วันจันทร์ที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2562

การประกันคุณภาพการศึกษา


การประกันคุณภาพการศึกษา
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 มาตรา 48 “ให้หน่วยงานต้นสังกัด และสถานศึกษา จัดให้มีระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาและให้ถือว่าการประกันคุณภาพภายใน เป็น ส่วนหนึ่งของกระบวนการบริหารการศึกษาที่ดำเนินการอย่างต่อเนื่อง”
การประกันคุณภาพการศึกษาเป็นเครื่องมือสำคัญในการพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนให้ได้มาตรฐาน ทั้งในระดับอุดมศึกษา และระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ซึ่งแนวคิดที่เกี่ยวข้องมีดังต่อไปนี้
1. การประกันคุณภาพเครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียน (ASEAN Cooperation Initiative in Quality Assurance)
การประกันคุณภาพการศึกษาเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการสร้างมาตรฐานและเสริมสร้าง คุณภาพการศึกษาของหลักสูตร โดยเฉพาะอย่างยิ่งระบบการประกันคุณภาพการศึกษาระดับในอาเซียน (AUN Quality Assurance - AUN-QA) ที่ตระหนักถึงความสำคัญของประกันคุณภาพการศึกษาใน ระดับอุดมศึกษาและความจำเป็นในการพัฒนาระบบประกันคุณภาพแบบองค์รวมเพื่อยกระดับมาตรฐาน การศึกษา ให้แก่มหาวิทยาลัยในเครือข่าย AUN เครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียน (ASEAN University Network - AUN) ซึ่งระบบประกันคุณภาพการศึกษาในอาเซียน (AUN Quality Assurance  AUN-QA) เป็นกลไกการ ประกันคุณภาพการศึกษาและสร้างมาตรฐานการอุดมศึกษาของมหาวิทยาลัยสมาชิกให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน การรับรองมาตรฐานระดับหลักสูตรจะเริ่มต้นจากความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และนำมากำหนดไว้ในผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดว่าจะได้รับ ซึ่งเป็นตัวขับเคลื่อนหลักสูตรการรับรองมาตรฐานคุณภาพ ระดับหลักสูตร ตามเกณฑ์ ASEAN University Network Quality Assurance: AUN-QA โดยมีเกณฑ์พิจารณา 11 หมวด ได้แก่
1. ผลการเรียนรู้ที่คาดหวังไว้
2. ข้อกําหนดหลักสูตร
3. โครงสร้างหลักสูตรและเนื้อหา
4. แนวทางการสอนและการเรียนรู้
5. การประเมินผลนักศึกษา
6. คุณภาพบุคลากรสายวิชาการ
7. คุณภาพบุคลากรสายสนับสนุน
8. คุณภาพของนักศึกษาและการสนับสนุน
9. สิ่งอํานวยความสะดวกและโครงสร้างพื้นฐาน
10. การเพิ่มคุณภาพ
11. ผลผลิต
มหาวิทยาลัยในเครือข่าย AUN ได้มีการนําเกณฑ์ดังกล่าวมาใช้ในการประกันคุณภาพการศึกษา ระดับหลักสูตร (AUN-QA Assessment) โดยหลักสูตรที่มีความพร้อม มหาวิทยาลัยจะยื่นขอรับรองโดย AUN-QA ต่อไป
ภาพประกอบที่ 12 ความสัมพันธ์องค์ประกอบที่เกี่ยวข้องกับ Learning outcome
2. การประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
สำนักทดสอบทางการศึกษา กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ (2545) ได้ศึกษาและพัฒนา ระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน จากผลการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ได้ประกาศเป็นกฎกระทรวงกำหนดระบบ หลักเกณฑ์และวิธีการประกันคุณภาพ การศึกษาภายในสถานศึกษา ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน และเอกสารการดําเนินงานตามระบบดังกล่าว ได้แก่
1. ระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา
2. แนวทางการจัดทำระบบสารสนเทศสถานศึกษา
3. แนวทางการบริหารจัดการคุณภาพสถานศึกษา
4. แนวทางการจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา
5. แนวทางการตรวจสอบและทบทวนคุณภาพภายในของสถานศึกษา
6. แนวทางการรายงานคุณภาพการศึกษาประจําปีของสถานศึกษา
7. แนวทางการตรวจสอบและทบทวนคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา โดยเขตพื้นที่
การศึกษา
ระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา : กรอบและแนวการดําเนินงาน เขียนแสดง ความสัมพันธ์ได้ดังภาพประกอบที่ 13


เพิ่มเติม
นิยามและความหมายของการประกันคุณภาพการศึกษา

คุณภาพการศึกษา หมายถึง คุณลักษณะที่พึงประสงค์ตาม ปณิธานและภารกิจของการจัด การศึกษาระดับอุดมศึกษาตามนโยบายการพัฒนาการอุดมศึกษาของประเทศ ตลอดจนปณิธานและ ภารกิจเฉพาะในการจัดการศึกษาของแต่ละสถาบัน
การประกันคุณภาพการศึกษาระดับอุดมศึกษา หมายถึง การมีระบบและกลไกในการ ควบคุม ตรวจสอบ และประเมินการดำเนินงานในแต่ละองค์ประกอบคุณภาพตามดัชนีบ่งชี้ที่ กำหนด เพื่อเป็นหลักประกันแก่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องและสาธารณะชนได้มั่นใจว่าสถาบันนั้นๆ สามารถให้ผลผลิตทางการศึกษาที่มีคุณภาพ
การประกันคุณภาพการศึกษา (QUALITY ASSURANCE) หมายถึง การทำกิจกรรม หรือ การปฏิบัติภารกิจหลักอย่างมีระบบตามแบบแผนที่กำหนดไว้ โดยมีการควบคุมคุณภาพ (QUALITY CONTROL) การตรวจสอบคุณภาพ (QUALITY AUDITING) และการประเมิน คุณภาพ (QUALITTY ASSESSMENT) จนทำให้เกิดความมั่นใจในคุณภาพและมาตรฐานของดัชนี ชี้วัด ระบบและกระบวนการผลิต ผลผลิตและผลลัพธ์ ของการจัดการศึกษา ประกอบด้วยการ ประกันคุณภาพภายใน และการประกันคุณภาพภายนอก
การประกันคุณภาพภายใน หมายถึง การประเมินผลและการติดตามตรวจสอบคุณภาพ และ มาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา จากภายในโดยบุคลากรของสถานศึกษานั่นเอง หรือโดย หน่วยงานต้นสังกัดที่มีหน้าที่กำกับดูแลสถานศึกษานั้น
             การประกันคุณภาพภายนอก หมายถึง การประเมินผลและการติดตามตรวจสอบคุณภาพ และมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาจากภายนอกโดยสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมิน คุณภาพการศึกษา หรือบุคคล หรือหน่วยงานภายนอกที่สำนักงานดังกล่าวรับรองเพื่อเป็นการ ประกันคุณภาพและให้มีการพัฒนาคุณภาพ และมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา ระบบและกลไก หมายถึง ขั้นตอนการดำเนินงานต่างๆที่มีความสัมพันธ์ และเชื่อมโยงกัน อย่างเป็นระบบ โดยอาศัยบุคลากร ทรัพยากร กฏเกณฑ์ มาตรการ แนวปฏิบัติ และปัจจัยต่างๆ เป็น กลไกให้การดำเนินงานบรรลุเป้าหมาย
             การควบคุมคุณภาพการศึกษา หมายถึง การมีระบบและกลไกในแต่ละองค์ประกอบ คุณภาพเพื่อกำกับการดำเนินงานของสถาบันให้ได้ผลตามดัชนีบ่งชี้คุณภาพที่กำหนด การตรวจสอบคุณภาพการศึกษา หมายถึง กระบวนการในการศึกษาวิเคราะห์ว่าสถาบันมี ระบบ และกลไกควบคุมคุณภาพ และได้ปฏิบัติ ตลอดจนมีผลการปฏิบัติตามระบบ และกลไก ดังกล่าว
             การประเมินคุณภาพการศึกษา หมายถึง กระบวนการวิเคราะห์และเปรียบเทียบผลการ ดำเนินงานของสถาบันว่า ส่งผลต่อคุณภาพตามดัชนีบ่งชี้
             องค์ประกอบคุณภาพ หมายถึง ปัจจัยหลักในการดำเนินงานของสถาบันที่มีผลต่อ คุณภาพ การศึกษา

    ดัชนีบ่งชี้คุณภาพ หมายถึง ตัวบ่งชี้ว่าการดำเนินงานในแต่ละองค์ประกอบคุณภาพเป็นไป ตามเกณฑ์ และมาตรฐานการศึกษาที่กำหนด

    ผลผลิตทางการศึกษา หมายถึง ผลการดำเนินตามภารกิจหลัก ประกอบด้วย การผลิต บัณฑิต การวิจัย การบริการทางวิชาการ การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและภารกิจหลักอื่นๆของ สถาบันอุดมศึกษา

    มาตรฐานการศึกษา หมายถึง ข้อกำหนดเกี่ยวกับคุณลักษณะที่พึงประสงค์และมาตรฐานที่ ต้องการให้เกิดขึ้นในสถานศึกษาทุกแห่ง และเพื่อใช้เป็นหลักในการเทียบเคียงสำหรับการส่งเสริม และกำกับดูแล การตรวจสอบ การประเมินผล และการประกันคุณภาพทางการศึกษา

    ประสิทธิภาพ หมายถึง ความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณทรัพยากรที่ใช้ไปกับปริมาณผลผลิต ที่เกิดจากกระบวนการ กล่าวคือ ประสิทธิภาพแสดงถึงความสามารถในการผลิต และความคุ้มค่า ของการลงทุน

    ประสิทธิผล หมายถึง ความสัมพันธ์ระหว่างผลลัพธ์ของการทำงานกับเป้าหมาย หรือ วัตถุประสงค์ ที่ตั้งไว้ กล่าวคือ ประสิทธิผลจะแสดงถึงความสามารถในการตอบสนองอย่างรวดเร็ว และทันเวลาเพื่อให้ได้ผลผลิต

    การรับรองมาตรฐาน หมายถึง การให้การรับรองการทำการประเมินคุณภาพภายนอกของผู้ ประเมินภายนอกที่มีคุณลักษณะ และคุณภาพที่พึงประสงค์ตามหลักเกณฑ์ และมาตรฐานที่ สำนักงานกำหนด




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ชั้นบรรยากาศ

  บรรยากาศ  (atmosphere)  หมายถึง  อากาศในที่ต่าง ๆ ทั้งหมดซึ่งเป็นส่วนที่ห่อหุ้มโลกอยู่โดยรอบ  จะอยู่สูงจากผิวโลกขึ้นไปประมาณ 800-1,000 กิโ...