วันจันทร์ที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2562

การประเมินเพื่อปรับปรุงการสอน


การประเมินเพื่อปรับปรุงการสอน
การประเมินการเรียนรู้ จะต้องให้ข้อมูลย้อนกลับว่าการจัดการเรียนรู้บรรลุพันธกิจหรือไม่ มีความ จำเป็นต้องมีการปรับเปลี่ยนอะไรบ้าง เพื่อการบรรลุเป้าหมายของโปรแกรมการศึกษา การประเมินเพื่อพัฒนา ประสิทธิผลในการจัดการเรียนรู้ เขียนเป็นแผนภาพได้ดังนี้

Ghaye, T (1995) เสนอแนวคิดการปรับปรุงคุณภาพการศึกษาในโรงเรียน จะต้องพิจารณาคำถาม 5
ข้อ คือ
1. คําถามเกี่ยวกับเวลา
       การปรับปรุงควรจะเกิดขึ้นเมื่อไร
       ผลของการปรับปรุงควรจะได้ผลอย่างชัดเจนเมื่อไร
2. คําถามเกี่ยวกับขนาดของงาน
       ขอบเขตของการปรับปรุงควรมีขนาดเท่าไร เพียงใด
       ผู้เกี่ยวข้องมีกี่คน จะต้องใช้ทรัพยากรอะไรบ้าง
        ผลของการปรับปรุงที่คาดการณ์ไว้มีลักษณะอย่างไร มีความสําคัญเพียงใด และให้ผลอะไร ในด้านการศึกษา
3. คําถามเกี่ยวกับความไม่แน่นอน
       จะแน่ใจได้อย่างไรว่าสิ่งที่เกิดขึ้นใหม่ ไม่ว่าจะเป็นสภาพแวดล้อม การปฏิบัติ แรงจูงใจ หรือ ทิศทางใหม่เป็นการปรับปรุงจริงๆ
       จะตรวจสอบจากหลักฐานใดว่ามีการปรับปรุงเกิดขึ้นแล้ว
       มีความเข้าใจในความเกี่ยวโยงกันระหว่างสิ่งที่รู้สึกว่าพัฒนาแล้วกับการพัฒนาที่ชัดเจน เมื่อ มองในแง่ของคุณภาพการศึกษาในโรงเรียน
         การพัฒนาที่เกิดขึ้นนั้นเป็นจริง หรือเป็นเพียงจินตนาการ
4. คำถามเกี่ยวกับการเมืองในโรงเรียน
การเมืองในโรงเรียนมีความสำคัญต่อความพยายามในการปรับปรุงเนื่องจากการปรับปรุงมี แนวคิดพื้นฐานมาจากค่านิยมและเป็นกระบวนการที่มีระบบ บุคคลในองค์กรจะมีความคิดเห็นที่แตกต่างกัน และต้องการที่จะปฏิบัติตามแนวคิดของตน การเข้าใจการเมืองที่อยู่เบื้องหลังความพยายามในการปรับปรุง เท่ากับยอมรับว่าในโรงเรียนย่อมมีการช่วงชิงกันระหว่างกลุ่มผลประโยชน์ การทบทวนจะทำให้เกิดคำถาม เชิงการเมือง เพราะการปรับปรุงเกี่ยวกับ “ผลประโยชน์” “อำนาจ” และการแก้ปัญหาเรื่อง ความขัดแย้ง เมื่อมี การปรับปรุง คำถามคือ ใครจะได้ผลประโยชน์อะไร ที่ไหน อย่างไร เมื่อไร และเพราะเหตุใด
5. คำถามเกี่ยวกับการลงลึกในการปฏิบัติการ
ถ้าการปรับปรุงมีจุดอ่อนและมีแรงกดดันจากภายนอก การปรับปรุงก็จะมีลักษณะฉาบฉวย จนทำให้ละเลยสิ่งที่เป็นรากฐานที่ควรให้ความสนใจ สิ่งสำคัญจะต้องทำความเข้าใจว่า การปรับปรุงโรงเรียน และการปฏิรูปในโรงเรียนแตกต่างกัน โดยที่การปฏิรูปมีผลลึกซึ้งและเป็นการปรับปรุงคุณภาพการศึกษาที่มี ผลกระทบต่อทุกคนในองค์กร การเปลี่ยนแปลงอย่างลึกซึ้งนี้ มักจะเกิดจากการรปรับปรุงโครงสร้างและ อิทธิพลทั้งภายในและภายนอกโรงเรียน การเน้นที่การพัฒนาภายในมากเกินไปจะไม่นำไปสู่การปฏิรูป โรงเรียน การปรับปรุงในวงที่กว้างออกไปจึงเป็นปัจจัยสำคัญในการปฏิรูป
การประเมินที่ประสบความสำเร็จจะต้องมีความชัดเจนของจุดมุ่งหมาย
จุดมุ่งหมายในการเรียนรู้ เป็นข้อความเกี่ยวกับการศึกษาที่แสดงถึงความมุ่งมั่นเจตนาที่ตั้งใจให้ เกิดขึ้น เช่น ความสามารถในการแก้ปัญหา ทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ทักษะด้านการสร้างสรรค์และ นวัตกรรม เป็นต้น
วัตถุประสงค์การเรียนรู้ เป็นข้อความที่มีความเฉพาะให้รายละเอียดที่ได้มาจากจุดมุ่งหมาย ใช้เขียน บรรยายพฤติกรรมหรือกิจกรรมที่ผู้เรียนจะต้องกระทำ เช่น ผู้เรียนจะต้องมีความสามารถในการรวบรวม จัดการ และวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อนนำไปใช้ในการตัดสินใจ ผู้เรียนสามารถวิเคราะห์เชื่อมโยงข้อมูล
ผลการเรียนรู้ เป็นชุดรายละเอียดที่ผู้เรียนสามารปฏิบัติได้หลังจากได้เรียนในรายวิชา หรือหน่วย การเรียนในหลักสูตรรายวิชา ผลการเรียนรู้จะต้องเป็นเรื่องเกี่ยวกับความสําเร็จขั้นต่ําของผู้เรียนที่แสดง ออกเป็นรูปธรรมได้
ความสัมพันธ์ของจุดมุ่งหมาย วัตถุประสงค์ และผลการเรียนรู้ เขียนในรูปวัฏจักรการประเมินการ เรียนรู้ สรุปได้ดังภาพประกอบ ต่อไปนี้

รูปแบบการประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตามแนวคิด Outcome Driven Model
การตรวจสอบความเข้าใจ และการสรุปความรู้ ซึ่งเป็นขั้นตอนสุดท้ายของการจัดการเรียนรู้ ใช้ | แนวทางการประเมินการเรียนรู้ ตามแนวคิด Outcome Driven Model
เพิ่มเติม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ชั้นบรรยากาศ

  บรรยากาศ  (atmosphere)  หมายถึง  อากาศในที่ต่าง ๆ ทั้งหมดซึ่งเป็นส่วนที่ห่อหุ้มโลกอยู่โดยรอบ  จะอยู่สูงจากผิวโลกขึ้นไปประมาณ 800-1,000 กิโ...