วันอาทิตย์ที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2562

การจัดการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ


การจัดการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ
การจัดการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพตามที่มาร์ซาโน (Marzano: 2012) ได้นําเสนอกลวิธีการ จัดการเรียนการสอนสรุปได้ 3 ส่วน คือ 1) การสร้างสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ (Creating the Environment for Learning) ซึ่งกลวิธีในส่วนที่ 1 นี้จะเป็นพื้นฐานสําคัญให้กับการเรียนในทุกบทเรียน เมื่อครูสร้าง สภาพแวดล้อมการเรียนรู้ ย่อมจูงใจและทําให้ผู้เรียนเกิดความคาดหวังและเรียนรู้อย่างมีความหมาย โดยการ ดูแลให้ข้อมูลย้อนกลับ (Feedback) เพื่อการพัฒนาเปิดโอกาสให้ผู้เรียน แลกเปลี่ยนเรียนรู้ พัฒนาทักษะการ เรียนรู้ร่วมกับผู้อื่น ตลอดจนเรียนรู้การติดตามและพัฒนาความรู้ของตนเอง 2) การช่วยพัฒนาความรู้ความ เข้าใจให้กับผู้เรียน (Helping students Develop Understanding) กลวิธีในส่วนที่ 2 นี้เป็นการช่วยผู้เรียนใน การพัฒนาความรู้ความเข้าใจ จัดลําดับองค์ความรู้และเชื่อมโยงความรู้เก่ากับองค์ความรู้ใหม่ จัดการกับ ความรู้ ตรวจสอบความรู้ สร้างมโนทัศน์ (Concept) ที่ถูกต้อง ซึ่งกระบวนการบูรณาการและเรียนรู้ กระบวนการในแต่ละประเภทของความรู้จะเกี่ยวข้องกับ (1) การสร้างขั้นตอนที่จําเป็นในแต่ละกระบวนการ หรือทักษะ (2) พัฒนามโนทัศน์และความเข้าใจในกระบวนการและการปฏิบัติอย่างหลากหลาย (3)ปฏิบัติ ตามทักษะที่พัฒนาขึ้นอย่างเป็นประจํา และ 3) ช่วยผู้เรียนในการขยายและประยุกต์ใช้ความรู้ (Helping students Extend and Apply Knowledge) กลวิธีในส่วนที่ 3 คือ ช่วยขยายและประยุกต์ใช้ความรู้ คือ เป็นการ ช่วยให้ผู้เรียนมีความรู้มากกว่าคําตอบที่ถูกต้อง (right answer) โดยให้ผู้เรียนได้เกิดการเรียนรู้ ขยายองค์ ความรู้ โดยนําความรู้กับไปใช้ในโลกแห่งความเป็นจริง (Real-world Contexts) โดยใช้กระบวนการของเหตุ และผล และถึงเป็นการเรียนรู้อย่างมีความหมาย
จากกลวิธีการสอนดังกล่าวเมื่อพิจารณาตามหลักการ Universal Design (UD) จะเกี่ยวข้องกับการออกแบบผลิตภัณฑ์และสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ที่คนในทุกช่วงอายุและความสามารถที่แตกต่างกันสามารถ ใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพที่สุด (Story, Mueller, & Mace, 1998) เมื่อนํา Universal Design (UD) มาใช้ ทางการศึกษาจึงเป็นการออกแบบเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ผู้เรียนทุกคน ได้แก่ การสอนที่ใช้สื่อ และ วิธีการแบบต่างๆ เช่น การบรรยาย การร่วมกันอภิปราย การทํางานกลุ่ม การสอนโดยใช้อินเตอร์เน็ตใช้ห้องปฏิบัติการ การออกฝึกภาคสนาม เป็นต้น รวมทั้งการออกแบบหลักสูตรที่สนองต่อผู้เรียนหลายระดับ ความสามารถในห้องเรียน (สํานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา, 2555: 4-6) Universal Design (UD) ถูกนํามาใช้เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ทางการศึกษา อาทิ คอมพิวเตอร์ เว็ปไซต์ ซอร์ฟแวร์ หนังสือคู่มือ และเครื่องมือที่ใช้ในห้องทดลอง ฯลฯ และนํามาปรับใช้เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม อาทิ หอพัก ห้องเรียน อาคารศูนย์ประชุม ห้องสมุด และคอร์สรายวิชาเรียนทางไกล เป็นต้น



เพิ่มเติม


หลักการของ Universal Design

การใช้งานอย่างเท่าเทียมกัน (Equitable use)
มีความยืดหยุ่นในการใช้งาน (Flexibility in use)
เรียบง่ายและใช้งานได้ง่าย (Simple and intuitive)
ข้อมูลสารสนเทศ สามารถรับรู้ได้ (Perceptible information)
ทนต่อความผิดพลาด (Tolerance for error)
ใช้ได้ด้วยความสามารถทางกายภาพต่ำ (Low physical effort)
ขนาดและพื้นที่ สำหรับการใช้งาน (Size and space for approach and use)

ตัวอย่างของ Universal Design ได้แก่ ทางลาดขึ้นอาคาร การใช้ที่เปิดประดูแบบคันโยกแทนแบบปิด เป็นต้น หรือที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์ ได้แก่ เว็บไซต์ที่มีคำอธิบายรูปภาพ เว็บไซต์ที่มีคำบรรยาย (Closed Caption) ในวิดีทัศน์ และสามารถควบคุม Play, Pause, Stop ได้โดยใช้ คีย์บอร์ด




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ชั้นบรรยากาศ

  บรรยากาศ  (atmosphere)  หมายถึง  อากาศในที่ต่าง ๆ ทั้งหมดซึ่งเป็นส่วนที่ห่อหุ้มโลกอยู่โดยรอบ  จะอยู่สูงจากผิวโลกขึ้นไปประมาณ 800-1,000 กิโ...