วันจันทร์ที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2562

การเรียนรู้จากสื่อดิจิทัล (Digital Learning)


การเรียนรู้จากสื่อดิจิทัล (Digital Learning)
D : การเรียนรู้จากสื่อดิจิทัล (Digital Learning) การเรียนรู้จากสื่อดิจิทัลเป็นการเรียนรู้ผ่านเครือข่าย เช่น เครือข่ายสังคมออนไลน์ (Social networking) การแชร์ภาพ และการใช้อินเทอร์เน็ตแบบเคลื่อนที่ เป็นต้น การเรียนรู้จากสื่อดิจิทัลมีนัยมากกว่าการรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ แต่ยังครอบคลุมถึงประเด็นต่างๆ เกี่ยวกับเนื้อหา (content) จริยธรรม สังคม และการสะท้อน(Reflection) ซึ่งฝังอยู่ในการเรียนรู้ การทํางาน และชีวิตประจําวัน
          พระธรรมปิฎก  กล่าวว่า สังคมข่าวสารข้อมูลหรือสังคมสามารถเทศโลกมีข่าวสารข้อมูลแพร่กรายกว้างขวางทั่วถึงรวดเร็วมาก   ก็คิดว่าคนจะฉลาด  คนจะมีปัญญา  จะเข้าสู่ยุคแห่งปัญญา  แต่ที่จริงการมีข้อมูลสารมากไม่จำเป็นองทำให้คนมีสติปัญญา หากว่าไม่พัฒนาคมให้จักรับและใช้ข้อมูลนั้น และกล่าวสรุปไว้ว่าจำแนกคนได้เป็นสามประเภท  ดังนี้ 
1.กลุ่มที่ตกเป็นเหยื่อ ในกรณีที่คนไม่พัฒนาสติปัญญาอย่างถูกต้องให้สามารถเข้าถึงข้อมูลอย่างแท้จริง และสามารถถือเอาประโยชน์จากข่าวสารข้อมูลได้ก็จะเป็นโทษอย่างมาก ข่าวสารข้อมูลจะกลายเป็น เครื่องมือล่อเร้าและหลอกลวง ทําให้คนเป็นเหยื่อ
2. กลุ่มที่รู้เท่าทัน คนจํานวนมากมีความภาคภูมิใจว่าตนตามทันข่าวสารข้อมูล มีข่าวสารข้อมูล อะไรออกมาก็ตามทันหมด ปรากฏว่าตามทันเท่านั้น แต่ไม่รู้เท่าทัน และก็ถูกกระแสข่าวสารข้อมูลท่วมทับ พัดพาไป กรณีเช่นนี้ถ้ามีปัญญารู้เท่าทัน    และก็ถูกกระแสข่าวสารข้อมูลท่วมทับพัดพาไป   
3. กลุ่มที่อยู่เหนือกระแส การรู้เท่าทันยังไม่พอ ควรที่จะสามารถทําได้ดีกว่านั้นอีกคือขึ้นไปอยู่ เหนือกระแส เป็นผู้ที่สามารถนําเอาข้อมูลข่าวสารมาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้อย่างแท้จริง คนกลุ่มนี้สามารถ จัดการกับกระแส โดยทําการเปลี่ยนแปลงในกระแสหรือนํากระแสให้เดินไปในทิศทางใหม่ที่ถูกต้อง
ศูนย์พัฒนาคุณภาพการศึกษาด้วยเทคโนโลยีการศึกษาทางไกล สํานักงานคณะกรรมการการศึกษา ขั้นพื้นฐานกระทรวงศึกษาธิการ ( http://www.dlthailand.com/thima-khxng-khorngkar ) อ้างอิงงานวิจัยของ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทยว่าสาเหตุหลักส่วนหนึ่ง ของปัญหา คุณภาพการศึกษาไทย คือ การที่ ระบบการศึกษาของไทยในปัจจุบันเป็นระบบที่ไม่เอื้อต่อการสร้าง ความรับผิดชอบ (Accountability) หลักสูตรและตําราเรียนของไทยไม่สอดคล้องกับ การพัฒนาทักษะแห่ง ศตวรรษที่ 21 (21st Century Skills) ซึ่งมีผลทําให้การเรียนการสอน ตลอดไปจนถึงการทดสอบยังคงเน้น การจดจําเนื้อหามากกว่าการเรียนเพื่อให้ มีความรู้ความเข้าใจอย่างแท้จริง อีกทั้งสภาพการจัดการศึกษาของ ประเทศไทยในปัจจุบัน กําลังประสบปัญหาในด้านคุณภาพของนักเรียน  ปรากฏอยู่ในหลายพื้นที่ ซึ่งมีสาเหตุจาก การขาดครูหรือครูไม่ครบชั้นไม่ การเรียนรู้ครูมีประสบการณ์หรือทักษะการจัดการเรียนรู้น้อย ขาดสื่อ อุปกรณ์ที่ทันสมัยและการเข้าถึงได้ลำบาก ครูมีเวลาในการจัดการเรียนการสอนน้อย กิจกรรมของโรงเรียนมีมาก ทรัพยากรที่มีกระจัด ไม่สามารถนํามาใช้ประโยชน์ได้อย่างคุ้มค่า และการแก้ปัญหาต่างๆก็ทําได้ในวงจํากัด
กระทรวงศึกษาธิการได้จัดทํา โครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศมี กิจกรรมหลัก คือการพัฒนาคุณภาพการศึกษาด้วยเทคโนโลยีการศึกษาทางไกลโดยแบ่งเป็น 2 กิจกรรมย่อย คือ การพัฒนาคุณภาพการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม (DLTV) และ การพัฒนาคุณภาพการศึกษาทางไกล ผ่านเทคโนโลยีสารสนเทศ (DLIT) การพัฒนาคุณภาพการศึกษาด้วยเทคโนโลยีทางไกล (Distance Learning) เป็นการจัดการศึกษาที่ใช้เทคโนโลยี ในการจัดการเรียนการสอนในทุกห้องเรียน แก้ปัญหาการ ขาดแคลนครูในโรงเรียนขนาดเล็ก ครูสามารถจัดการเรียนรู้ในทุกสาระได้อย่างมีประสิทธิภาพ นักเรียนและ ครได้เข้าถึง สื่อเทคโนโลยีที่ทันสมัย นักเรียนและครูมีเครือข่ายในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และทุกภาคส่วนเข้า มามีส่วนร่วม ในการจัดการศึกษา การนําเทคโนโลยีการศึกษาทางไกล (Distance Learning) มายกระดับ คุณภาพการศึกษา เป็น 2 รูปแบบ ได้แก่ การจัดการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม (Distance Learning Television : DLTV) และการจัดการศึกษาทางไกลผ่านเทคโนโลยีสารสนเทศ (Distance Learning via Information Technology : DLIT) มาดําเนินงานโดยเร่งด่วนเพื่อแก้ปัญหาคุณภาพการศึกษา โดยมีการจัด สภาพการสนับสนุนการจัดการเรียนการสอน ของครูอย่างครบถ้วน ทั้งกระบวนการออกแบบกิจกรรมการ เรียนการสอนที่เน้น กระบวนการสร้างความรู้ จากการลงมือปฏิบัติ เนื้อหา ตลอดจนสื่อและอุปกรณ์ที่จําเป็น ในการจัดเรียนการสอน อันจะเป็นการลดความเหลื่อมล้ําทางการศึกษา ลดช่องว่างและเพิ่มโอกาสในการ เข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพให้กับ ประชาชนไทยทุกคน อันเป็นการดําเนินการตามรอยเบื้องพระยุคลบาท และสนองพระราชดําริในการที่จะพัฒนาการศึกษาไทยให้เจริญก้าวหน้า
เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ (การศึกษาจะถูกเปลี่ยนในยุคเศรษฐกิจดิจิทัล บทความไอที 24 ชั่วโมง วันที่: 25 พฤศจิกายน 2016) ได้เสนอบทความเรื่อง การศึกษาจะถูกเปลี่ยนในยุคเศรษฐกิจดิจิทัล สรุปความว่า เทคโนโลยีที่โดดเด่นที่กําลังทําให้สิ่งของทุกสรรพสิ่งบนโลกสามารถเชื่อมต่อกันได้ นั้นคือ Internet of Everything (IoE) IoE จะสร้างสภาพแวดล้อมแห่งการเรียนรู้ ที่มีการปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนและผู้สอน มากกว่าในอดีตที่ผ่านมา เช่น นักศึกษาที่อาศัยอยู่ในลอนดอนสามารถร่วมรับฟังการบรรยายจาก สถาบันการศึกษาในสหรัฐอเมริกาได้ โดยอาศัยอุปกรณ์สื่อสารที่ทําให้ระยะทางไม่เป็นอุปสรรคในการเรียน โดยข้อมูลการเรียนรู้และข้อมูลทั้งหมดจะพร้อมให้ผู้เรียนสามารถเข้าถึงข้อมูลทั้งหมดได้ตลอดเวลาข้อมูล และสื่อการสอนต่างๆ ที่มีอยู่จะถูกนํามาใช้ร่วมกันในรูปแบบใหม่ ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นที่จะส่งผลกระทบต่อ “วิธีการ” และ “สถานที่ ที่ใช้ในการเรียนรู้ ดังนั้นผู้เรียนจะต้องเปลี่ยนแปลงในสิ่งที่ต้องการเรียนรู้เศรษฐกิจ ที่เฟื่องฟูทําให้ IoE มีความจําเป็นมากกว่าทักษะและจํานวนของผู้เชี่ยวชาญ อีกทั้งการเชื่อมต่อที่เกิดขึ้น โดยIoE จะทําให้อุปกรณ์สามารถนํามาใช้ประเมินประสิทธิภาพของผู้เรียน สามารถออกแบบแบบฝึกหัดหรือ แบบทดสอบเพื่อทดสอบจุดอ่อนและจุดแข็งของผู้เรียน และผู้เรียนสามารถประเมินศักยภาพได้ด้วยตัวเอง นอกจากนี้ IoE ยังสามารถเปลี่ยนวิธีการเรียนรู้ของผู้มีความบกพร่องทางร่างกายและทางสติปัญญา เช่น ใน ประเทศออสเตรเลีย นําเทคโนโลยีเซ็นเซอร์ไปใช้ในโรงเรียนสอนผู้มีความบกพร่องทางร่างกาย โดย เซ็นเซอร์จะเข้ามาเปลี่ยนแปลงวิธีการเรียนรู้ภาษามือของผู้เรียน และใช้ในการปรับปรุงการเรียนรู้สําหรับ ผู้เรียนสมาธิสั้น โดยการตรวจเช็คการทํางานของสมองและการให้รางวัลสําหรับผู้เรียนที่มีพัฒนาการเรียนที่ดี
คณะกรรมการอิสระเพื่อการปฏิรูปการศึกษา (กอปศ สํานักงานเลขาธิการสภาการศึกษา ข่าว ประชาสัมพันธ์ วันที่ 4 พฤษภาคม 2561) ได้นําเสนอ Digital Learning Platform แนวทางการจัดการเรียนการ สอนผ่านระบบออนไลน์และการใช้สื่อดิจิทัลเพื่อการปฏิรูปการศึกษา ณ สํานักงานเลขาธิการสภาการศึกษา สรุปได้ว่า ในเรื่องของการศึกษา สิ่งแรกที่ต้องกระทําคือปรับกระบวนทัศน์ (Paradigm) ให้ชัดเจน ชัยชนะจะ เกิดขึ้นได้อยู่ที่ Big data ซึ่ง Big data ในที่นี้ความหมายที่ถูกต้องคือ ข้อมูลที่เอามาวิเคราะห์และเอาไปใช้ ประโยชน์ในการบริหารได้โดยสะดวก ไม่ใช่หมายถึงข้อมูลจํานวนมากที่จัดเก็บไว้ในคอมพิวเตอร์แม่ ข่าย นอกจาก Big data แล้ว จิตวิทยาในการจัดการศึกษาเป็นสิ่งที่ละเลยไม่ได้ ต้องออกแบบในสิ่งที่ผู้เรียน อยากเรียน ไม่ใช่ออกแบบอย่างที่เราต้องการ ต้องสร้างความเข้มแข็งจากภายใน เพราะที่ผ่านมาไม่ค่อยให้ ความสนใจกับผู้ใช้ (User) และผู้เรียน (Learner) กระทรวงศึกษาธิการต้องตั้งโจทย์ว่าผู้เรียนอยากรู้อะไรที่ไม่ เคยรู้และไม่เคยคิดว่าจะมีทางทําได้ ประเทศไทยกําลังเข้าสู่การเปลี่ยนผ่านสําคัญ 5 ด้าน ได้แก่
1) Digital Infrastructure การวางระบบโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัล ซึ่งกระทรวงดิจิทัลเพื่อ เศรษฐกิจและสังคมได้ดําเนินการโครงการเน็ตประชารัฐเข้าถึงพื้นที่ระดับชุมชน
2) คนกับดิจิทัล ต้องมีการสร้างคนในระดับต่างๆ การศึกษาต้องจับคู่กับความต้องการของด้าน แรงงานให้เหมาะสม ว่ามีความต้องการคนทํางานที่มีคุณสมบัติอย่างไร และด้านใดบ้าง เพราะจะเห็นได้ว่าใน บางธุรกิจเช่นธุรกิจธนาคาร หรือบางอุตสาหกรรม คนเริ่มถูก AI เข้ามาแทนที่แล้ว
3) Big Data ในภาครัฐ ต้องมีการบูรณาการข้อมูลระหว่างกระทรวงเพื่อนํามาวิเคราะ" ออกแบบ และวางแผนทางด้านนโยบายต่างๆ เช่น การเชื่อมโยงข้อมูลการผลิตกําลังคนในระบบการศึกษา ตอบโจทย์ความต้องการแรงงานในภาคอุตสาหกรรม เป็นต้น
4) Cyber Security ต้องให้ความสําคัญกับความปลอดภัยของระบบสารสนเทศ
5) Internet of Things (IOT) มหาวิทยาลัยต้องเร่งพัฒนาเทคโนโลยี IOT
อติพร   เกิดเรือง  (2560)  ได้เสนอผลการศึกษาเรื่อง  การส่งเสริมการเรียนรู้ในศตวรรษที่21 รองรับสัคมไทยในยุคดิจิทล  สรุปดังนี้ 1. การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 เพื่อรองรับในยุคดิจิทัล มี 4 องค์ประกอบหลัก  คือ  1) การเรียนรู้เกี่ยวกับดิจิทัล 2)การคิดสร้างสรรค์ 3) การสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ และ 4) ผลิตภาพที่มีคุณภาพสูง 2. การเรียนรู้จากยุคเดิมสู่ยุค ดิจิทัล ต้องจัดการเรียนรู้ ที่คํานึงถึงความสัมพันธ์ระหว่างการเรียน การทํางาน และการดํารงชีวิต เน้นการ จัดการเรียนรู้ตลอดชีวิต ส่งเสริมการค้นคว้าด้วยตนเองโดยนําเทคโนโลยีเข้ามาช่วยใน การจัดการเรียนรู้ให้ มากที่สุด ผู้สอนเป็นผู้ชี้แนะแนวทางในการเรียนรู้ตามหลักสูตร และการวัดผลและประเมินผลพัฒนาการ มากกว่าการวัดผลสัมฤทธิ์ 3. การจัดการศึกษาในยุคดิจิทัล ต้องคํานึงถึงการปรับตัวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง เน้นการสร้างสรรค์ปรับแต่ง การเรียนรู้การคิดเชิงวิพากษ์และการแก้ปัญหาที่ซับซ้อน เน้นการใช้เครือข่าย ออนไลน์ การจัดการเรียนรู้สร้างสถานการณ์ จําลองให้ผู้เรียนพบประสบการณ์จริง เนื้อหาการเรียนรู้ควรมี การแลกเปลี่ยนเรียนรู้บนเครือข่ายออนไลน์ สามารถสร้างองค์ความรู้ แบ่งปันความรู้และเนื้อหาผ่านเครือข่าย ออนไลน์และส่งเสริมความรู้ในโลกแห่งการทํางานมากขึ้น

เพิ่มเติม


สื่อดิจิทัล (Digital Media)

     สื่อดิจิทัล เป็นนวัตกรรมที่สร้างขึ้นมาทดแทนสิ่งที่มีอยู่เดิม เพื่อให้ราคาถูกลงและรักษาไว้ซึ่งคุณภาพ เอื้อต่อประโยชน์การใช้สอย ที่มากกว่าเดิมและสื่อดิจิตอล (ตรงกันข้ามกับสื่ออนาล็อก) มักหมายถึงสื่ออิเล็กทรอนิกส์ซึ่งทางานโดยใช้รหัสดิจิตอล ในปัจจุบัน การเขียนโปรแกรมตั้งอยู่บนพื้นฐานของเลขฐานสอง ในกรณีนี้ ดิจิตอล หมายถึงการแยกแยะระหว่าง "0" กับ "1" ในการแสดงข้อมูล คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องจักรที่มักจะแปลข้อมูลดิจิตอลฐานสองแล้วจึงแสดงชั้นของเครื่องประมวลผลชั้นของข้อมูลดิจิตอลที่เหนือกว่า สื่อดิจิตอลเช่นเดียวกับสื่อเสียง วิดีโอ หรือเนื้อหาดิจิตอลอื่น ๆ สามารถถูกสร้างขึ้น อ้างอิงถึงและได้รับการแจกจ่ายผ่านทางเครื่องประมวลผลข้อมูลดิจิตอล สื่อดิจิตอลได้นามาซึ่งการเปลี่ยนแปลงอย่างใหญ่หลวงเมื่อเทียบกับสื่ออนาล็อก
    องค์ประกอบของสื่อดิจิตอล
     องค์ประกอบของสื่อดิจิตอลเบื้องต้นจึงน่าจะเป็นอย่างเดียวกันกับองค์ประกอบเบื้องต้นของ มัลติมีเดียด้วย ซึ่งมักประกอบไปด้วยพื้นฐาน 5 ชนิดได้แก่ 1. ข้อความ (Text) 2. เสียง (Audio) 3. ภาพนิ่ง (Still Image) 4. ภาพเคลื่อนไหว (Animation) 5. ภาพวีดีโอ (Video)
     1. ข้อความ  เป็นส่วนที่เกี่ยวกับเนื้อหาของมัลติมีเดีย ใช้แสดงรายละเอียด หรือเนื้อหาของเรื่องที่นาเสนอ ถือว่าเป็นองค์ประกอบพื้นฐานที่สาคัญของมัลติมีเดีย ระบบมัลติมีเดียที่นาเสนอผ่านจอภาพของเครื่องคอมพิวเตอร์ นอกจากจะมีรูปแบบและสีของตัวอักษรให้เลือกมากมายตามความต้องการแล้วยังสามารถกาหนดลักษณะของการปฏิสัมพันธ์ (โต้ตอบ)ในระหว่างการนาเสนอได้อีกด้วย ซึ่งปัจจุบัน มีหลายรูปแบบ ได้แก่
        1.1 ข้อความที่ได้จากการพิมพ์ เป็นข้อความปกติที่พบได้ทั่วไป ได้จากการพิมพ์ด้วย โปรแกรมประมวลผลงาน (Word Processor) เช่น NotePad, Text Editor, Microsoft Word โดยตัวอักษรแต่ละตัวเก็บในรหัส เช่น ASCII
       1.2 ข้อความจากการสแกน เป็นข้อความในลักษณะภาพ หรือ Image ได้จากการนาเอกสารที่พิมพ์ไว้แล้ว(เอกสารต้นฉบับ) มาทาการสแกน ด้วยเครื่องสแกนเนอร์ (Scanner) ซึ่งจะได้ผลออกมาเป็นภาพ(Image) 1ภาพ ปัจจุบันสามารถแปลงข้อความภาพ เป็นข้อความปกติได้ โดยอาศัยโปรแกรม OCR ข้อความอิเล็กทรอนิกส์ เป็นข้อความที่พัฒนาให้อยู่ในรูปของสื่อ ที่ใช้ประมวลผลได้
        1.3 ข้อความไฮเปอร์เท็กซ์ (HyperText) เป็นรูปแบบของข้อความ ที่ได้รับความนิยมสูงมากในปัจจุบัน โดยเฉพาะการเผยแพร่เอกสารในรูปของเอกสารเว็บ เนื่องจากสามารถใช้เทคนิค การลิงก์ หรือเชื่อมข้อความไปยังข้อความ หรือจุดอื่นๆ ได้
     2. เสียง  ถูกจัดเก็บอยู่ในรูปของสัญญาณดิจิตอลซึ่งสามารถเล่นซ้ากลับไปกลับมาได้ โดยใช้โปรแกรมที่ออกแบบ มาโดยเฉพาะสาหรับทางานด้านเสียง หากในงานมัลติมีเดียมีการใช้เสียงที่เร้าใจและสอดคล้องกับเนื้อหาใน การนาเสนอ จะช่วยให้ระบบมัลติมีเดียนั้นเกิดความสมบูรณ์แบบมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ยังช่วยสร้างความน่าสนใจและน่าติดตามในเรื่องราวต่างๆ ได้เป็นอย่างดี ทั้งนี้เนื่องจากเสียงมีอิทธิพลต่อผู้ใช้มากกว่าข้อความหรือภาพนิ่งดังนั้น เสียงจึงเป็นองค์ประกอบที่จาเป็นสาหรับมัลติมีเดียซึ่งสามารถนาเข้าเสียงผ่านทางไมโครโฟน แผ่นซีดีดีวีดี เทป และวิทยุ เป็นต้น
    3. ภาพนิ่ง  เป็นภาพที่ไม่มีการเคลื่อนไหว เช่น ภาพถ่าย ภาพวาด และภาพลายเส้น เป็นต้น ภาพนิ่งนับว่ามีบทบาทต่อระบบงานมัลติมีเดียมากกว่าข้อความหรือตัวอักษร เนื่องจากภาพจะให้ผลในเชิงการเรียนรู้หรือรับรู้ด้วยการมองเห็นได้ดีกว่า นอกจากนี้ยังสามารถถ่ายทอดความหมายได้ลึกซึ่งมากกว่าข้อความหรือตัวอักษรซึ่งข้อความหรือตัวอักษรจะมีข้อจากัดทางด้านความแตกต่างของแต่ละภาษา แต่ภาพนั้นสามารถสื่อความหมายได้กับทุกชนชาติ ภาพนิ่งมักจะแสดงอยู่บนสื่อชนิดต่างๆ เช่น โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์หรือวารสารวิชาการ เป็นต้น
    4. ภาพเคลื่อนไหว  ภาพกราฟิกที่มีการเคลื่อนไหวเพื่อแสดงขั้นตอนหรือปรากฏ การณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง เช่น การเคลื่อนที่ของลูกสูบของเครื่องยนต์ เป็นต้น ทั้งนี้เพื่อสร้างสรรค์จินตนาการให้เกิดแรงจูงใจจากผู้ชม การผลิตภาพเคลื่อนไหวจะต้องใช้โปรแกรมที่มีคุณสมบัติเฉพาะทางซึ่งอาจมีปัญหาเกิดขึ้นอยู่บ้างเกี่ยวกับขนาดของไฟล์ที่ต้องใช้พื้นที่ในการจัดเก็บมากกว่าภาพนิ่งหลายเท่า
    5. วิดีโอ  เป็นองค์ประกอบของมัลติมีเดียที่มีความสาคัญเป็นอย่างมาก เนื่องจากวิดีโอในระบบดิจิตอล สามารถ นาเสนอข้อความหรือรูปภาพ (ภาพนิ่งหรือภาพเคลื่อนไหว) ประกอบกับเสียงได้สมบูรณ์มากกว่าองค์ประกอบชนิดอื่นๆ อย่างไรก็ตาม ปัญหาหลักของการใช้วิดีโอในระบบมัลติมีเดียก็คือ การสิ้นเปลืองทรัพยากรของพื้นที่บนหน่วยความจาเป็นจานวนมาก เนื่องจากการนาเสนอวิดีโอด้วยเวลาที่เกิดขึ้นจริง (Real-Time) จะต้องประกอบด้วยจานวนภาพไม่ต่ากว่า 30 ภาพต่อวินาที(Frame/Second) ถ้าหากการประมวลผลภาพดังกล่าวไม่ได้ผ่านกระบวนการบีบอัดขนาดของสัญญาณมาก่อน การนาเสนอภาพเพียง 1 นาทีอาจต้องใช้หน่วยความจำมากกว่า 100 MB ซึ่งจะทาให้ไฟล์มีขนาดใหญ่เกินขนาดและมีประสิทธิภาพในการทางานที่ด้อยลงนั้นเอง
การเรียนรู้จากสื่อดิจิทัลคืออะไร

            ‘การรู้’ (Literacy) ในแง่ดั้งเดิมหมายถึงความสามารถอ่านและเขียนในภาษาที่ใช้ร่วมกันของวัฒนธรรม ส่วนการรู้ดิจิทัล หมายถึงการอ่านและการเขียนข้อความดิจิทัล เช่น สามารถ ‘อ่าน’ เว็บไซต์โดยผ่านการเชื่อมโยงหลายมิติ และ ‘การเขียน’ โดยการอัปโหลดภาพถ่ายดิจิทัลเพื่อเว็บไซต์เครือข่ายสังคมทักษะการทำงานที่จำเป็นในการดำเนินการและการสื่อสารด้วยเทคโนโลยีและสื่อ นอกจากนี้ยังหมายถึงความรู้เกี่ยวกับความสำคัญของเทคโนโลยีและสื่อที่มีผลกระทบ แต่ที่สำคัญกว่านั้น คือความสามารถที่จะวิเคราะห์และประเมิน ความรู้ที่มีอยู่ในเว็บไซต์ การเรียนการสอนและการเรียนรู้ไม่สามารถตีกรอบอยู่ในกิจกรรมที่ใช้กระดาษและปากกาเท่านั้นซึ่งหมายความว่าผู้เรียนและครูผู้สอนจำเป็นต้องรู้สึกได้ว่า เทคโนโลยีสามารถนำมาใช้ในทุกวิชาและเข้าใจว่า เทคโนโลยีดังกล่าวส่งผลกระทบต่อสิ่งที่รู้ในเรื่องต่างๆ เทคโนโลยีกำลังเปลี่ยนแปลงวิธีการที่เราศึกษาค้นคว้า เช่น ภูมิศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และวิทยาศาสตร์ ระบบจีพีเอส เรื่องเล่าออนไลน์ แบบจำลองทางฟิสิกส์ และการใช้ทัศนภาพ โปรแกรมการทำแผนที่อาจส่งผลกระทบต่อการเรียนภูมิศาสตร์การศึกษาวิทยาศาสตร์อาจรับรู้วิธีการโต้ตอบด้วยภาพการรู้ดิจิทัลในรายวิชาต่างๆ ไม่จำเป็นต้องนำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลงการสอนอย่างสิ้นเชิง ทักษะต่างๆที่เป็นส่วนหนึ่งของการเป็นความรู้แบบดิจิทัลโดยเฉพาะอย่างยิ่งการตั้งคำถามที่สำคัญ ทักษะของการศึกษาที่มีประสิทธิภาพและการวิเคราะห์ความผูกพันของผู้เรียนกับเนื้อหาวิชา จะยังคงช่วยให้ครูหาวิธีการสร้างสรรค์ที่มีประสิทธิภาพและมีส่วนร่วมในการจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตรการรู้ดิจิทัลมีความหมายมากกว่าทักษะด้านเทคโนโลยีอย่างง่าย ความเข้าใจรวมถึงทักษะที่ซับซ้อนมากขึ้นขององค์ประกอบและการวิเคราะห์ ความสามารถในการสร้างความหลากหลายของเนื้อหาที่มีการใช้เครื่องมือดิจิทัลต่างๆ ทักษะและความรู้ที่จะใช้ความหลากหลายของการใช้งานซอฟต์แวร์สื่อดิจิทัลและอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์เช่น คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์มือถือ และเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตความสามารถในการเข้าใจสื่อดิจิทัลเนื้อหาการใช้งานและความรู้ความสามารถในการสร้างด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล
         รู้ใช้ รู้เข้าใจ รู้สร้างสรรค์ เป็นคำที่แสดงลักษณะความรู้สามารถดิจิทัล
รู้ใช้ (Use) แสดงถึงความคล่องแคล่วทางเทคนิคที่จำเป็นในการใช้กับคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ตชุดรูปแบบพื้นฐานสำหรับการพัฒนาทักษะทางเทคนิคที่จำเป็น รวมถึงความสามารถในการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ เช่น โปรแกรมประมวลผลคำ เว็บเบราเซอร์E-mail และการสื่อสารอื่นๆ เครื่องมือค้นหาและฐานข้อมูลออนไลน์

เข้าใจ (Understand) คือความสามารถที่จะเข้าใจบริบทที่เกี่ยวข้อง และประเมินสื่อดิจิทัลตระหนักถึงความสำคัญของการประเมินผลที่สำคัญในการทำความเข้าใจดิจิทัลเนื้อหาของสื่อ และการประยุกต์ใช้สามารถสะท้อนให้เห็นถึงรูปร่างการเพิ่มหรือจัดการกับความรู้สึกความเชื่อของเราและความรู้สึกเกี่ยวกับโลกรอบตัวเราความเข้าใจความสำคัญของสื่อดิจิทัลที่ช่วยให้บุคคลเก็บเกี่ยวผลประโยชน์และลดความเสี่ยง การมีส่วนร่วมในสังคมเต็มรูปแบบดิจิทัล ทักษะชุดนี้ยังรวมถึงการพัฒนาทักษะการจัดกาสารสนเทศและการแข็งค่าของสิทธิคนและความรับผิดชอบในการไปถึงทรัพย์สินทางปัญญา ในเศรษฐกิจความรู้ ชาวแคนาดาจำเป็นต้องรู้วิธีการหาประเมินผลและมีประสิทธิภาพใช้ข้อมูลเพื่อการสื่อสารการทำงานร่วมกันและแก้ปัญหาในชีวิตส่วนตัวและเป็นมืออาชีพของพวกเขา
สร้างสรรค์ (Create) ความสามารถในการสร้างเนื้อหาและมีประสิทธิภาพ การติดต่อสื่อสารโดยใช้ความหลากหลายของสื่อดิจิทัลเป็นเครื่องมือ การสร้างสื่อดิจิทัลมีความหมายมากกว่าความสามารถในการใช้โปรแกรมประมวลผลหรือเขียนอีเมล์ รวมถึงความสามารถในการปรับการสื่อสารกับสถานการณ์และผู้รับสารการสร้างและติดต่อสื่อสารโดยใช้สื่อผสม เช่น ภาพวีดิโอและเสียงประกอบอย่างมีประสิทธิภาพและมีความรับผิดชอบ ประกอบกับเนื้อหาเว็บไซต์ที่ผู้เรียนสร้าง เช่นบล็อกและเวทีสนทนา วีดิโอแลภาพถ่ายร่วมกัน เล่นเกมทางสังคม และรูปแบบอื่นๆ ของสื่อสังคม แนวคิดนี้ยังตระหนักถึงสิ่งที่เป็นความรู้ในโลกดิจิทัลที่ไม่เพียงแต่สร้างความชำนาญทางด้านเทคโนโลยีเท่านั้น แต่ยังคำนึงถึงจริยธรรม การปฏิบัติทางสังคมและการสะท้อนสิ่งที่ฝังอยู่ในการเรียนรู้ การใช้เวลาว่าง และการใช้ชีวิตประจำวัน
 การเรียนรู้แบบดิจิตอลมีผลกระทบอย่างไร
           การเรียนรู้แบบดิจิตอลมีผลกระทบต่อการพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ รูปแบบการนาเสนอเนื้อหา และพฤติกรรมของผู้อ่าน อันเนื่องจากลักษณะที่ทางกายภาพเปลี่ยนไปของหนังสือแบบเดิมไปสู่เนื้อหาการเรียนรู้แบบดิจิตอล  ดังนั้นการใช้เนื้อหาการเรียนรู้แบบดิจิตอลผู้เรียนต้องมีการปรับตัวให้สามารถใช้เนื้อหาแบบนี้ได้ และผู้เรียน จึงต้องมีการศึกษาความเชื่อมั่นของผู้เรียนต่อการใช้งานรูปแบบของสื่อ ที่นาเสนอเนื้อหาในรูปแบบดิจิตอล เพื่อนาไปพัฒนาและปรับปรุงคุณภาพต่อไป เนื่องจากมีการใช้เนื้อหาการเรียนรู้แบบดิจิตอลมากขึ้น ทาให้ส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมสิ่งพิมพ์ ทาให้หนังสือที่พิมพ์ด้วยกระดาษมียอดขายที่ลดลง สานักพิมพ์ต่างๆจึงหันไปผลิตในรูปสิ่งพิมพ์ดิจิตอลมากขึ้น

การพัฒนาคุณภาพการศึกษาด้วยเทคโนโลยีการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม (Distance Learning Television : DLTV)
 ความเป็นมาและความสำคัญ
        สืบเนื่องจากข้อสั่งการของหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ เกี่ยวกับเรื่องที่ต้องเร่งรัดดำเนินการในประเด็นด้านการศึกษาเรื่องการขาดแคลนครูในโรงเรียนพื้นที่ห่างไกลรวมทั้งการ
เพิ่มโอกาสทางการศึกษาให้แก่เด็ก จึงได้พิจารณาให้มีการศึกษาและขยายผลโครงการการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมไปยังพื้นที่อื่นๆโดยกำหนดให้ใช้การศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม (DLTV) ในโรงเรียนขนาดเล็กทั่วประเทศ จำนวน 15,369 โรงเรียน  นอกเหนือจากที่สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 1 ที่ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องและได้ผล  
         การดำเนินการจัดการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมในโรงเรียนขนาดเล็กทั่วประเทศ จะบรรลุวัตถุประสงค์และมีประสิทธิภาพได้นั้น มีความจำเป็นต้องมีการพัฒนาการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมย่างต่อเนื่องและยั่งยืน  มีการขับเคลื่อนไปสู่การปฏิบัติทั้งในระดับสำนักงานคณะกรรมการการศึกษา
ขั้นพื้นฐาน ระดับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและระดับโรงเรียน
วัตถุประสงค์
1. เพื่อเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาสเฉลิมพระชนมพรรษาวันที่ 5 ธันวาคม 2557                
2. เพื่อช่วยแก้ปัญหาโรงเรียนขนาดเล็กที่ประสบปัญหาการมีครูไม่ครบชั้น ครูสอนไม่ตรงสาขาวิชาเอก
    3. เพื่อขยายผลโครงการการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมไปยังพื้นที่อื่นๆ ให้มีผลเป็นรูปธรรมโดยเร็ว
เป้าหมาย
       1. ด้านปริมาณ
              1.1  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา  จำนวน 183 เขต 

              1.2  โรงเรียนขนาดเล็ก  จำนวน  15,369 โรงเรียน 
       2. ด้านคุณภาพ
              2.1  นักเรียน
                     2.1.1  นักเรียนมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์  ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80
                     2.1.2  นักเรียนมีทักษะการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียน ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80
                     2.1.3  นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเพิ่มขึ้นจากปีการศึกษาที่ผ่านมาไม่น้อยกว่าร้อยละ ๓  หรือสูงกว่าค่าเฉลี่ยของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
              2.3  ครูผู้สอน ร้อยละ 80  สามารถจัดการเรียนรู้ด้วยสื่อการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมได้อย่างมีประสิทธิภาพ
              2.4  ผู้บริหารสถานศึกษาในโรงเรียนขนาดเล็ก ร้อยละ 100 สามารถบริหารจัดการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมได้อย่างมีประสิทธิภาพ
              2.5  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามีการขับเคลื่อนการจัดการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมสู่การปฏิบัติในระดับโรงเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพร้อยเปอร์เซ็นต ์
วิธีการดำเนินงาน
 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานได้รับมอบหมายนโยบายและดำเนินกิจกรรมโครงการ ดังนี้          
        1. การจัดหาและติดตั้งอุปกรณ์การศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม
         2. อบรมผู้บริหารและครูปลายทาง
         3. งานประชาสัมพันธ์
         4. งานการนิเทศ ติดตาม ประเมินและรายงานผลโครงการการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม   
โรงเรียนปลายทาง
 1.กิจกรรมเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
    1) การจัดงานรวมพลังการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม 
    2) กิจกรรมเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ
2.การพัฒนาผู้บริหารเขตพื้นที่ ผู้อำนวยการโรงเรียนและครูปลายทาง
   - การพัฒนาผู้บริหารเขตพื้นที่ ผู้อำนวยการโรงเรียนและครูปลายทาง
   - พัฒนาบทบาทหน้าที่ของผู้บริหารการศึกษา ศึกษานิเทศก์ ผู้อำนวยการโรงเรียน ครูปลายทางอย่างต่อเนื่องโดยผ่านช่องทางการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม (DLTV14) หรือช่องทางอื่น
   - พัฒนาทักษะการจัดการเรียนการสอนในแต่ละสาระการเรียนรู้โดยใช้สื่อการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม ผ่านช่องทางการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม (DLTV14) หรือช่องทางอื่น
3. การจัดกิจกรรมเสริมสร้างความยั่งยืน
จัดกิจกรรมกระตุ้นโรงเรียนให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ได้แก่
    -กิจกรรมเตรียมความพร้อมของครูก่อนเปิดภาคเรียน
    -กิจกรรมสอนเสริม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ,6 ตลอดปีการศึกษา
4. การนิเทศ กำกับ ติดตาม ประเมินผล และรายงานผล
    - นิเทศ กำกับ ติดตาม ประเมินผล และรายงานผล
    - จัดทำคู่มือ/แนวทางการนิเทศ
    - จัดประชุมคณะกรรมการนิเทศของ สพฐ.ร่วมกับ สตผ.
    - สพฐ.(คณะกรรมการนิเทศและสตผ.) นิเทศ  กำกับ ติดตามการดำเนินงานของสพป.
    - สพป.นิเทศโรงเรียนในสังกัด
    - รายผลการดำเนินงานระดับเขตและระดับประเทศ
          1) ผ่านระบบ Online โดยบริษัท Feedback 180
          2) รายงานผลเชิงคุณภาพ
5. การสนับสนุนการดำเนินงานของโรงเรียนปลายทางการสนับสนุนการดำเนินงานของโรงเรียนปลายทาง
    -  การปรับปรุงบรรยากาศห้องเรียน               
    -  จัดซื้อวัสดุอุปกรณ์ Flash Drive ๓๒ GB สำหรับโรงเรียนขนาดเล็ก
    -  ซ่อมแซมอุปกรณ์ผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์
    - เครื่องกำเนิดไฟฟ้า 5.5 k แบบแรงดันคงที่
    - จัดสรรงบสื่อ BBL Resource  corner  ให้   15,369  โรงเรียนๆละ 3 ชุด
6. การสร้างเครือข่ายโรงเรียนขนาดเล็ก
           - จัดตั้งกลุ่มเครือข่าย/ชมรมโรงเรียนขนาดเล็ก/จัดตั้งกลุ่มโรงเรียนพี่ โรงเรียนน้อง
                     1) กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 
                     2) กิจกรรมช่วยเหลือแนะนำ
                     3) การแก้ไขปัญหา
                     4) การเป็นพี่เลี้ยง ฯลฯ
7. การจัดหาอุปกรณ์สนับสนุนการใช้สื่อทางไกลผ่านดาวเทียมไปยังสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา และ  สพฐ.
8. การมีส่วนร่วมของชุมชนองค์กรต่างๆ และการขยายโอกาสการเรียนรู้สู่ชุมชน
9. การสื่อสารเพื่อการพัฒนารับฟังความคิดเห็นการสอบถามเพื่อปรับปรุงแก้ไขปัญหาให้กับครู
10. กิจกรรมการบริหารงานโครงการการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม
              1. ตรวจเยี่ยมการดำเนินงานการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมของโรงเรียน
                 - ผู้บริหารระดับสูง และคณะทำงาน ทำการตรวจเยี่ยมการดำเนินงานการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมของโรงเรียน
              2. ประชุมราชการเพื่อการบริหารงานการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม
                   - ประชุมราชการเพื่อการบริหารงานการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม
11. การดำเนินงานของโรงเรียนต้นทาง
              1) สนับสนุนอัตรากำลังครูที่ขาดแคลนของโรงเรียนต้นทาง
              2) การอบรมพัฒนาครู
              3) การคัดเลือกแบบเรียน หนังสือ แบบฝึก สื่อที่มีคุณภาพ แต่ละสาระการเรียนรู้
              4) การผลิตสื่อมัลติมีเดียการเรียนการสอนที่ทันสมัย การ์ตูน แอนนิเมชั่น
12. สนับสนุนมูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม และสถานีวิทยุโทรทัศน์การศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม

การพัฒนาคุณภาพการศึกษาด้วยเทคโนโลยีการศึกษาทางไกลผ่านเทคโนโลยีสารสนเทศ (Distance Information Television : DLIV)
DLIT เป็นการจัดการเรียนรู้ผ่านเทคโนโลยีสารสนเทศ  ที่มุ่งแก้ปัญหาการขาดแคลนครูของโรงเรียนขนาดกลาง และขนาดใหญ่ จำนวน 15,553 โรงเรียนครอบคลุมโรงเรียนทั่วประเทศ ซึ่งเป็นการแก้ปัญหาการศึกษาโดยรวมอย่างยั่งยืน ซึ่งการพัฒนาคุณภาพศึกษาทางไกลผ่านเทคโนโลยีสารสนเทศ (Distance learning information technology : DLIT)  มี 5 รูปแบบ คือ
1. DLIT Classroom ห้องเรียนแห่งคุณภาพa
2. DLIT Resources คลังสื่อประกอบการเรียนการสอน
3. DLIT Library ห้องสมุดออนไลน์
4. DLIT Professional Learning Community : DLIT PLC ชุมชนแห่งการพัฒนาวิชาชีพ
5. DLIT Assessment  คลังข้อสอบ
    1.   DLIT Classroom คือ การขยาย “ห้องเรียนแห่งคุณภาพ” จากโรงเรียนชั้นนำทั่วประเทศ ไปสู่โรงเรียนขนาดกลาง 15,553 แห่ง เพื่อสร้างโอกาสทางการศึกษาที่เท่าเทียม เน้นกลุ่มสาระการเรียนรู้และตัวชี้วัดที่สอนยาก เข้าใจยาก และมีปัญหาด้านผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาตามที่ สทศ.ให้ต้นสังกัดเร่งพัฒนา โดยผ่านช่องทางเทคโนโลยีสารสนเทศ ชื่อเว็บไซต์ www.dlit.ac.th โดยให้โรงเรียนปลายทางสามารถจัดการเรียนการสอนพร้อมกับครูต้นทางหรือสามารถเรียกดูย้อนหลังในชั่วโมงสอนเสริม โดยครูปลายทางจะดาวน์โหลดให้ชมแบบ Offline ก็ได้
   2. DLIT Resources คือ คลังสื่อประกอบการจัดการเรียนการสอนที่ตรงกับ หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่มีการจัดระบบและหมวดหมู่ที่ให้ครูสามารถนำไปใช้งานได้ทันที มีทั้งสื่อที่เป็นภาพนิ่ง วีดิทัศน์ เกมส์ และแอพพลิเคชั่นต่างๆ  ครูสามารถใช้สื่อจาก DLIT Resources นำเข้าสู่บทเรียน  กระตุ้นให้นักเรียนคิด  ใช้สื่อตั้งคำถาม ใช้สื่อเป็นคำตอบ ใช้สื่อเป็นแบบฝึกหัดหรือทบทวนความเข้าใจ นอกจากนี้ ยังมีวีดีโอ“สอนวิธีการทำสื่อรูปแบบต่างๆ”ด้วย  เพื่อทำให้ครูมีเครื่องมือที่ผลิตสื่อประกอบการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น
3. DLIT Library  คือ ห้องสมุดออนไลน์เพื่อครู นักเรียน ผู้ปกครองและผู้สนใจทั่วไป  ลักษณะ DLIT Library เป็นห้องสมุดออนไลน์ที่มีเนื้อหาถูกต้อง  แบ่งเป็นหมวดหมู่ ตอบสนองความต้องการของครู และ ความสนใจของผู้เรียน มีรูปแบบที่หลากหลายทั้งบทความ, รูปภาพและวีดีโอ มีระบบค้นคว้าที่ทำได้ง่าย เพิ่มช่องทางให้นักเรียนมีแหล่งค้นคว้าสำหรับการเรียนแบบโครงงาน (Project-Based Learning)
4. DLIT Professional Learning Community : DLIT PLC  “ชุมชนการเรียนรู้ครูมืออาชีพ” คือช่องทางในการสร้างและพัฒนาชุมชนแห่งการเรียนรู้ให้กับครูทั่วประเทศ รวมทั้งการพัฒนาวิชาชีพครู  เพราะการจะพัฒนาการศึกษาให้ยั่งยืน คือ การสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ในกลุ่มครูทั่วประเทศ DLIT PLC  มี 3 รูปแบบ คือ
4.1 สื่อรายการที่ทำให้ครูได้เห็นแบบปฏิบัติการสอนที่ดี หรือ Good Practice ของครูไทยและครูทั่วโลก เช่น  โทรทัศน์ครู
4.2 กิจกรรมการแบ่งปันและการเรียนรู้หรือ Share and Learn ผ่านกิจกรรมต่างๆและผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ เช่น ครูมีนวัตกรรมก็นำเสนอผ่านช่องทาง DLIT PLC คุณครูสนใจก็เลือกไปประกอบการเรียนการสอน นวัตกรรมใดถูกเลือกมากก็อาจจัดเป็นผลงานรางวัลต่อไป
4.3 กิจกรรมการชี้แนะและระบบพี่เลี้ยง หรือ  Coaching and Mentoring  กิจกรรมที่สร้างครูหรือผู้บริหารให้มีความเชี่ยวชาญแล้วพัฒนาต่อยอดให้เป็นผู้ชี้แนะหรือพี่เลี้ยง เพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน ในโรงเรียน โดยอาจสร้างครู หรือผู้บริหารในโรงเรียนเอง  DLIT PLC จะทำให้ครูไม่โดดเดี่ยวอีกต่อไป แต่ครูและบุคลากรทางการศึกษาทุกชีวิตจะรวมพลังกัน พัฒนาการศึกษาไทยและเยาวชนไทยให้ดีขึ้น
5. DLIT Assessment คือคลังข้อสอบ ที่รวบรวมข้อสอบมากมาย ตั้งแต่ประถมศึกษาปีที่ 1 จนถึงมัธยมศึกษาปีที่ 6 DLIT Assessment คลังข้อสอบเป็นการสอบที่เรียกว่า Assessment for Learning สอบเพื่อเรียน  ไม่ใช้เรียนเพื่อสอบ  นั่นคือ ครูสามารถใช้ข้อสอบเพื่อทดสอบความเข้าใจของนักเรียน ได้ตลอดเวลา  เพื่อสอนเสริมและวางแผนการสอนให้ตรงกับ ความสามารถของนักเรียน นอกจากนี้ คลังข้อสอบ DLIT Assessment ยังมีข้อสอบกลางภาค ปลายภาค และข้อสอบเพื่อการเตรียมตัวสอบแบบต่างๆ เป้าหมายสำคัญ DLIT Assessment มีเป้าหมายเพื่อทำให้ผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนดีขึ้น   นักเรียนมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ที่สอดคล้องกับศตวรรษที่ 21 ครูมีเครื่องมือที่ทำให้เกิดการพัฒนาทางวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง และการศึกษาของไทยได้ก้าวไปข้างหน้าอย่างแท้จริง







ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ชั้นบรรยากาศ

  บรรยากาศ  (atmosphere)  หมายถึง  อากาศในที่ต่าง ๆ ทั้งหมดซึ่งเป็นส่วนที่ห่อหุ้มโลกอยู่โดยรอบ  จะอยู่สูงจากผิวโลกขึ้นไปประมาณ 800-1,000 กิโ...