แบบจําลองการเลือกสื่อ
แบบจําลองการเลือกสื่อการเรียนการสอนมีหลายเเบบ
สําหรับการพิจารณาแต่ละแบบจะ เลือกสื่อที่ต่างกัน สิ่งที่น่าสังเกตคือ
แต่ละแบบมีความต่างกันอย่างไร และพิจารณาว่ามีอะไรเป็นนัยขอ ต่าง
แต่ละแบบจําลองพัฒนาขึ้นเพื่อช่วยในการเลือกและการใช้ประโยชน์จากวัสดุ
ให้สังเกตการ ไม่ได้นํามาเสนอวิธีการเลือกสื่อที่ตายตัว และภาพที่ 8
ซึ่งใช้สําหรับโครงการการพัฒนาการเรียนสอน กองทัพอากาศ
แบบจําลองของวิลเลียม
ออลเลน
ในแบบจําลองของวิลเลี่ยม
ออลเลน (William alien) ผู้ออกแบบการเรียนการสอนต้องตัดสินใจ
เกี่ยวกับการจําแนกจุดประสงค์และการจําแนกความสามารถสูงสุดของสื่อการเรียนสอนที่จะพลิกแพลงให้เข้า
กับจุดประสงค์ ออลเลน ได้ตรวจสอบประสิทธิผล สื่อสําหรับวัดชนิดของการเรียนรู้
ด้วยเหตุผลนี้ ออลเลน ได้สร้างตารางแจกแจงสองทาง
ซึ่งจําแนกสื่อที่ให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูง ปานกลาง และต่ํา ตามชนิดของ
การเรียนรู้ เมื่อใช้แบบจําลองนี้
ผู้ออกแบบควรพยายามหลีกเลี่ยงสื่อที่ให้ผลสัมฤทธิ์ต่ํากับชนิดของการเรียนรู้ (aien,1967 : 27-31) อย่างไรก็ตาม
ถ้าผู้ออกแบบเลือกสื่อที่ให้ผลสัมฤทธิ์ต่ําหรือปานกลางผู้ใช้ควรรับรู้ ข้อจํากัด
แบบจําลองของเยอร์ลาชและอีลี
แบบจําลองเยอร์ลาชและอีลี (Gerlach and
Ely) ได้เป็นที่รู้จักกันในปี ค.ศ. 1971 ในตําราที่ชื่อว่า
การสอนและสื่อ เยอร์ลาชและอีลีได้นําเสนอเกณฑ์
ซึ่งสามารถประยุกต์ใช้ในการเลือกสื่อการเรียนการสอน
หลังจากที่ระบุจุดประสงค์และระบุพฤติกรรมความพร้อมที่จะรับการสอน (entering
behaviors) แล้วเกม ดังกล่าวประกอบด้วยประการที่ 1
ความเหมาะสมทางปัญญา (สื่อสามารถส่งผ่านตัวกระตุ้นตามเจตนา ของจุดประสงค์หรือไม่)
ประการที่ 2 ระดับของความเข้าใจ (สื่อทําให้ผู้เรียนเข้าใจหรือไม่) ประการ"
ประการที่ 4 ประโยชน์ (เครื่องมืออุปกรณ์และวัสดุมีประโยชน์หรือไม่) และประการที่
5 คุณภาพทาง (คุณลักษณะทางการฟังและการดูของการผลิตมีคุณภาพเพียงพอหรือไม่) (Gerlach
and Ely,1980) ""
แสดงให้เห็นความสัมพันธ์ของจุดประสงค์กับทางเลือกในการเลือกสื่อตําราของเยอร์ลาชและอก
พิมพ์ครั้งที่สองในปี ค.ศ. 1980 โดยที่ผู้เขียนตั้งใจเขียนขึ้นสําหรับครทุกระดับ
ดังภาพประกอบ
ภาพประกอบ แบบจําลองการเรียนการสอน : การเลือกสื่อ ที่มา Frederick G. Knirk, and Kent L. Gustafson, Instructional Technology A Systematic Approach to Education (New York: Holt, Rinehart and Winston, 1986), p.170.
การขยายขอบเขตการเรียนรู้ด้วยการวิจัยการเรียนรู้
ผู้สอนสามารถปรับปรุงความสามารถในด้านวิชาการของผู้เรียนด้วยการวิจัย
การวิจัยการเรียนรู้จะ
ช่วยให้ได้ข้อมูลประกอบการตัดสินใจว่าเงื่อนไขอะไรที่ทําให้มีการเรียนรู้เพิ่มขึ้นในสถานการณ์ที่คล้ายคลึง
กับที่ตนเผชิญอยู่นักวิทยาศาสตร์พฤติกรรมใช้วิธีการในการศึกษาพฤติกรรมด้วยการสังเกตบุคคลในสถานที่
กรณีที่หลากหลาย ด้วยการตั้งคําถามลึกๆ
เกี่ยวกับประสบการณ์มีการสํารวจประชากรกลุ่มใหญ่เพื่อที่จะ ตัดสินใจว่า
ประชาชนเหล่านั้นชอบหรือไม่ชอบ นักออกแบบสร้างและใช้แบบทดสอบสําหรับความสามารถ
และคุณลักษณะของคนจํานวนมาก
แต่สิ่งที่สําคัญที่สุดและเป็นการให้ผลต่อการศึกษาการเรียนรู้ คือ การ ทดลอง
ซึ่งนักวิจัยระมัดระวังและควบคุมการศึกษาสาเหตุและผลที่ได้รับ
แบบมโนทัศน์ของการวิจัยเกี่ยวกับการออกแบบการเรียนการสอน
เนื้อหาส่วนใหญ่ของงานวิจัยที่ เกยวกับตัวแปรการออกแบบการเรียนการสอนต้องไม่กว้างเกินไปโดยปราศจากของการจัดการ
ริชชี ได้จัดกลุ่มงานวิจัยเกี่ยวกับตัวแปรการเรียนการสอนเป็นสี่กลุ่มใหญ่ คือ
ผู้เรียน เนื้อหาวิชา สิ่งแวดล้อม และระบบ คอน
การออกแบบการเรียนการสอนขึ้นอยู่กับธรรมชาติของความชี้เฉพาะในแต่ละกลุ่มอย่างหลากหลาย
ตาราง
ตัวอย่างของการปฏิบัติเชิงการเปลี่ยนแปลง
การปฏิบัติเชิงความจํา
(recognition practice)
คาร์บูเรเตอร์ตัวไหนทํางานถูกต้อง
เมฆที่เห็นเป็นชนิดที่เรียกว่า
นิมบัส (nimbus) หรือคุมูลัส (cumulus)
การแก้ไขการปฏิบัติ
(editing practice)
คาร์บูเรเตอร์นี้ทํางานไม่ถูกต้อง
ทําให้ถูกต้อง
เมฆที่เห็นไม่ใช่นิมบัส
เป็นเมฆชนิดใด
การปฏิบัติที่ให้ผล
(production practice)
ในการติดตั้งคาร์บูเรเตอร์
อย่าลืมต้องติดตั้งโช้ค (choke) ก่อน
จงดูรูปร่างและสีของเมฆ
แล้วบอกว่าเป็นเมฆชนิดใด
ข้อมูลป้อนกลับ
(Feedback) อีกวิธีการหนึ่งที่จะทําให้การผิดพลาดลดลงคือ
การให้ผู้เรียนได้รับรู้ที่ การตอบสนองนั้นไม่ถูกต้อง
การรู้ว่าถูกหรือผิดจะช่วยให้ผู้เรียนแก้ไขการกระทําให้ถูกต้องระหว่างทดลอง
และเน้นไปที่ส่วนของภาระงานที่ต้องการกลั่นกรอง
การเรียนรู้จากสื่อเคลื่อนที่
เทคโนโลยีแบบเคลื่อนที่
(Mobile technology) จะช่วยให้ผู้เรียนได้เรียนรู้แบบพลวัตรที่สร้างสรรค์
การเรียนรู้แบบมีปฏิสัมพันธ์กันภายใต้สิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ทั้งในห้องเรียนและนอกห้องเรียน
ในยุคที่ความ เจริญก้าวหน้าของสื่อสารไร้สายนี้ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ประเภทโน็ตบุ๊คคอมพิวเตอร์
โทรศัพท์มือถือ (รวมถึง TABLETS) กล้องถ่ายภาพดิจิทัล
เครื่องเล่น MP3 หรือ MP4
และอุปกรณ์อิเลคทรอนิกส์อื่น ๆ อีก มากมาย ในที่นี้ขอเรียกว่า สื่อเคลื่อนที่ (Mobile
devices) สามารถนํามาใช้เพื่อช่วยให้ผู้เรียนได้การตอบสนอง
ได้รวดเร็ว มีปฏิสัมพันธ์แบบโต้ตอบให้ประสบการณ์ที่ดี เช่น
ในการสอนวิชาภาษาต่างประเทศ สามารถ
แลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ผ่านสื่อเคลื่อนที่ดังกล่าวนี้
ทั้งนี้ผู้เรียนยังใช้ประโยชน์ในการส่งอีเมล
หรือใช้ประโยชน์เพื่อการนันทนาการได้อีกด้วย ในบางกรณีผู้เรียนยังมีความคาดหวังที่จะได้เรียนรู้แม้ว่าจะ
ไม่ได้เข้าชั้นเรียน
โดยที่ผู้เรียนสามารถติดตามบทเรียนตามที่ต้องการได้สะดวกจากเว็บไซต์
เพิ่มเติม
ระบบการสอนของเกอร์ลาซและอีลี
เพิ่มเติม
ระบบการสอนของเกอร์ลาซและอีลี
ระบบการสอนของเกอร์ลาซและอีลี นับเป็นระบบการสอนที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย
มีการแบ่งขั้นตอนออกได้เป็น 10 ขั้นตอน คือ
1. การกำหนดวัตถุประสงค์ (Specification
of Objectives) คือการกำหนดวัตถุประสงค์ของการเรียนขึ้นมาก่อนวาควรเป็น
วัตถุประสงค์เฉพาะ หรือ วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม ที่ผู้เรียนสามารถปฏิบัติและผู้สอนวัดหรือสังเกตได้
2. การกำหนดเนื้อหา (Specification of
Content) เป็นการเลือกเนื้อหาที่เหมาะสม
เพื่อกำหนดให้ผู้เรียนได้เรียนรู้และบรรลุถึงวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรมที่ตั้งไว้
3. การประเมินพฤติกรรมเบื้องต้น (Assessment
of Entry Behaviors) เป็นการประเมินก่อนเรียน
เพื่อให้ทราบถึงพฤติกรรมและภูมิหลังของผู้เรียนก่อนที่จะเรียนเนื้อหานั้น ๆ
ว่าผู้เรียนมีความรู้ความสามารถในเรื่องที่จะสอนนั้นมากน้อยเพียงใด
เพื่อเป็นแนวทางในการที่จัดการเรียนการสอนได้อย่างเหมาะสม
4. การกำหนดกลยุทธของวิธีการสอน (Determination
of Strategy) เป็นวิธีการของผู้สอนในการใช้ความรู้
เลือกทรัพยากรและกำหนดบทบาทของผู้เรียนในการเรียน
ซึ่งเป็นแนวทางเฉพาะเพื่อช่วยให้สามารถบรรลุถึงวัตถุประสงค์ของการเรียนการสอนนั้น
กล่าวคือ
4.1 การสอนแบบเตรียมเนื้อหาความรู้ให้แก่ผู้เรียนโดยสมบูรณ์ทั้งหมด
(expository approach) เป็นการสอนที่ผู้สอนป้อนความรู้ให้ผู้เรียนโดยการใช้สื่อต่าง
ๆ และจากประสบการณ์ของผู้สอน
โดยที่ผู้เรียนไม่จำเป็นต้องค้นคว้าหาความรู้ใหม่ด้วยตนเองแต่อย่างใด
เช่น การสอนแบบ บรรยาย การสอนแบบอภิปราย
4.2 การสอนแบบสืบเสาะหาความรู้หรือแบบไต่สวน
(discovery or inquiry approach) ผู้สอนมี
บทบาทเพียงเป็นผู้เตรียมสื่อและจัดสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ
ในการเรียน
เป็นการจัดสภาพการณ์ให้การเรียนรู้บรรลุตามจุดมุ่งหมายที่ตั้งไว้โดยผู้เรียนต้องค้นคว้าหาความรู้เอาเอง
5. การจัดแบ่งกลุ่มผู้เรียน (Organization
of Groups) เป็นการจัดกลุ่มผู้เรียนให้เหมาะสมกับวิธีสอนและเพื่อให้ได้เรียนรู้ร่วมกันอย่างเหมาะสม
โดยพิจารณาจากวัตถุประสงค์ เนื้อหาและวิธีการสอนด้วย
6. การกำหนดเวลาเรียน (Allocation of
Time) โดยขึ้นอยู่กับเนื้อหาที่จะเรียน วัตถุประสงค์
สถานที่และความสนใจของผู้เรียน
7. การจัดสถานที่เรียน (Allocation of
Space) ซึ่งจะขึ้นอยู่กับขนาดของกลุ่มผู้เรียน เช่น
7.1 ห้องเรียนขนาดใหญ่
สามารถสอนได้ครั้งละ 50 – 300 คน
7.2 ห้องเรียนขนาดเล็ก เพื่อใช้ในการเรียนการสอนแบบกลุ่มย่อยหรือการจัดกลุ่มสัมมนาหรืออภิปราย
7.3 ห้องเรียนแบบเสรีหรืออิสระ
เพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนตามลำพังหรืออาจเป็นห้องศูนย์สื่อการสอนที่มีคูหาเรียนเป็นรายบุคคล
8. การเลือกสรรทรัพยากร (Allocation
of Resource) เป็นการที่ผู้สอนเลือกสื่อการสอนที่เหมาะสมกับวัตถุประสงค์
เนื้อหา วิธีการสอน และขนาดของกลุ่มผู้เรียน
เพื่อให้การสอนบรรลุตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้
8.1 สื่อบุคคลหรือของจริง
8.2 วัสดุและอุปกรณ์เครื่องฉาย
8.3 วัสดุและอุปกรณ์เครื่องเสียง
8.4 สื่อสิ่งพิมพ์
8.5 วัสดุที่ใช้แสดง
9. การประเมินสรรถนะ (Evaluation of
Performance) เป็นการประเมินความสามารถและพฤติกรรมของผู้เรียนอันเกิดจากกระบวนการปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนกับผู้เรียน
ระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน หรือระหว่างผู้เรียนกับสื่อการสอน
การประเมินเป็นสิ่งสำคัญมากในการเรียนและเป็นกระบวนการสุดท้ายของระบบการสอนที่ยึดเอาวัตถุประสงค์ที่วางไว้เป็นหลักในการดำเนินงาน
10. การวิเคราะห์ข้อมูลป้อนกลับ (Analysis
of Feedback) เพื่อทำให้ทราบว่าผลที่เกิดขึ้นนั้นป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้มากน้อยเพียงใด
เพราะเหตุใด
อันจะเป็นแนวทางในการปรับปรุงแก้ไขระบบการสอนให้มีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น