์ ภาระงานภายใต้การนิเทศของผู้จัดการโครงการในองค์กรที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยและการพัฒนา ผู้จัดการ โครงการอาจจะนําทีมซึ่งพัฒนาการประชุมเชิงปฏิบัติการสามวันสําหรับการอุตสาหกรรม (three-day workshop) การออกแบบไม่จําเป็นต้องเป็นทีมเสมอไป ในองค์กรเล็กๆ อาจจะใช้ผู้ออกแบบเพียงคนเดียว ใน การทําภาระการออกแบบการเรียนการสอน
ตารางที่ 13 เปรียบเทียบความสนใจและเป้าประสงค์ของผู้วิจัยและผู้ปฏิบัติ
แบบจำลองการออกแบบการเรียนการสอนทั้วไป
บทบาทของผู้วิจัย
บทบาทผู้ปฏิบัติ
ขั้นที่ 1 การวิเคราะห์




ขั้นที่ 2 การออกแบบ



ขั้นที่ 3 การพัฒนา




ขั้นที่ 4 การนำไปใช้



ขั้นที่ 5 ประเมินผล
*ศึกษาวิธีการระบุปัญหา
*ศึกษาผลของคุณลักษณะของผู้เรียน
*ศึกษาเนื้อหา

*ศึกษาตัวแปรในการออกแบบข่าวสาร
*พัฒนากลวิธีการเรียนการสอน

*ศึกษากระบวนการของทีม




*ศึกษาชาติวงศ์วรรณาของตัวแปรในสิ่งแวดล้อม


*การระบุตัวแปรของการนำไปใช้ให้ได้ผล
*ศึกษาข้อถกเถียงที่นำไปสู่การประเมินผล
*ประยุกต์ใช้วิธีการระบุปัญหา
*กำหนดคุณลักษณะของผู้เรียน
*ใช้การวิจัยในเนื้อหาตามสาขาวิชา
*ให้ผู้ปฏิบัติเป็นผู้ออกแบบการเรียนการสอน




*ทำงานกับผู้ผลิตในการพัฒนาสคริป
*ออกแบบและจัดการสิ่งแวดล้อมและ

ตัวแปรในการเรียนการสอน



 *ประยุกต์ทฤษฏีการประเมินผล


เพิ่มเติม

UDI   เป็นการออกแบบสำหรับการสอนสำหรับการเรียนร่วมสาหรับผู้เรียนที่มีความหลากหลายอันรวมไปถึงผู้เรียนที่มีความต้องการพิเศษ (Scott, McGuire & Embry, 2002) ซึ่งการออกแบบต้องสอดคล้องหรือคำนึงถึงลีลาการเรียนรู้ของผู้เรียน และมีความเหมาะสมกับผู้เรียนที่มีความแตกต่างกันในห้องเรียน
การประยุกต์หลักการของ Universal Design for Instruction (UDI) มาใช้ในการเรียนการสอนทำได้ดังนี้ (Burgstahler, 2009)
1. การสร้างบรรยากาศในห้องเรียน ให้เป็นบรรยากาศที่เคารพในความเป็นอัตบุคคลของผู้เรียน อาจเขียนไว้ในแนวการสอนที่ให้ผู้เรียนได้บอกความต้องการของตนเองในการเรียนเรื่องนั้น ๆ ด้วย หรือหากมีนักศึกษาพิการ ก็ให้นักศึกษาได้มีโอกาสบอกข้อจำกัดในการเรียนรู้ของเขาด้วย
2. การมีปฏิสัมพันธ์ ให้มีกิจกรรมการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างผู้เรียนกับผู้สอน และในกลุ่มผู้เรียนกันเอง หรือออกแบบงานกลุ่มที่ให้ผู้เรียนได้ช่วยเหลือผู้อื่นได้เปลี่ยนบทบาทต่าง ๆ
3. คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ โดยจัดสภาพแวดล้อม สื่อ กิจกรรมให้สะดวก ปลอดภัยสำหรับผู้เรียนทุกคน ทั้งผู้เรียนที่ตาบอด หรือนั่งรถเข็น
4. ใช้วิธีการสอนที่หลากหลายรูปแบบ ออกแบบกิจกรรมหรืองานที่ให้ผู้เรียนเลือกได้ตามความถนัดและความสามารถ
5. ข้อมูลสารสนเทศและสื่อเทคโนโลยี เช่น เอกสารประกอบการสอน สื่อการสอนและข้อมูลอื่นๆ มีความยืดหยุ่นพอสำหรับนักศึกษาทุกคนทุกประเภท เช่น แจกคำอธิบายรายวิชาและเอกสาร
6. ประกอบก่อนเริ่มสอน เพื่อให้นักศึกษาที่เรียนรู้ได้ช้าได้อ่านล่วงหน้า หรือปริ้นท์เอกสารเป็นอักษรเบรลล์เพื่อนักศึกษาตาบอดได้อ่านเช่นเดียวกันกับเพื่อน เป็นต้น
7. มีการสะท้อนผลงานของนักศึกษาเป็นระยะๆ สาหรับโครงการที่นักศึกษาทำเพื่อให้สามารถปรับปรุงงานได้ทันก่อนจบโครงการ
8. มีวิธีการประเมินผลการเรียนและใช้เครื่องมือประเมินที่หลากหลาย เช่นในบางกรณีอาจประเมินผลงานกลุ่ม งานบางชิ้นก็ประเมินเป็นรายบุคคล เป็นต้น
9. ปรับสื่อสิ่งอำนวยความสะดวกให้เหมาะสมสาหรับนักศึกษาพิการในห้องเรียน เช่น จัดหรือแลกเปลี่ยนห้องเรียนที่มีความสะดวกสำหรับนักศึกษาที่มีความบกพร่องทางร่างกาย ปรับตารางสอนให้ยืดหยุ่นสาหรับนักศึกษาที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ เช่น เจ็บป่วยบ่อย ๆ ต้องพบแพทย์เสมอในเวลาที่ต้องเรียนวิชานั้น ๆ เป็นต้น

ดังนั้นในมหาวิทยาลัยมีนักศึกษาพิการที่อาจจะมีความพิการต่างกันหลายประเภท ทั้งกลุ่มที่มองเห็นความพิการด้วยตาเปล่า คือ มีร่างกายพิการ ตาบอด และหูหนวกหูตึง กับกลุ่มที่มีความบกพร่องด้านอื่น ๆ ที่มองไม่เห็นความพิการด้วยตาเปล่า ความบกพร่องทางการเรียนรู้ มีความบกพร่องทางการพูดและภาษา มีความบกพร่องทางอารมณ์และพฤติกรรม และความบกพร่องทางการสื่อสาร ดังนั้นมหาวิทยาลัยควรให้โอกาสทางการศึกษาแก่ผู้เรียนอย่างเต็มที่ ไม่เพียงแต่รับเข้าเรียนเท่านั้น ควรจะจัดการเรียนการสอนและจัดบริการที่เอื้อต่อผู้เรียนที่แตกต่างกันอย่างเหมาะสมเต็มศักยภาพของแต่ละบุคคล


การออกแบบการเรียนการสอน (Instructional design)



           ความหมายของการออกแบบ เป็นการถ่ายทอดจากรูปแบบจากความคิดออกมาเป็นผลงานที่ผู้อื่นสามารถมองเห็น รับรู้ หรือสัมผัสได้ การออกแบบต้องใช้ศาสตร์แห่งความคิดและศิลป์ร่วมกัน เพื่อสร้างสรรค์สิ่งใหม่ หรือปรับปรุงพัฒนาสิ่งเดิมให้ดีขึ้น
การออกแบบการเรียนการสอน จึงเป็นกระบวนการวางแผนการเรียนการสอนอย่างมีระบบ โดยมีการวิเคราะห์องค์ประกอบการเรียนรู้ ทฤษฎีการเรียนการสอน สื่อกิจกรรมการเรียนรู้ต่าง ๆ รวมถึงการประเมินผล เพื่อให้ผู้สอนสามารถถ่ายทอดความรู้สู่ผู้เรียนผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
 การออกแบบการเรียนการสอนจะช่วยให้ผู้สอนวางแผนการสอนอย่างมีระบบ เพื่อให้การจัดการเรียนการสอนบรรลุจุดมุ่งหมาย และประสบความสำเร็จผู้สอนต้องพิจารณาหลักการในการออกแบบการเรียนการสอน คือ
 1. การออกแบบและพัฒนาการเรียนการสอนนี้เพื่อใคร ใครเป็นผู้เรียนหรือกลุ่มเป้าหมาย ผู้ออกแบบควรมีความเข้าใจและรู้จักลักษณะของกลุ่มผู้เรียนที่เป็นเป้าหมายในการเรียนอีเลิร์นนิง
            2. ต้องการให้ผู้เรียนเรียนอะไร มีความรู้ความเข้าใจ และ/หรือ มีความสามารถอะไร ผู้สอนจึงต้องกำหนดจุดมุ่งหมายของการเรียนการสอนให้ชัดเจน
            3. ผู้เรียนจะเรียนรู้เนื้อหาวิชานั้น ๆ ได้ดีที่สุดอย่างไร ควรใช้วิธีการและกิจกรรมการเรียนรู้อะไรที่จะช่วยให้ผู้เรียนเรียนรู้ได้ และมีสิ่งใดที่ต้องคำนึงถึงบ้าง
            4. เมื่อผู้เรียนเข้าสู่กระบวนการเรียน จะทราบได้อย่างไรว่าผู้เรียนมีการเรียนรู้เกิดขึ้น และประสบผลสำเร็จในการเรียนรู้ จะใช้วิธีใดประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน

            สรุปได้ว่า การออกแบบการเรียนการสอน ควรมีการวางแผนเพื่อพิจารณาว่าผู้เรียนเป็นใคร มีคุณลักษณะพื้นฐานอย่างไร กำหนดจุดมุ่งหมายในการสอนครั้งนั้นอย่างไร จะใช้วิธีการเรียนการสอนและกิจกรรมการเรียนรู้ และวิธีการประเมินผลการเรียนอะไรบ้าง จึงจะสามารถทำให้การสอนนั้นบรรลุเป้าหมาย คือ ภายหลังเรียนแล้วรู้ เข้าใจ จดจำ นำไปใช้ ทำได้ สร้างสรรค์ สิ่งใหม่ได้เป็นต้น ดังนั้นสิ่งที่ควรพิจารณาในการออกแบบการเรียนการสอน ได้แก่ ผู้เรียน วิธีการสอนและกิจกรรมการเรียนรู้ จุดมุ่งหมาย และการประเมิน

แบบจำลองการออกแบบการเรียนการสอนทั่วไป




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ชั้นบรรยากาศ

  บรรยากาศ  (atmosphere)  หมายถึง  อากาศในที่ต่าง ๆ ทั้งหมดซึ่งเป็นส่วนที่ห่อหุ้มโลกอยู่โดยรอบ  จะอยู่สูงจากผิวโลกขึ้นไปประมาณ 800-1,000 กิโ...