การประเมินคุณภาพภายนอก
การประเมินคุณภาพภายนอก
คือ การประเมินคุณภาพการจัดการศึกษา การติดตาม
การภาพและมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา ซึ่งกระทำโดยสำนักงานรับรองมาตรฐาน และ
เป็นคุณภาพการศึกษา(องค์การมหาชน) (สมศ.)
หรือผู้ประเมินภายนอกที่ได้รับการรับรองจาก โดยผู้เรียน
ภายนอกที่ได้รับการรับรองจาก สมศ.
เพื่อมุ่งให้มีการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาให้ด ยิ่งขึ้น
ความสําคัญของการประเมินคุณภาพภายนอก
การประเมินคุณภาพภายนอก
มีความสําคัญและมีความหมายต่อสถานศึกษา หน่วยงานที่ ต้องและสาธารณชน ดังต่อไปนี้
สํานักงานรับรองมาตรฐานและ ประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การ มหาชน), 2550)
1. เป็นการส่งเสริมให้สถานศึกษาพัฒนาเข้าสู่เกณฑ์มาตรฐาน และพัฒนาตนเอง
ให้เต็ม ตามศักยภาพอย่างต่อเนื่อง
2. เพิ่มความมั่นใจ
และคุ้มครองประโยชน์ให้ผู้รับบริการทางการศึกษาให้มั่นใจ ได้ว่า
สถานศึกษาจัดการศึกษามุ่งสู่คุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาที่เน้นให้ผู้เรียนเป็น- คนดี
มีความสามารถ และ มีความสุขเพื่อเป็นสมาชิกที่ดีของสังคม
3. สถานศึกษาและหน่วยงานที่กํากับดูแล เช่น คณะกรรมการสถานศึกษา
หน่วยงานต้น สังกัด สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษา รวมทั้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และ
ชุมชนท้องถิ่นมีข้อมูลที่จะช่วย ตัดสินใจในการวางแผน
และดําเนินการเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาให้เป็นไปในทิศทางที่
ต้องการและบรรลุเป้าหมาย ตามที่กําหนด
4. หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในระดับนโยบายมีข้อมูลสําคัญในภาพรวมเกี่ยวกับ
คุณภาพและ
มาตรฐานของสถานศึกษาทุกระดับทุกสังกัดเพื่อใช้เป็นแนวทางในการกําหนดนโยบายทางการศึกษาและ
การจัดสรรงบประมาณเพื่อการศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพ
สํานักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา
(องค์การมหาชน)http://www.onesqa.or.th/th/index.php กําหนดหลักการสําคัญของการประเมินคุณภาพภายนอก
ซึ่งมีหลักการ สําคัญ 5 ประการ ดังต่อไปนี้
1)
เป็นการประเมินเพื่อมุ่งให้มีการพัฒนาคุณภาพการศึกษา ไม่ได้มุ่งเน้นเรื่องการ
ตัดสิน การจับผิด หรือการให้คุณ ให้โทษ
2) ยึดหลักความเที่ยงตรง เป็นธรรม โปร่งใส
มีหลักฐานข้อมูลตามสภาพความเป็นจริง (evidence based)
และมีความรับผิดชอบที่ตรวจสอบได้(accountability)
3)
มุ่งเน้นในเรื่องการส่งเสริมและประสานงานในลักษณะกัลยาณมิตรมากกว่าการกํากับ
ควบคุม
4) ส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการประเมินคุณภาพและการพัฒนาการจัดการศึกษาจากทุก
ฝ่ายที่เกี่ยวข้อง
5)
มุ่งสร้างความสมดุลระหว่างเสรีภาพทางการศึกษากับจุดมุ่งหมายและหลักการศึกษา
ของชาติตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 ให้เอกภาพเชิงนโยบาย แต่ยัง ความหลากหลายในทางปฏิบัติ โดยสถาบันสามารถกำหนดเป้าหมายเฉพาะ
และพัฒนาคุณภาพการศึกษา เต็มตามศักยภาพของสถาบันและผู้เรียน
วัตถุประสงค์ของการประเมินคุณภาพภายนอกสถานศึกษา
การประเมินคุณภาพภายนอก
มีวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้ (สำนักงานรับรอง มาตรฐานแ ประเมินคุณภาพการศึกษา
(องค์การมหาชน), 2550)
1 เพื่อตรวจสอบ ยืนยันสภาพจริงในการดำเนินงานของสถานศึกษา และ ประเมิน
คุณภาพการศึกษาตามมาตรฐานการศึกษาที่กำหนด
2. เพื่อให้ได้ข้อมูลซึ่งจะช่วยสะท้อนให้เห็นจุดเด่น จุดที่ควรพัฒนาของ
สถานศึกษา สาเหตุของปัญหาและเงื่อนไขของความสำเร็จ
3. เพื่อช่วยเสนอแนะแนวทางปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพการศึกษาแก่ สถานศึกษา และ
หน่วยงานต้นสังกัด
4. เพื่อส่งเสริมให้สถานศึกษามีการพัฒนาคุณภาพ และประกันคุณภาพภายใน อย่าง
ต่อเนื่อง
5. เพื่อรายงานผลการประเมินคุณภาพ และมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา ต่อ
หน่วยงานเกี่ยวข้องและสาธารณชน
ผู้ประเมินภายนอก หมายถึงบุคคลหรือหน่วยงานที่มีคุณสมบัติตามที่กําหนดและได้รับการ รับรอง
จากสมศ. ให้ทําการประเมินคุณภาพภายนอก
มาตรฐานการศึกษา คือข้อกำหนดเกี่ยวกับคุณลักษณะคุณภาพที่พึงประสงค์และเป็นเป้าหมายที่
ต้องการให้เกิดขึ้นในสถานศึกษาทุกแห่ง เพื่อใช้เป็นหลักในการเทียบเคียงสำหรับการส่งเสริม
กํากับดูแล ตรวจสอบประเมินผล และ การประกันคุณภาพการศึกษา
4. การประเมินคุณภาพภายใน
Cork (2005 : 2) กล่าวว่า
การประเมินคุณภาพภายในโปรแกรมการเรียนการสอน (internal evaluation) การประเมินที่นําไปใช้ในการตัดสินคุณค่าของโปรแกรมการเรียนการสอนในระหว่างดําเนินการ
การ ประเมินเน้นที่กระบวนการ (process)
การประเมินคุณภาพภายในมีจุดมุ่งหมายเพื่อตรวจสอบแก้ไขและ
ปรับปรงสื่อการเรียนการสอน
เพื่อให้เกิดประสิทธิผลยิ่งขึ้นเมื่อนําไปใช้กับผู้เรียนโดยทั่วไป ในการประเมิน
จะเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้ที่เกี่ยวข้องทุกคน โดยกําหนดจุดมุ่งหมายคือ
การจัดการเรียนรู้นั้นหรือการเรียน
การสอนนั้นประสบผลสําเร็จตามที่ตั้งใจไว้หรือไม่
ข้อมูลต้องถูกเก็บรวบรวมอย่างต่อเนื่อง เพื่อตรวจสอบว่า
การจัดการเรียนรู้หรือการเรียนการสอนนั้นพัฒนาผู้เรียนได้จริง
ถ้าพบว่าผู้เรียนส่วนใหญ่มีปัญหาในการเรียน การสอนคล้าย ๆ กัน
อาจสรุปได้ว่าการจัดการเรียนรู้หรือเรียนการสอนนั้นมีบางอย่างที่ไม่เป็นไปตาม
จุดมุ่งหมาย
ดังนั้นการประเมินคุณภาพภายในเป็นการประเมินเพื่อปรับปรุงดำเนินการได้ทันท่วงที
การ ประเมินนี้จึงมีบทบาทสำคัญต่อความสำเร็จของการจัดการเรียนการสอน เคมพ์ (Kemp : 1971) เสนอแนะการ ประเมินไว้ดังนี้
1.
ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ในระดับที่เป็นที่ยอมรับตามจุดมุ่งหมายที่ตั้งไว้หรือไม่
ผู้เรียนมี ข้อบกพร่องใดบ้าง
2. ผู้เรียนมีความสามารถในการใช้ความรู้
หรือทักษะในระดับที่เป็นที่ยอมรับหรือไม่ ผู้เรียนมี ข้อบกพร่องใดบ้าง
3. ผู้เรียนใช้เวลานานเพียงใด เพื่อให้เกิดประสบการณ์การเรียนรู้
และเป็นที่ยอมรับของผู้สอน หรือไม่
4. กิจกรรมต่าง ๆ เหมาะสมสําหรับผู้เรียนและผู้สอนหรือไม่ 5. วัสดุต่าง ๆ สะดวกและง่ายต่อการติดตั้ง การหยิบ การใช้
หรือการเก็บรักษาหรือไม่
6. ผู้เรียนมีปฏิกิริยาต่อวิธีการเรียนการสอน กิจกรรม วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้
และวิธีการประเมินผล อย่างไรบ้าง
7. ข้อสอบเพื่อการประเมินตนเอง และข้อสอบหลังจากเรียนแล้ว
ใช้วัดจุดมุ่งหมายของการเรียน ได้หรือไม่
8. ควรมีการปรับปรุงแก้ไขโปรแกรมในส่วนใดบ้าง (เนื้อหา รูปแบบ และอื่นๆ)
การประเมินภายนอก
Clark (2005 : 2) กล่าวว่า
ว่า การประเมินคุณภาพภายนอก (External evaluation)
เป็นการประเมิน หลังการจัดการเรียนรู้หรือการจัดการเรียนการสอน
เพื่อนําผลการประเมินไปใช้ในการตัดสินคุณค่าของโปรแกรมการเรียนการสอน
ให้ความสำคัญที่ผลลัพธ์ (Outcome) โดยสรุปการประเมินเพื่อศึกษา
ของระบบโดยรวม
เป็นการประเมินที่มุ่งตอบคำถามว่าการเรียนรู้หรือการจัดการเรียนการสอน
ความสำเร็จตามแผนที่วางไว้หรือไม่
ผู้เรียนบรรลุจดหมายและจุดประสงค์การเรียนรู้หรือไม่ ผลการดำเนินการ
มีประสิทธิภาพหรือไม่ การออกแบบการเรียนการสอนตลอดกระบวนการมีขั้นตอน
ขันตอนบ้างเพื่อนำไปเป็นข้อมูลสำหรับผู้ออกแบบการเรียนการสอนได้พัฒนาต่อไป เคมพ (KenP: 11 ) เสนอแนะแนวคิดการประเมินไว้ดังนี้
1. จุดมุ่งหมายทั้งหมดได้รับการบรรลุผลในระดับใดบ้าง
2. หลังจากการเรียนการสอนผ่านไปแล้ว การปฏิบัติงานของผู้เรียนเกี่ยวกับการใช้ความรู้
ทักษะ และการสร้างเจตคติมีความเหมาะสมหรือไม่
3. การใช้วัสดุต่างๆ ง่ายต่อการจัดการสําหรับผู้เรียนจํานวนมาก ๆ หรือไม่
4. สิ่งอํานวยความสะดวก
กําหนดการ และการนิเทศ มีความเหมาะสมกับโปรแกรมหรือไม่ 5. มีการระวังรักษาการหยิบ การใช้เครื่องมือและวัสดุต่าง ๆ หรือไม่
6. วัสดุต่าง ๆ ที่เคยใช้แล้ว
ถูกนํามาใช้อีกหรือไม่
7. ผู้เรียนมีเจตคติอย่างไรบ้างต่อวิชาที่เรียน วิธีการสอน กิจกรรม
และเกี่ยวกับความสัมพันธ์ที่มีต่อ ผู้สอน และผู้เรียนคนอื่น ๆ
เพิ่มเติม
ความเป็นมา "ระบบคุณภาพภายนอก"
ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ
พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 มาตรา 47 กำหนดให้มีระบบการประกันคุณภาพการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาและมาตรฐานการศึกษาทุกระดับ
ประกอบด้วย ระบบการประกันคุณภาพภายใน (กระทรวงศึกษาธิการ โดยสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา
-สกอ.) และระบบการประกันคุณภาพภายนอก (สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา
(องค์การมหาชน) (สมศ.)
ดังนั้นมหาวิทยาลัยในฐานะเป็นสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาแห่งหนึ่งจึงต้องตอบสนองต่อพระราชบัญญัติการศึกษานี้
โดยมหาวิทยาลัยจะต้องจัดทำรายงานผลการดำเนินงานประจำปีตามตัวบ่งชี้วัดที่ทั้ง สกอ.
และ สมศ. กำหนดเสนอต่อองค์กรทั้งสองและมหาวิทยาลัยจะต้องรับการตรวจประเมินจากองค์กรทั้งสอง
เพื่อรับรองคุณภาพการศึกษาของมหาวิทยาลัย และเพื่อให้มหาวิทยาลัยมีการปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่อง
อันจะส่งผลต่อคุณภาพของบัณฑิตและผลผลิตของมหาวิทยาลัยโดยรวมต่อไป ทั้งนี้ มหาวิทยาลัยได้บูรณาการการตอบสนองดังกล่าวนี้ใน"ระบบคุณภาพมหาวิทยาลัยมหิดล"
ด้วยการบูรณาการตัวชี้วัดที่ต้องรายงานต่อ สกอ.และสมศ. ไว้ในมาตรฐานคุณภาพข้อที่เกี่ยวข้อง
นอกจากนี้ มหาวิทยาลัยยังต้องตอบสนองต่อการรายงานผลการดำเนินงานในบริบทต่างๆ ต่อองค์กร/หน่วยงานที่เกี่ยวข้องตามกฎ/ระเบียบ/ข้อบังคับต่างๆ
ที่เกี่ยวข้อง เช่น การรายงานผลการปฏิบัติราชการตามคำรับรองการปฏิบัติราชการ เสนอต่อ
"สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.)" (มหาวิทยาลัยไม่ต้องรายงานฯ
ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2552 เป็นต้นมาหลังจากมหาวิทยาลัยปรับเปลี่ยนสถานภาพเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ)
การรายงานการควบคุมภายในเสนอต่อ "คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน (คตง.)" เป็นต้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น