ความสําคัญของการออกแบบการเรียนรู้ที่เป็นสากล
UDL มีความสําคัญอย่างยิ่งในการออกแบบการเรียนการสอน
ที่ประกอบไปด้วย จุดหมาย (goal) วิธีการ
(method) วัสดุอุปกรณ์ (materials) และการประเมินผลการเรียนรู้ (assessment) สําหรับผู้เรียนทุกคน
วิธีการใดวิธการหนึ่งเพียงวิธีเดียวจะไม่เหมาะสมกับทุกการแก้ปัญหา
แต่จะเป็นการออกแบบที่มีวิธีการที่มี ความยืดหยุ่น
สามารถปรับแต่งได้และปรับตามความต้องการของบุคคล แต่ละบุคคลต่างมีความหลากหลาย
ของทักษะ ความต้องการและความสนใจที่จะเรียนรู้
ทางด้านประสาทวิทยากล่าวได้ว่าคล้ายกับระบบการ ทํางานของสมอง 3 ส่วน
ดังนี้ 1) เครือข่ายการรับรู้ (Recognition
Networks) วิธีการที่เรารวบรวมข้อเท็จจริง
และจัดประเภทของสิ่งที่เรามองเห็นได้ยินและอ่าน
ตัวอักษรระบุคําหรือลักษณะของผู้เขียนเป็นภาระงานที่ เป็นการรับรู้สิ่งที่จะเรียน
(อะไรคือสิ่งที่ต้องเรียนรู้: The "what" of learning )
2) เครือข่ายเชิงกลยุทธ์ (Strategic Networks) การวางแผนและการปฏิบัติงาน
วิธีการที่เราจัดระเบียบและแสดงหลักฐานทางความคิด ของเรา
การเขียนเรียงความหรือการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ต่างถือเป็นงานเชิงกลยุทธ์
("วิธีการ" ของการ เรียนรู้:The "how" of
learning) และ 3) เครือข่าย (Affective
Networks) จะมีวิธีเรียนรู้อย่างไรที่จะกระตุ้นและ
สร้างแรงบันดาลใจ เป็นสิ่งที่ท้าทายและเร้าความสนใจของผู้เรียน เป็นมิติอารมณ์
("ทําไม" ของการเรียนรู้ :The "why" of learning)
การออกแบบที่เป็นสากลเพื่อการเรียนรู้จึงเป็นการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสําคัญ
ซึ่งถือว่าเป็น อีกแนวทางหนึ่งในการพัฒนาผู้เรียนอย่างเต็มศักยภาพ
เพิ่มเติม
เพิ่มเติม
UDL เป็นวิธีการใหม่ของการจัดหลักสูตร (เป้าหมาย อุปกรณ์ วิธีการ และการประเมินผล) ที่วางพื้นฐานไว้เป็นอย่างดีด้วยความเชื่อที่ว่า ผู้เรียนทุกคนมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว และเป็นผู้นำเอาจุดแข็งและจุดอ่อนที่แตกต่างกันเข้ามาในชั้นเรียน (Rose & Meyer, 2002) อันที่จริง ในชั้นเรียนทุกวันนี้ มีความแตกต่างอย่างไม่น่าเชื่อ เกิดขึ้น ทั้งยังเป็นที่รวมของเด็กจากต่างวัฒนธรรม ซึ่งมีภูมิหลังทางเศรษฐกิจสังคม และกลุ่มของความพิการที่แตกต่างกัน ในทางตรงกันข้าม การเรียนในหลักสูตรดั้งเดิมนั้น เป็นแบบที่เรียกว่า ‘ขนาดเดียวใส่ได้ทุกคน’ (one-size-fits-all) ซึ่งได้รับการออกแบบมาให้เหมาะกับความต้องการของเด็กที่เป็น ‘แบบฉบับ’ (typical) ผลลัพธ์คืออุปสรรคนานัปการ ที่เกิดขึ้นกับเด็กที่หลุดออกไปจากการจัดหมวดหมู่ที่จำกัดอยู่ในวงแคบ เป็นต้นว่า อุปสรรคที่มาขัดขวางการเข้าถึง การมีส่วนร่วม และโอกาสความก้าวหน้าในหลักสูตรปกติ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น