วันจันทร์ที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2562

ตรวจสอบและทบทวน


ตรวจสอบและทบทวน 
ในการเขียนแผนจัดการเรียนรู้ขั้น การเรียนรู้จากสื่อดิจิทัล ปฏิบัติการผลิตหรือจัดหาสื่อที่เกี่ยวข้องบทเรียน การวางแผนการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ที่ได้ดําเนินการแล้ว การนําเสนอสาระความรู้ในรูปแบบ ดิจิทัล อาทิ พาวเวอร์พอยต์




สื่อ / แหล่งเรียนรู้                                   
1.บัตรภาพ

2.  พาวเวอร์พอยต์


เนื้อหา
กล้องจุลทรรศน์ (Microscope) คือ เครื่องมือขยายขอบเขตประสาทสัมผัสตา ให้เห็นสิ่งที่ไม่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่าได้ เช่น
จุลินทรีย์ เซลล์เม็ดเลือดแดง
ประเภทของกล้องจุลทรรศน์
1.         กล้องจุลทรรศน์แบบใช้แสง (Light Microscope) แสงที่ใช้ส่องดูวัตถุเป็นแสงจากหลอดไฟหรือแสงแดด โดยใช้กระจกเงาสะท้อนแสงเข้าสู่กล้อง เกิดการขยายภาพจากเลนส์กระจก เกิดภาพซึ่งสามารถมองเห็นด้วยตาเปล่าได้
2.         กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน (Electron Microscope) ใช้ลำอิเล็กตรอน ซึ่งมองไม่เห็นด้วยตาเปล่าแทนแสงสว่างที่มองเห็น และใช้เลนส์แม่เหล็กไฟฟ้าแทนเลนส์แก้ว ใช้ลำอิเล็กตรอนจากปืนยิงผ่านเลนส์แม่เหล็กไฟฟ้า เพื่อให้เกิดภาพบนจอรับภาพ มีกำลังขยายสูงกว่ากล้องจุลทรรศน์แบบใช้แสง แบ่งเป็น
วิธีการใช้กล้องจุลทรรศน์แบบใช้แสง
1.         วางกล้องให้ฐานอยู่บนพื้นรองรับที่เรียบสม่ำเสมอเพื่อให้ลำกล้องตั้งตรง
2.         หมุนเลนส์ใกล้วัตถุ (Objective lens) อันที่มีกำลังขยายต่ำที่สุดมาอยู่ตรงกับลำกล้อง
3.         ปรับกระจกเงาใต้แท่นวางวัตถุให้แสงสะท้อนเข้าลำกล้องเต็มที่
4.         นำสไลด์ที่จะศึกษามาวางบนแท่นวางวัตถุ (Stage) ให้วัตถุอยู่กลางบริเวณที่แสงผ่าน แล้วค่อยๆ หมุนปุ่มปรับภาพหยาบ (Coarse adjustment knob) ให้ลำกล้องเลื่อนลงมาอยู่ใกล้วัตถุที่จะศึกษามากที่สุด โดยระวังอย่าให้เลนส์ใกล้วัตถุสัมผัสกับกระจกปิดสไลด์
5.         มองผ่านเลนส์ใกล้ตา (Eyepiece) ลงตามลำกล้อง พร้อมกับหมุนปุ่มปรับภาพหยาบขึ้นช้าๆ จนมองเห็นวัตถุที่จะศึกษา แล้วจึงเปลี่ยนมาหมุนปรับปุ่มภาพละเอียด (Fine adjustment knob) เพื่อปรับภาพให้ชัด อาจเลื่อนสไลด์ไปมาช้าๆ เพื่อให้สิ่งที่ต้องการศึกษาอยู่กลางแนวลำกล้องขณะปรับภาพ
6.         ถ้าต้องการขยายภาพให้ใหญ่ขึ้น ให้หมุนเลนส์ใกล้วัตถุอันที่มีกำลังขยายสูงขึ้นเข้ามาในแนวลำกล้อง และไม่ควรขยับสไลด์อีก แล้วหมุนปุ่มปรับภาพละเอียดเพื่อให้เห็นภาพชัดเจนขึ้น
7.         การปรับแสงที่เข้าในลำกล้องให้มากหรือน้อย ให้หมุนแผ่นไดอะแฟรม (Diaphragm) ปรับแสงตามต้องการ
2.1 กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนชนิดส่องผ่าน (Transmission Electron Microscope) สามารถมองเห็นองค์ประกอบภายในของเซลล์ได้ชัดเจน มีกำลังขยายสูงมาก
2.2 กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนชนิดส่องกราด (Scanning Electron Microscope) ใช้ศึกษารูปร่างโครงสร้างและพิ้นผิวของเซลล์ภายนอก ไม่เห็นองค์ประกอบด้านใน



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ชั้นบรรยากาศ

  บรรยากาศ  (atmosphere)  หมายถึง  อากาศในที่ต่าง ๆ ทั้งหมดซึ่งเป็นส่วนที่ห่อหุ้มโลกอยู่โดยรอบ  จะอยู่สูงจากผิวโลกขึ้นไปประมาณ 800-1,000 กิโ...